SPRiNG ชวนมา ส่อง วงเงินหาเสียงเลือกตั้ง 2566 มาดูกันว่า เพจพรรคการเมือง ไหนซื้อโฆษณาใน Facebook มากที่สุด เพราะช่องทางโซเชียลมีเดีย สำหรับทุกวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สื่อสารเข้าถึงผู้คนได้อย่างวงกว้าง และมีประสิทธิภาพ
ใกล้เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย เลือกตั้ง 2566 เข้าไปทุกขณะ เพราะณ เวลานี้ เหลือไม่ถึง 20 วันแล้ว ก่อนที่ทุกคนจะเดินไป เลือกตั้งในคูหาของทุกๆคนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 วันนี้ SPRiNG ชวนมา ส่อง วงเงินหาเสียงเลือกตั้ง 2566 มาดูกันว่า เพจ "พรรคการเมือง" ไหนซื้อโฆษณาใน Facebook มากที่สุด เพราะช่องทางโซเชียลมีเดีย สำหรับทุกวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สื่อสารเข้าถึงผู้คนได้อย่างวงกว้าง และมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ บริษัท Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook โซเชียลมีเดียยอดนิยม ได้เตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 ในประเทศไทยไว้หลายแง่มุม อาทิ จะเป็นการตั้งทีมตรวจสอบข่าวเท็จ การบิดเบือนข้อมูล และตรวจสอบพฤติกรรมคุกคามจากตัวตนปลอม หรือการแทรกแซงจากต่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีเครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เครื่องมือนั้นคือ Ad Library หรือ “คลังโฆษณา” ที่ทุกคนสามารถติดตามได้เลยว่า Page การเมืองใด ลงเงินโฆษณาใน Facebook ไปเท่าใด
จากการสำรวจในครั้งนี้ เราได้ใช้ข้อมูลจาก Meta Ads ที่เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. - 24 เม.ย. 2566 โดยเน้นการยิงในชื่อเพจ พรรคการเมือง เราจะมีข้อมูลนี้แยกออกมาอีกครั้งนึงด้วยเช่นกัน โดยทุกท่านสามารถกดดูความโปร่งใสของแต่ละเพจพรรคการเมืองได้ที่เพจของพรรคการเมืองได้เลย
โดยพรรคที่ใช้เงินมากที่สุด คือ พรรคเปลี่ยน ซึ่งใช้การยิงโฆษณาทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์พรรค โดยใช้เงินไปเกือบจะแตะหลัก 2 ล้านเลยทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Ad Library หรือ “คลังโฆษณา” คืออะไร ?
ก่อนอื่นเลย ต้องมาทำความเข้าใจ Ad Library หรือ “คลังโฆษณา” กันก่อน นี่ถือเป็นอีกเครื่องมือที่ Facebook ได้อัพเดตเพื่อสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง
โดยมีการแยกหมวดหมู่ “ประเด็นปัญหา การเลือกตั้ง หรือการเมือง” ออกจากโฆษณาทั่วไป นั่นทำให้ผู้คนสามารถติดตามได้เลยว่า ในการเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้เพจใด ใช้เงินไปเท่าใด ทั้งยังเพิ่มแบนเนอร์ได้รับสปอนเซอร์ เพื่อให้ผู้คนในประเทศไทยรับรู้ว่าใครเป็นผู้ซื้อโฆษณาดังกล่าว โดย เฟซบุ๊ก นับรวมไปถึงองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ที่รณรงค์ด้านการเมืองด้วย
จากข้อมูลบน Ad Library ที่เริ่มเก็บตั้งแต่เดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา พบว่า ยอดรวมที่มีการแสดงโฆษณาเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม การเมือง หรือการเลือกตั้ง มีจำนวนโฆษณาทั้งหมด 29,899 คอนเทนต์ จำนวนเงินที่ใช้ซื้อโฆษณาทั้งหมด ฿ 22,406,582 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2566)
ทั้งนี้ ทีมข่าวการเมือง เลือกตั้ง 2566 ของ SPRiNG ได้รวบรวมสถิติจาก Ad Library ดังกล่าวว่าโฆษณาทางการเมือง ของ เพจพรรคการเมือง ใดได้รับการ “สปอนเซอร์” มากที่สุดบนเฟซบุ๊ก ในรอบ 30 วัน ดังนี้
1. พรรคเปลี่ยน ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 1,860,509 จำนวนโฆษณา 154
2. พรรครวมไทยสร้างชาติ ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 443,836 จำนวนโฆษณา 279
3. พรรคเพื่อไทย ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 176,034 จำนวนโฆษณา 29
4. พรรคไทยสร้างไทย ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 158,349 จำนวนโฆษณา 120
5. พรรคประชาธิปัตย์ ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 148,215 จำนวนโฆษณา 916
6. พรรคเพื่อชาติ ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 47,700 จำนวนโฆษณา 10
7. พรรคเส้นด้าย ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 44,074 จำนวนโฆษณา 15
8. พรรคเสมอภาค ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 37,119 จำนวนโฆษณา 17
9. พรรคภูมิใจไทย ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 28,730 จำนวนโฆษณา 25
10. พรรคไทยภักดี ลงโฆษณา Facebook ด้วยจำนวนเงิน 18,967 จำนวนโฆษณา 43
ที่มา : ข้อมูลจาก Meta Ads ระหว่างวันที่ 25 ม.ค. - 24 เม.ย. 2566 โดยนับเฉพาะเพจหลักของพรรคการเมือง
UPDATE : 27 เม.ย. 66
งบประมาณ ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง เลือกตั้ง 66 คิดคำนวณอย่างไร ห้ามเกินเท่าไร ?
การคำนวณค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เลือกตั้ง 2566 หรือของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง ให้คำนวณตามค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้
1. เลือกตั้งเพราะสภาผู้แทนราษฎร ครบวาระ ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่ 240 วัน ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้ง
2. เลือกตั้งเพราะยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ยุบสภาหรือวันที่ตำแหน่งว่างลง แล้วแต่กรณี จนถึงวันเลือกตั้ง
สำหรับค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดให้แต่ละผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต หรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สามารถใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกินที่กำหนด ดังนี้
งบประมาณ ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ต่อคน)
กรณีสภา ครบวาระ ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)
กรณี ยุบสภา/แทนตำแหน่งที่ว่าง ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 1,900,000 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนบาทถ้วน)
งบประมาณ ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ต่อพรรคการเมือง)
สภาครบวาระ ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 163,000,000 บาท (หนึ่งร้อยหกสิบสามล้านบาทถ้วน)
ยุบสภา/แทนตำแหน่งที่ว่าง ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 44,000,000 บาท (สี่สิบสี่ล้านบาทถ้วน)