มาดูกันว่า ในอดีต ประชาชน คนในประเทศไทย เลือก ผู้แทน ไปทำหน้าที่ในสภา ได้กี่คน ในการเลือกตั้ง 26 ครั้งที่ผ่านมา
วิวัฒนาการเลือกตั้ง วิวัฒนาการการเมืองไทย นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นเวลามากกว่า 90 ปีแล้ว โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้ว 26 ครั้ง และ ในการเลือกตั้ง 2566 กำลังจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 27
มาดูกันว่า ในอดีต ประชาชน คนในประเทศไทย เลือกผู้แทน ไปทำหน้าที่ในสภา ได้กี่คน ในการเลือกตั้ง 26 ครั้งที่ผ่านมา
การเลือกตั้ง 2566 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทย ยังอยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 บัญญัติให้การเลือกตั้ง ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงด้วยบัตรใบเดียว เพื่อเลือก ส.ส. 400 ที่นั่งจากเขตเลือกตั้ง และอีก 100 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามคะแนนของพรรคการเมืองทั้งประเทศ (ถือว่าเปลี่ยนแปลงจากครั้งล่าสุด ที่เป็นการ แบ่งเขต 350 บัญชีรายชื่อ 150 )
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยการ เลือกตั้ง 2566 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้บัตรลงคะแนนเพียงใบเดียว สำหรับเลือกได้เพียง ส.ส. เขตเท่านั้น แต่นำคะแนนในระบบเขตไปคำนวณเพื่อกำหนดที่นั่ง ส.ส. ทั้งหมดของแต่ละพรรคและกำหนดจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
อย่างไรก็ตาม กว่าที่ประเทศจะเดินหน้ามาถึงจุดนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายต่อหลายครั้ง ตลอด 90 กว่าปีที่ผ่านมา โดยหากย้อนดูประวัติศาสตร์กติกาการเลือกตั้งทั่วไปของไทยทั้ง 26 ครั้งที่ผ่านมา จะพบว่าการเลือกตั้ง ประชาชนในประเทศ สามารถเลือก ส.ส. ได้มากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งมาถึงจำนวน 500 คนในปัจจุบัน
• คนไทย เลือกตั้ง มาแล้วกี่ครั้ง เลือก ส.ส. ได้กี่คน จากอดีตถึงปัจจุบัน
เลือกตั้งครั้งที่ 1 พ.ย. 2476 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 78 จาก 156
เลือกตั้งครั้งที่ 2 พ.ย. 2480 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 91 จาก 182
เลือกตั้งครั้งที่ 3 พ.ย. 2481 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 91 จาก 182
เลือกตั้งครั้งที่ 4 ม.ค. 2489 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 96 จาก 192
เลือกตั้งครั้งที่ 5 ม.ค. 2491 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 99 จาก 186
เลือกตั้งครั้งที่ 6 ก.พ. 2495 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 123 จาก 246
เลือกตั้งครั้งที่ 7 ก.พ. 2500 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 160 จาก 283
เลือกตั้งครั้งที่ 8 ธ.ค. 2500 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 160 จาก 281
เลือกตั้งครั้งที่ 9 ก.พ. 2512 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 219
เลือกตั้งครั้งที่ 10 ม.ค. 2518 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 269
เลือกตั้งครั้งที่ 11 เม.ย. 2519 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 279
เลือกตั้งครั้งที่ 12 เม.ย. 2522 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 301
เลือกตั้ง ครั้งที่ 13 เม.ย. 2526 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 324
เลือกตั้งครั้งที่ 14 ก.ค. 2529 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 347
เลือกตั้งครั้งที่ 15 ก.ค. 2531 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 357
เลือกตั้งครั้งที่ 16 มี.ค. 2535 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 360
เลือกตั้งครั้งที่ 17 ก.ย. 2535 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 360
เลือกตั้งครั้งที่ 18 ก.ค. 2538 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 391
เลือกตั้งครั้งที่ 19 พ.ย. 2539 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 393
เลือกตั้งครั้งที่ 20 ม.ค. 2544 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 400 , บัญชีรายชื่อ 100)
เลือกตั้ง ครั้งที่ 21 ก.พ. 2548 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 400 , บัญชีรายชื่อ 100)
เลือกตั้งครั้งที่ 22 เม.ย. 2549 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 400 , บัญชีรายชื่อ 100) *โมฆะ
เลือกตั้งครั้งที่ 23 ธ.ค. 2550 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 480 (แบ่งเขต 400 สัดส่วน 80)
เลือกตั้งครั้งที่ 24 ก.ค. 2554 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 375 บัญชีรายชื่อ 125)
เลือกตั้งครั้งที่ 25 ก.พ. 2557 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 375 บัญชีรายชื่อ 125) *โมฆะ
เลือกตั้ง ครั้งที่ 26 มี.ค. 2562 เลือก ส.ส. ได้จำนวน 500 (แบ่งเขต 350 บัญชีรายชื่อ 150)
นอกจากนี้ ประเทศไทย นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา ดินแดนขวานทอง ได้ผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว 26 ครั้ง ซึ่ง รูปแบบการเลือกตั้ง ก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จนถึงปัจจุบันด้วย
โดยเป็นการเลือกตั้ง ดังนี้
ทางอ้อม 1 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 1
แบ่งเขต 3 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 2 - 4
รวมเขต หรือ รวมเขตเรียงเบอร์ 9 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 6-9 และ 12-15
แบ่งเขตเรียงเบอร์ 2 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 10-11
ผสม 4 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 16-19
แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ 5 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 20-22 และ 24-25
แบ่งเขต สัดส่วน 1 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 23
จัดสรรปันส่วนผสม 1 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 26 เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ของประเทศไทย