svasdssvasds

สุริยะ หวัง ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาค ชี้ พระราม 2 ต้องเสร็จปีหน้า

สุริยะ หวัง ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาค ชี้ พระราม  2 ต้องเสร็จปีหน้า

สุริยะ หวัง ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาค ชี้พระราม 2 ต้องเสร็จปีหน้า กระตุ้นเศรษฐกิจไทย สร้างงานสร้างอาชีพ

SHORT CUT

  • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยได้นำเสนอนโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมในงาน Sustainability Forum 2025 ที่จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ
  • เป้าหมายหลักคือการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ ปลอดภัย และลดต้นทุน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน แก้ปัญหาจราจรและมลพิษ สร้างงาน สร้างอาชีพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • กระทรวงคมนาคมมุ่งมั่นขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เหล่านี้ให้สำเร็จ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคอย่างยั่งยืน

สุริยะ หวัง ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาค ชี้พระราม 2 ต้องเสร็จปีหน้า กระตุ้นเศรษฐกิจไทย สร้างงานสร้างอาชีพ

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 “กรุงเทพธุรกิจ” จัดงาน “Sustainability Forum 2025 : Synergizing for Driving Business” ครั้งที่ 5

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้บรรยายถึง Mobility Infrastructure for Sustainability 's Journey ว่า ขอใช้เวทีแห่งนี้แบ่งปันข้อมูลในส่วนของนโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมอย่างยั่งยืน ของกระทรวงคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้ทุกท่านรับทราบปรับตัวให้พร้อมกับการเดินหน้าของประเทศไทยในอนาคต

จากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ภายใต้การนำของ แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการเปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นความหวังโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจทางสังคมของคนทุกกลุ่มของคนทุกอย่างเท่าเทียมรัฐบาลจะเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำรวมถึงทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพเชื่อมต่อกันและรอยต่อการส่งเสริมให้เกิดการปลอดภัยทางถนนและต้นทุนของระบบ

เพื่อให้เกิดความพอใจเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางทะเลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคพัฒนาสนามบิน กระทรวงคมนาคมพร้อมผลักดันดัน ตนได้บอกนโยบายให้หน่วยงานในกระทรวงคมนาคมใช้เป็นกรอบในการทำงานเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ภายใต้นโยบายคมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทย มุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาคอย่างยั่งยืน 

นโยบายดังกล่าวมีดังต่อไปนี้คือ
1.สานต่อโอกาสในโครงการคมนาคม
2.ส่งเสริมคมนาคมเชื่อมโยงอย่างไรรอยต่อ
3.สร้างโอกาสในการลงทุน
4.เพิ่มโอกาสประชาชนให้เข้าถึงระบบคมนาคม
5.เปิดโอกาสให้โลจิสติกส์ไทย
6.สนับสนุนพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
7.ส่งเสริมความปลอดภัยภาคคมนาคม 
8.ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานระเบียบกฎหมายธรรมาภิบาล
9.สร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แบ่งงาน 3 ระยะ

การดำเนินงานดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ระยะเร่งด่วน โดยเร่งสานต่อโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนให้สามารถเปิดบริการได้ตามกำหนดเวลา มุ่งเน้นคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยใช้งบประมาณไม่สูงรวมถึงปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสถานีขนส่งสาธารณะให้มีความสะอาดสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย

ระยะกลางมีการขับเคลื่อนการลงทุนก่อสร้างโครงการที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง และเปิดให้บริการตามแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้านาคม

ระยะยาวขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บทอยู่ในช่วงของเตรียมการให้ก่อสร้างได้ให้เป็นหลักฐานของสมาคมของประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ขนส่งต้นทุนต่ำสร้างอาชีพให้คนไทย

สำหรับแนวทางการพัฒนาเข้าสังคมของประเทศนั้นประสงค์เข้าสมาคมมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบขนส่งสินค้าเป็นทางรางและทางน้ำที่มีค่าต้นทุนต่ำกว่าอย่างมาก ส่งเสริมผลักดันให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งในพื้นที่กรุงเทพปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆ 

ความมุ่งหวังคือประเทศไทยต้องมีระบบขนส่งคมนาคม ทั้งคนและสินค้าที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาสร้างโอกาสให้กับประเทศชาติเช่นการแก้ปัญหาจราจรมลพิษ รวมถึงสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชน ส่งผลให้ราคาสินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้สามารถจ้างงานได้ง่ายขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น

ด้านการขนส่งภายในเมืองมีปัญหา ได้แก่การจราจรติดขัดปัญหาทั้งหมดเกิดจากที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวไม่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทำให้รถจราจรติดขัดและเกิดฝุ่นควันแนวทางในการแก้ปัญหา กระทรวงคมนาคมเร่งรัดให้สร้างระบบขนส่งหาให้ประชาชนได้เข้าถึง และเชื่อมต่อกับสนามบินระบบขนส่งนอกจากนั้นเร่งให้พัฒนาระบบอื่นๆ เช่นการเดินเท้า จักรยาน รถแท็กซี่เพื่อให้การเดินทางมาสู่บ้านมาสู่รถไฟฟ้าไปที่ทำงานไปสถานที่อื่นๆ ได้อย่างสะดวก

เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นมีความรุนแรงมากขึ้นทำให้ประเทศต่างๆ มุ่งเน้นการปล่อยการเรือนกระจก มีแผนที่จะใช้ระบบพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานปัจจุบันกระทรวงกลาโหมได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำรถรถไฟฟ้ามาใช้งานจะเพิ่มเป็น 3,100 คันในปี 2568 และจะมีโครงการเปลี่ยนรถโดยสารที่ใช้พลังงานดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้า

