Plant-based meat เทรนด์การกินเพื่อคนรักสุขภาพ แนวโน้มเติบโตต่อเนื่องนับจากโควิด 19 กระตุ้นให้ทั่วโลกและคนไทยหันมาดูแลใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหาร ตลาดที่ต้องต้อนรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสและรสชาติไม่ต่างกับการกินเนื้อสัตว์
'แพลนต์เบสมีท' (Plant-based meat) อาจไม่ใช่นวัตกรรมทางอาหารล่าสุดที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมา แต่ได้กลายเป็นเทรนด์สำหรับการบริโภคที่เติบโตทั่วโลกและในประเทศไทย แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะหันมาเลือกรับประทานอาหารทางเลือกที่เน้นพืชผักและลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงอันเนื่องมาจากเรื่องความเมตตาต่อสัตว์ ทั้งยังคำนึงถึงผลต่อสุขภาพและประโยชน์ต่อโลกอีกด้วย
พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารกันมากขึ้นทำให้เทรนด์ร้านอาหารคลีน อาหารออร์แกนิค เน้นผักผลไม้ มีแนวโน้มเติบโตและขยายวงกว้างหนึ่งสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความนิยมอย่างต่อเนื่องคือภาคธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ถูกปากมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
NRPT และ แสนสิริ จัดงาน Take You to the Moon ผลักดันธุรกิจ Plant-based ไทย
อาหารแห่งอนาคต อาหารจานโปรดของคุณจะยังเหมือนเดิมไหมในปี 2050
ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาก็ได้ส่งผลกระทบในการปรับเปลี่ยนแนวคิดในให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย จึงส่งผลให้อาหารและเครื่องเพื่อสุขภาพมาแรงอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจการแข่งขันเติบโตและผู้ประกอบการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Marketbuzzz Study ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในเดือนสิงหาคม 2565 จำนวนทั้งหมด 1,000 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารในปัจจุบันของคนไทย พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ คนไทยกว่า 2 ใน 3 รู้จักหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสมีท อย่างไรก็ตาม มีเพียง 36% เท่านั้นที่ทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์นี้เป็นอย่างดี
โดยผลการวิจัยพบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้คนหันมาทานผลิตภัณฑ์'แพลนต์เบสมีท' (Plant-based meat) มีดังนี้
สัดส่วนของประเภทในการเลือกรับประทานอาหารประกอบด้วย
โดยที่แนวโน้มสำหรับการรับประทานอาหารในอนาคต พบว่า 65% มีความตั้งใจที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ส่วนสาเหตุในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหารสุขภาพ หรือ 'แพลนต์เบสมีท' (Plant-based meat) จากเหตุผลดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ พบว่าคนไทยกว่า 19% คิดว่าการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เป็นการลดการเบียดเบียน หรือลดการทารุณกรรมสัตว์อีกด้วย
ภาคธุรกิจเองยังไม่มีแบรนด์ไหนที่ครองตลาด กินส่วนแบ่งมากกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่ก็มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ เช่น Meat Zero, OMG Meat, First Pride และ Let's Plant Meat ซึ่ง เนื้อปลา/เนื้อกุ้งจากพืช เป็นประเภทที่ผู้บริโภคต้องการซื้อมากที่สุด
ทั้งนี้ มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาร์เก็ตบัซซ กล่าวว่า อัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นโอกาสทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจนี้จึงค่อนข้างเป็นไปในทิศทางบวกโดยสิ่งสำคัญที่ผู้เล่นในตลาดควรคำนึงถึงมากที่สุดคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสให้เหมือนเนื้อสัตว์มากที่สุด เพื่อทดแทนการใช้เนื้อสัตว์จริงในเมนูอาหารต่างๆ
เพื่อเป็นการเติมเต็มช่องว่างจากผลการสำรวจที่คนไทย 35% มองว่า เป็นสินค้าหาซื้อยาก / ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย และ 34% ราคาที่ค่อนข้างสูง
การทำการตลาดจึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มช่องทางการขายและกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจนำเสนอทางเลือกให้กลุ่มคนรักสุขภาพได้มีทางเลือกใหม่ๆ ในการรับประทานอาหารที่พร้อมจ่ายเงินแพงกว่าประมาณ 5-10% สำหรับผลิตภัณฑ์แพลนต์เบส ที่ใช้วัตถุดิบจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ ซึ่งควรกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อเป็นกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ ตลาด แพลนต์เบสมีท เกิดการเติบโตและเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่ให้โอกาสทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่, รายเล็ก และรวมไปถึงธุรกิจสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมอาหารเช่นเดียวกัน
ที่มา
Marketbuzzz Study