SHORT CUT
เป็นพลเมืองโลก ที่มีความเห็นอกเห็นใจ ปรับตัวอยู่กับเทคโนโลยี ก้าวต่อไปของสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย
สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนสมาชิกทั่วประเทศไทย โดยมี อุษา สมบูรณ์ นั่งนายกสมาคมฯ
โดย ISAT มีบทบาทหลักในการยกระดับมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนสมาชิก และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน
ISAT มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้เป็นพลเมืองโลก ที่มีความเห็นอกเห็นใจ และสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บทบาทของ ISAT ในการพัฒนาการศึกษา แสดงให้เห็นผ่านโครงการต่างๆ ที่มุ่งเน้นการปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจ เช่น โครงการ Habitat for Humanity ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน และโครงการที่สนับสนุนให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
นอกจากนี้ ISAT ยังตระหนักถึงความสำคัญของโรงเรียนนานาชาติต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนเหล่านี้ดึงดูดนักเรียนต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ISAT เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ดึงดูดนักเรียนจากทั่วโลก
บทบาทของ ISAT ในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนสำหรับอนาคต มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
ISAT เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในระดับนานาชาติ
ปัจจุบันโรงเรียนนานาชาติไทย ไม่เพียงแต่สอนความรู้ด้านภาษา รวมถึงการศึกษาแบบต่างชาติเท่านั้น แต่สามารถทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในงานบริการชุมชน โดยเฉพาะกับองค์กร Habitat for Humanity เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ด้อยโอกาสที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดี
มีทั้งการระดมทุนและสร้างบ้านให้กับครอบครัวเหล่านี้ นอกจากนี้ นักเรียนยังพัฒนาความเห็นอกเห็นใจเตรียมพร้อมก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลก ความเข้าใจต่อบุคคลที่ด้อยโอกาส สอดรับการใช้เทคโนโลยี ดังตัวอย่างจากนักเรียนคนหนึ่งที่สร้างโปรแกรมเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ขณะที่ครูในโรงเรียนนานาชาติมักจะอาสาใช้เวลาว่างของตนเพื่อสนับสนุนเด็กด้อยโอกาส
ส่งผลให้ผู้ปกครองสนับสนุนให้บุตรหลานของตนมีส่วนร่วมในชุมชนในลักษณะเดียวกัน การสนับสนุนซึ่งกันและกันและการเป็นตัวอย่างภายในชุมชนของโรงเรียนส่งเสริมให้เกิดจิตวิญญาณแห่งชุมชนและความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าในประเทศไทย
ISAT มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาแนวทางการศึกษาที่ตอบโจทย์สำหรับนักเรียนในสังคมที่เชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้นสร้างสรรค์โครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและชุมชนการศึกษานานาชาติในประเทศไทยรวมถึงช่วยสร้างการรับรู้และเพิ่มการยอมรับต่อมาตรฐานโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยในระดับเวทีโลก
สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) เน้นถึงความสำคัญของการศึกษาในการดึงดูดบริษัทและสำนักงานใหญ่มายังประเทศไทย โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของโรงเรียนที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น การหลั่งไหลเข้ามาของนักเรียนจีนในเชียงใหม่และภูเก็ตหลังโควิด-19 รวมถึงชาวยูเครนและรัสเซีย
ทำให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของโรงเรียนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคทางเศรษฐกิจและธุรกิจโดยมีนักเรียนมากกว่า 90,000 คนในปีการศึกษาหน้าโดย 35% เป็นชาวต่างชาติมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านที่อยู่อาศัยและค่าเช่า
ทำให้เห็นมูลค่าทางเศรษฐกิจทางอ้อมของจากเข้าเม็ดเงินด้านการศึกษา ประเมินไว้ว่ามากกว่า 8 หมื่นล้านบาทโดยโรงเรียนสมาชิก ISAT มีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก
โดยสมาคมเน้นย้ำถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างของโรงเรียนนานาชาติทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในสถานที่แห่งเดียว
ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่ดี การท่องเที่ยวโดดเด่น ทำให้มีชาวต่างหลั่งไหลเข้ามาในประเทศเท่านั้นปัจจัยการหลั่งไหลของครอบครัวและครูเข้ามาในประเทศไทยเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและโรงเรียนนานาชาติที่มีคุณภาพสูง
เห็นได้จากความสำคัญของโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ รวมถึงหลักสูตรฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อเมริกา และอังกฤษ ที่มีหลากหลายหลักสูตรมากขึ้น
สมาคมเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนโรงเรียนนานาชาติ โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของโรงเรียนเหล่านี้สามารถเป็น Soft Power และการมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศไทย
ถึงแม้จะมีการรับรู้ที่ผิดๆ ที่ว่าโรงเรียนนานาชาติให้บริการเฉพาะผู้ปกครองในสังคมชั้นสูงเท่านั้น โดยเน้นย้ำว่าผู้ปกครองทุกคนให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลานของตนเป็นอันดับแรก
โดย ISAT แสดงความขอบคุณสำหรับการสนับสนุนของรัฐบาลและยอมรับถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับสถานะของโรงเรียนนานาชาติ
ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการศึกษา ซึ่งส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ไม่ได้คิดเพียงแค่ให้การศึกษาแก่คนไทยหรือคนต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยแต่ ISAT มุ่งเป้าทะยานสู่การสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนด้วย
โดย ISAT เน้นย้ำถึงเป้าหมายของรัฐบาลในการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและความสำคัญของการที่รัฐบาลให้ความสนใจต่อโรงเรียนนานาชาติ
เสนอแนะให้มีการปรับกฎระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตของมนุษย์อย่างมหาศาล และเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะกระตุ้นให้เยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ให้เท่าทันเทคโนโลยี
ผลกระทบของ Al มีผลต่อการ ศึกษาและความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องเตรียม นักเรียนให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในยุคดิจิทัล ISAT สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน รวมถึงการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีผลและมีบทบาทสำคัญในการศึกษายุคปัจจุบัน
โดยมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการปรับตัวให้เข้า กับการเปลี่ยนแปลงภายนอก เพื่อยก ระดับการเรียนรู้ของนักเรียน
เช่นโครงการริเริ่มและการพัฒนาโปรแกรมที่นำโดยนักเรียน โดยนักเรียนที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในมอนต์โกเมอรี
นักเรียนคนนี้ได้นำโปรแกรมนี้มาที่โรงเรียนเพื่อช่วยเหลือเด็กคนอื่นๆ ที่มีปัญหาด้านการพูด
โรงเรียนสนับสนุนโครงการริเริ่มดังกล่าวโดยกระตุ้นให้นักเรียนช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นและชุมชนและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการระดมนักเรียนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
จะเห็นได้ว่าจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของ ISAT ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2537 จนถึงปัจจุบันสมาคมฯ ได้เติบโตเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาในประเทศไทยการเติบโตนี้เป็นผลจากการมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างโรงเรียนสมาชิกของสมาคมทำให้ผลิตบุคลากรที่เป็นพลเมืองโลกมีความเห็นอกเห็นใจและปรับตัวอยู่กับเทคโนโลยีได้