svasdssvasds

การบินไทย ห้ามใช้ 'พาวเวอร์แบงก์' บนเครื่องบิน ดีเดย์ 15 มี.ค.นี้

การบินไทย ห้ามใช้ 'พาวเวอร์แบงก์' บนเครื่องบิน ดีเดย์ 15 มี.ค.นี้

การบินไทย ประกาศห้ามชาร์จ ห้ามใช้พาวเวอร์แบงก์ Power Bank แบตเตอรี่สำรองบนเครื่องบิน ตลอดการเดินทาง เริ่ม 15 มีนาคม 2568

SHORT CUT

  • การบินไทยห้ามผู้โดยสารใช้หรือชาร์จพาวเวอร์แบงค์ (แบตเตอรี่สำรอง) ตลอดระยะเวลาการเดินทาง 
  • กฎระเบียบจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป
  • Power Bank หากโหลดใต้ท้องเครื่องอาจจะทำให้เกิดความร้อนสูงและอาจจะทำให้แบตเตอรี่ภายในจะทำปฏิกิริยาเคมีกัน จนทำให้เกิดการระเบิดไฟไหม้ได้

การบินไทย ประกาศห้ามชาร์จ ห้ามใช้พาวเวอร์แบงก์ Power Bank แบตเตอรี่สำรองบนเครื่องบิน ตลอดการเดินทาง เริ่ม 15 มีนาคม 2568

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน พาวเวอร์แบงก์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นเพราะการใช้สื่อโซเชียล หรือการเล่นแอปพลิเคชันต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือต้องใช้ระยะเวลานานมากขึ้น กับการอยู่ที่หน้าจอมือถือ ยิ่งทำให้แบตเตอรี่มือถือหมดเร็ว คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ Power Bank 

ล่าสุด Thai Airways ประกาศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร ขอแจ้งให้ทราบว่า

ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หรือชาร์จพาวเวอร์แบงก์ (แบตเตอรี่สำรอง) ตลอดระยะเวลาการเดินทาง 

ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ขอขอบพระคุณในความร่วมมือของท่าน

การบินไทย ห้ามใช้ \'พาวเวอร์แบงก์\' บนเครื่องบิน ดีเดย์ 15 มี.ค.นี้

 

หากย้อนไปก่อนหน้านี้ เคยเกิดเหตุการณ์ พาวเวอร์แบงก์ (Power Bank) ระเบิดไฟลุกบนเครื่องบิน ขณะเครื่องบินออกจากดอนเมืองไปนครศรีธรรมราช สร้างความโกลาหลทั้งลำ โดยลูกเรือใช้เวลาเพียง 2 นาทีดับไฟเรียบร้อย ผู้โดยสารปลอดภัย

Power Bank จัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทหนึ่ง ถ้าหากโหลดใต้ท้องเครื่องอาจจะทำให้ตัว Power Bank เกิดความร้อนสูงและอาจจะทำให้แบตเตอรี่ภายในจะทำปฏิกิริยาเคมีกัน จนทำให้เกิดการระเบิดไฟไหม้ได้ และถ้ามันอยู่ใต้ท้องเครื่องก็จะไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ทัน แต่ถ้าอยู่ในห้องโดยสาร ก็จะรับรู้และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที 

'พาวเวอร์แบงก์' ความจุเท่าไหร่ ถึงสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้? 

  1. ความจุไฟฟ้า ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 Wh. อนุญาตให้คนละไม่เกิน 20 ชิ้น
  2. ความจุไฟฟ้า เกิน 100 แต่ไม่เกิน 160 Wh. อนุญาตให้คนละไม่เกิน 2 ชิ้น และต้องขออนุญาตจากการบินไทยก่อนนำขึ้นเครื่อง
  3. เพื่อใช้เป็นการส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่เพื่อการค้า
  4. แบตเตอรี่สำรองขนาดมากกว่า 32,000 mAh ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ในทุกกรณี

วิธีเลือกซื้อ-การใช้งานพาวเวอร์แบงก์ 

  • เลือกซื้อเลือกใช้พาวเวอร์แบงก์ เฉพาะที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน มีตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานการผลิต และผ่านการทดสอบความปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงพาวเวอร์แบงก์ ราคาถูก แต่ว่ามีความจุที่สูง เพราะมีโอกาสที่เป็นสินค้าที่มาตรฐานการผลิตต่ำ อาจจะถึงขั้นไม่มีระบบตัดไฟลัดวงจรที่ปลอดภัย
  • ขณะที่นำสมาร์ตโฟนมาเสียบพาวเวอร์แบงก์เพื่อชาร์จไฟ ไม่ควรเล่นหรือใช้งานระหว่างที่ชาร์จ เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการจ่ายกระแสไฟฟ้า จนอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้
  • เมื่อเสียบชาร์จไฟเพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในพาวเวอร์แบงก์ เมื่อชาร์จจนเต็มแล้วให้ถอดสายออก ไม่ควรเสียบชาร์จคาทิ้งไว้ เพราะอาจจะเกิดความร้อนและการลัดวงจรได้
  • ไม่ควรเสียบชาร์จไฟพาวเวอร์แบงก์ไว้ ในขณะที่ไม่มีใครอยู่บ้าน
  • ไม่ควรใช้พาวเวอร์แบงก์ที่หมดอายุการใช้งาน หรือเสียหาย หรือบวมเสื่อมสภาพ ไม่ควรใช้งานพาวเวอร์แบงก์ที่มีอายุเกิน 2 ปี ควรเปลี่ยนใหม่ อย่าฝืนใช้ต่อเมื่อหมดอายุแล้ว
  • ไม่ควรเก็บพาวเวอร์แบงก์ในที่มีความร้อน เช่น หลังทีวี, ตู้เย็น, ไมโครเวฟ หรือที่แสงแดดส่องถึง รวมทั้งไม่ควรทิ้งไว้ในรถยนต์ที่จอดตากแดด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related