เทียบสถิติปริมาณน้ำลุ่มเจ้าพระยาปี 2565 กับปี 2554 ยังบริหารจัดการน้ำอยู่หรือไม่ น้ำท่วมปี 2565 ไม่มีความเป็นไปได้ที่น้ำจะท่วมหนักเท่าปี 2554 เพราะขณะนี้ภาคเหนือ ฝนลดลงหมดแล้ว เหลือแค่การระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งหลังจากนี้คือการเร่งระบายน้ำลงอ่าวไทย
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติปริมาณน้ำ ปี 2565 และ ปริมาณน้ำ 2554 ใน 2 จุดใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และ เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งยังถือว่า การระบายน้ำต่อวินาทีแตกต่างกัน โดย ขณะนี้ระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยายังคงสูงข้อมูลสถานการณ์น้ำท่า มีดังนี้
ปี 2565
- แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,054 ลบ.ม.ต่อวินาที
- เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,164 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่ง 3,159 ลบ.ม./วินาที ที่ระบาอยู่ตอนนี้ ซึ่งถือว่าตัวเลขสูงที่สุดในรอบปี และเป็นนิวไฮอีกครั้งในรอบวัน ทั้งนี้ เพื่อรักษาสมดุลของน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน รองรับปริมาณน้ำฝน และเพื่อชะลอน้ำเหนือไว้ในลำน้ำเหนือเขื่อน ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนระดับน้ำขึ้นสูงต่อเนื่อง วัดได้ 17.37 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เอ่อล้นสูงกว่าตลิ่ง 103 ซม. โดยเขื่อนเจ้าพระยาได้ปักธงแดงแจ้งเตือนเป็นสถานการณ์วิกฤตเข้าวันที่ 5 โดย อ.สรรพยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 6 ตำบลจากทั้งหมด 7 ตำบล
- แม่น้ำป่าสัก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 900 ลบ.ม.ต่อวินาที ท้ายเขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,038 ลบ.ม.ต่อวินาที
- แม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 3,090 ลบ.ม.ต่อวินาที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี 2554
แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา 4,236 ลบ.ม.ต่อวินาที (สูงสุดอยู่ที่ 4,686 ลบ.ม.ต่อวินาที วันที่ 13 ต.ค.2554)
เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณระบายน้ำไหลผ่าน 3,703 ลบ.ม.ต่อวินาที (สูงสุดอยู่ที่ 3,721 ลบ.ม.ต่อวินาที วันที่ 21 ก.ย. 2554)
จะเห็นได้ว่า ใน 2 จุดที่มีการเปรียบเทียบกันได้นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และ เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท , โดย น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาปี 2554 มากกว่าปีปัจจุบัน 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที
ปริมาณน้ำที่ระบายลงมา 3,100 ลบ.ม.ต่อวินาที ในช่วงเวลาปี 2565 แบบตอนนี้ จะเป็นแบบนี้สักระยะ และถ้าน้ำเหนือเขื่อน จึงจะลดปริมาณการระบายน้ำลง เหตุผลที่ต้องระบายแบบนี้ เพราะระดับระดบน้ำเหรือเขื่อนที่กำหนดไว้ว่าระดับต้องไม่เกิน 78 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ถ้าเกินกว่าจะกระทบกับความมั่นคงของเขื่อน เพราะหากพังขึ้นมาจะควบคุมน้ำไม่ได้เลย และน้ำจะไหลลงมาในพื้นที่ด้านล่างถึงปทุมธานี กทม.
ดังนั้น สรุปได้จากข้อมูล คือ ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำท่วมปี 2565 จะไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับ น้ำท่วมปี 2554 แต่จะมีในบางพื้นที่ที่ต้องรับน้ำ และน้ำที่ล้นจากสองฝั่งของแม่น้ำในการระบายน้ำ