สรุป ภาพรวมการเปรียบเทียม น้ำท่วมปี 2554 กับ น้ำท่วมปี 2565 ทั้งในประเด็น พายุเข้าไทย , ปริมาณฝนสะสม , ปริมาณน้ำท่า , ปริมาณน้ำในอ่าง พื้นที่น้ำท่วม และ บทสรุปว่า ปี 2565 น้ำจะท่วมใหญ่ เหมือนปี 2554 หรือไม่
• พายุเข้าไทย
ปี 2554 จำนวน 5 ลูก : ไห่หม่า (มิ.ย.) นกเตน (ก.ค.) , ไห่ถาง (ก.ย.) , เนสาด (ต.ค.) และ นาลแก (ต.ค)
ปี 2565 ไม่มีพายุหมุนโซนร้อนโดยตรง พายุโซนร้อน มู่หลาน (ส.ค.) และ หมาอิอน ( ส.ค.) อ่อนกำลัลงก่อนถึงไทย พายุโซนร้อนโนรู พายุเข้าไทย จะเข้าไทยช่วงปลาย ก.ย.
• ปริมาณฝนสะสม
ปี 2554 : เริ่มต้นเร็วกว่าปกติ มีฝนตกต่อเนื่อง ไม่มีภาวะฝนทิ้งช่วง ฝนเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่าปกติ 24% , ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย. 54 เท่ากับ 1,562 มม.
ปี 2565 : ม.ค. - ก.ย. ปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี 205 มม. หรือคิดเป็น 16% ในช่วงเวลาเดียวกัน , ปริมาณฝนทั้งประเทศต่ำกว่าปี 54 (ตัวเข้ม) 92 มม. หรือ 6%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปริมาณน้ำท่า
ปี 2554 : เจ้าพระยา (C.2) จ. นครสวรรค์ มีน้ำไหลผ่าน 4,236 ลบ.ม./วิ และการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 3,703 ลบ.ม./วินาที
ปี 2565 : เจ้าพระยา (C.2) จ. นครสวรรค์ มีน้ำไหลผ่าน 1,968 ลบ.ม./วิ และ การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,989 ลบ.ม./วินาที
• ปริมาณน้ำในอ่าง
ปี 2554 : มีน้ำเก็บกัก 61,918 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 88% , น้ำใช้การ 38,413 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 55%
ปี 2565 : มีน้ำเก็บกัก 49,672 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 70% , น้ำใช้การ 26,135 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 37%
• พื้นที่น้ำท่วม
ปี 2554 เดือนสิงหาคม พื้นที่น้ำท่วมกินบริเวณกว้าง 5.5 ล้านไร่
ปี 2565 เดือนสิงหาคม พื้นที่น้ำท่วมกินบริเวณกว้าง 1.85 ล้านไร่
• สรุป พื้นที่น้ำท่วมต่างกัน 3 เท่าตัว
สิ่งที่เหมือนกันคือ เกิดปรากฏการณ์ลานีญาเหมือนกัน ฝนมาเร็วและทำให้หลายพื้นที่มีน้ำฝนสะสมสูงขึ้น แต่ไม่ท่วมหนัก เท่าปี 2554
ที่มา:กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
Update : 26 ก.ย. 65