ด้านการขนส่งระหว่างเมืองนั้นจะเน้นการขนส่งสินค้ารับแนวคิดการขนส่งระบบสินค้ากระทรวงต้องการส่งเสริมให้ผู้ขนขนส่งสินค้าใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำทางกรุงเทพใช้ระบบขนส่งทางรถไฟเพื่อลดค่าขนส่งทางรถบรรทุกกระทรวงคมนาคมกำลังเร่งพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟให้เป็นรางคู่ กระทรวงคมนาคมได้มีแผนแม่บทระบบคมทั้งทางบกทางน้ำและอากาศเริ่มจากด้านคมนาคมทางรางกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนากรุงเทพและปริมณฑลทั้งหมด 14 เส้นทางทั้งหมด 5,000 กว่ากิโลเมตร เริ่มทำแล้ว 200 กว่ากิโลเมตร นอกจากพัฒนารถไฟฟ้าในทางอื่นแล้วกระทรวงคมนาคมได้มีการเร่งรัดการใช้ระบบตั๋วร่วมและโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายโดยเริ่มในเดือนกันยาปีหน้าสำหรับการขนส่งระหว่างเมืองกระทรวงพาณิชย์สังคมไทยเร่งรัดให้มีโครงการจัดเส้นทางปัจจุบันเสร็จสิ้นแล้ว 5 ทางอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 เส้นทาง

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมได้มีการพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสองเส้นทางได้แก่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ บ้านใหม่-มุกดาหาร-นครพนม นอกจากระบบรถไฟทางคู่แล้วยังมีระบบรถไฟความเร็วสูงอยู่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างเชื่อมสนามบิน สุวรรณภูมิดอนเมือง อู่ตะเภา

ในอนาคตกระทรวงคมนาคมมีโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพไปเชียงใหม่และกรุงเทพไปปาดังเบซาร์ 

ด้านการขนส่งทำน้ำกระทรวงคมนาคมมีแผนทำท่าเรือสาธารณะ 29 ท่า

มกราคมมีการพัฒนาท่าเรือสำราญเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจำนวนสามแห่งที่ชลบุรีเกาะสมุยและภูเก็ตเริ่มก่อสร้างท่าเรือแห่งแรกที่เกาะสมุยในปี 2568 

การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่สามให้รองรับการขนส่งสินค้าโดยเป็นการก่อสร้างเพื่อสร้างถ้าเทียบเรือ แก้ปัญหาการจราจรในท่าเรือปัจจุบันสามารถรองรับได้ 11.1 ล้าน TEU หากนำดำเนินการในระยะที่สามแล้วเสร็จจะรองรับสินค้าได้ถึง 18.1 ล้าน TEU 

ทางบกจะเร่งปิดตำนานถนน 7 ชั่วโคตรโครงการก่อสร้างถนนพระราม 2 ภายในเดือนกันยายน 2568 

ด้านคมนาคมทางอากาศมุ่งทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาค  เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาในประเทศไทยเพื่อสร้างรายได้มากขึ้นโดยมีการพัฒนาพัฒนาด้านคมนาคม 3 ระยะ

ระยะเร่งด่วนมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้สนามบินเช่นการออกระบบตั๋วโดยสารด้วยตัวเอง รวมถึงเชื่อมต่อสนามบินและระบบขนส่งอื่นได้อย่างประสิทธิภาพ

ระยะยาวมีท่าอากาศยานล้านนาอันดามันจากการคาดการณ์สนามบินสุวรรณภูมิมีการคาดการณ์ว่าสำหรับประเทศไทย 2574  ประเทศไทยจะมีคนเดินทางมาสนามบิน 200,000,000 คนต่อปีทำให้กระทรวงคมนาคมต้องเร่งพัฒนาสนามบินให้รองรับผู้โดยสาร หลับได้ 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ด้านสนามบินดอนเมืองจะมีการสร้างอาหารพื้นฐานใหม่ทำให้รองรับผู้โดยสาร 40,000,000 คนต่อปี

สนามบินอู่ตะเภาจะรองรับผู้โดยสารจากเป็น 12,000,000 คนในปี 2571 

สนามบินภูเก็ตจะเป็นสนามบินสำคัญหลังภาคใต้ กระทรวงคมนาคมมีแผนขยายตัวอาหารผู้โดยสารระหว่างประเทศนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มสิทธิภาพในภาคบริการเพิ่มจาก 12,000,000 คนเป็น 18,000,000 คนต่อปีจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2572

ด้านสนามบินเชียงใหม่ กระทรวงคมนาคมมีแผนก่อสร้างอาคารระหว่างประเทศและปรับปรุงอาคารเดิมจะแยกผู้โดยสารระหว่างประเทศกับภายในประเทศออกจากกันตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2569 เปิดบริการใน 2576

สำหรับพื้นที่ภาคเหนือจะมีการสร้างสนามบินล้านนาที่สามารถรองรับผู้โดยสาร 24,000,000 คนได้และรับเที่ยวบินได้ 41 เที่ยวบินต่อชั่วโมงจะเสร็จคาดว่าจะเริ่มโครงการในปี 2573 

สำหรับพื้นที่ภาคใต้จะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานอันดามันที่รองรับคนได้จำนวน 22,000,000 คนต่อปี 

เมกะโปรเจกต์

การโครงการแลนด์บิทจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลมีการก่อสร้างท่าเรือลำลึกจากจังหวัดชุมพรถึงจังหวัดระนองและเชื่อมต่อรถไฟทั้งสองด้วย การศึกษาพบว่าจะลดการต้นทุนในการขนส่งได้ 15 ห้าถึง 20 เปอร์เซ็นต์

จากกรอบนโยบายภายใต้นโยบายคมนาคมของประเทศ  กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดเพื่อให้ เป็นประโยชน์ต่อคนไทยนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนพักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของภูมิภาคต่อไป

related