svasdssvasds

เลือกตั้งสหรัฐฯ ชาวอินเดียนแดงได้ลงคะแนนช้ากว่าคนผิวดำ 50 กว่าปี !

เลือกตั้งสหรัฐฯ ชาวอินเดียนแดงได้ลงคะแนนช้ากว่าคนผิวดำ 50 กว่าปี !

ชาวอินเดียนแดงถูกปฏิเสธสิทธิในการลงคะแนนเสียงมานานหลายทศวรรษ และต้องยอมเสียดินแดนเพื่อให้ได้สิทธิพลเมือง

SHORT CUT

  • ช่วงทศวรรษที่ 1860 แม้จะมีการให้สิทธิพลเมืองให้กับคนผิวดำ แต่ชาวอินเดียนแดงที่อยู่บนแผ่นดินมาก่อนคนผิวขาวและผิวดำ ก็ยังห่างไกลจากการได้เป็นพลเมือง
  • ถึงจะได้การรับรองในปี 1924 ชาวอินเดียนแดงยังประสบปัญหาในการเลือกตั้ง เพราะแต่ละรัฐใช้กฎหมายให้สิทธิเพวกเขาแต่งต่างกัน แน่นอนว่า เต็มไปด้วยการกลั่นแกล้งและกีดกัน
  • ปัจจุบัน ยังคงมีมีผู้อาวุโสของชนพื้นเมืองอเมริกันไม่น้อยที่มักบอกคนรุ่นใหม่ว่า “ไม่ให้ลงคะแนนเสียง" เพราะเกี่ยวข้องกับความอับอายในอดีต 

ชาวอินเดียนแดงถูกปฏิเสธสิทธิในการลงคะแนนเสียงมานานหลายทศวรรษ และต้องยอมเสียดินแดนเพื่อให้ได้สิทธิพลเมือง

แม้ ชาวอเมริกันพื้นเมือง หรือ ‘อินเดียนแดง’ จะสามารถสืบย้อนต้นกำเนิดบรรพบุรุษของพวกเขากลับไปได้มากกว่า 30,000 ปีบนดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่า ‘สหรัฐฯ’ แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการรับรองหรือได้รับสัญชาติ ในช่วง 150 ปีแรกของการก่อตั้งสหรัฐฯ

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ ‘การพิชิตตะวันตก’ ในช่วงปี 1860-1890 ของสหรัฐฯ จะผ่านไปแล้ว แต่ชาวอินเดียนแดงยังคงถูกกดขี่ละเมิดสิทธิ และถูกกีดกันออกจากสิทธิทางกฎหมายหรือนโยบายต่างๆ มากมาย

เลือกตั้งสหรัฐฯ ชาวอินเดียนแดงได้ลงคะแนนช้ากว่าคนผิวดำ 50 กว่าปี !

อย่างไรก็ตาม ใช่ช่วงแรกชาวอเมริกันพื้นเมืองจำนวนมากก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องผลักดันเรื่องสัญชาติหรือสิทธิในการเลือกตั้งของตัวเองเท่าไหร่ แต่เมื่อชาวผิวขาวยังคงผลักดันให้พวกเขาต้องเสียถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่เรื่อยๆ ชาวอินเดียนแดงก็เริ่มเห็นได้ว่าพวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาดินแดนและวัฒนธรรมของตนเอาไว้

อินเดียนแดงไม่ใช่ชาวสหรัฐฯ ?

ในศตวรรษที่ 19 มีการไล่ชาวอินเดียแดงออกจากที่อยู่อาศัยหลายพื้นที่ ซึ่งชาวอเมริกันได้เสนอสิทธิพลเมืองสหรัฐเพื่อแลกกับดินแดนของพวกเขา เวลานั้นการให้สิทธิเป็นพลเมืองถูกบรรยายว่า คนขาวยื่นให้ชาวอินเดียนแดงแบบง่ายๆ ‘เหมือนกับการยื่นแครอท’ ขอเพียงแค่พวกเขาไปจากบ้าน

การขับไล่นี้ รุนแรงถึงขั้นเป็นการทำลายวัฒนธรรม ในปี 1855 สนธิสัญญา ‘Treaty with the Wyandot’ กำหนดให้ชาว ‘อินเดียนไวอันด็อต’ ต้องย้ายจากถิ่นฐานเดิมไปยังรัฐโอคลาโฮมา และมีเงื่อนไขว่าสังคมแบบชนเผ่าของพวกเขาต้องถูกยุบ เพื่อแลกกับการเป็น “พลเมืองของสหรัฐฯ”

Don...The UpNorth Memories Guy... Harrison

นอกจากนี้ พวกเขายังถูกคนขาวมองว่าต่ำต้อยยิ่งขึ้น เพราะในปี 1856 อัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ‘เคเล็บ คัชชิ่ง (Caleb Cushing)’ ประกาศว่า “ข้อเท็จจริงที่ชาวอินเดียนแดงเกิดในประเทศไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นพลเมืองของสหรัฐความจริงง่ายๆ ก็คือ ชาวอินเดียนเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐ ดังนั้นจึงไม่ถือเป็นพลเมืองของสหรัฐโดยกำเนิด”

เลือกตั้งสหรัฐฯ ชาวอินเดียนแดงได้ลงคะแนนช้ากว่าคนผิวดำ 50 กว่าปี !

อินเดียนแดง ได้เลือกตั้งช้ากว่าคนผิวดำ 50 ปี

ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงทศวรรษที่ 1860 แม้จะมีการให้สิทธิพลเมืองให้กับคนผิวดำ หลังสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว แต่ชาวอินเดียนแดงที่อยู่บนแผ่นดินมาก่อนคนผิวขาวและผิวดำ ก็ยังห่างไกลจากการได้เป็นพลเมือง ‘เจคอบ ฮาวเวิร์ด (Jacob Howard)’ วุฒิสมาชิกรัฐมิชิแกน ถึงขั้นกล่าวว่า “ฉันยังไม่พร้อมที่จะผ่านกฎหมายการแปลงสัญชาติให้คนป่าอินเดียนทุกคน ไม่ว่าจะดุร้ายหรือเชื่องที่สังคมแบบชนเผ่าเข้ามาเป็นพลเมืองเดียวกับฉัน และไปใช้สิทธิเลือกตั้งร่วมกับฉัน”

แต่ถึงจะถูกกีดกันจากคนขาวขนาดไหน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้น ก็มีชาวอินเดียนแดงจำนวนหนึ่งเข้าร่วมกองทัพสหรัฐฯ ด้วย ความย้อนแย้งนี้ทำให้ ‘วิลลาร์ด ฮิวจ์ส โรลลิงส์ (Willard Hughes Rollings) ’ นักประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองอเมริกันหาวิทยาลัยเนวาดา พูดไว้ว่า “เป็นเรื่องแปลกที่พวกเขาต่อสู้เพื่อเสรีภาพในต่างแดน ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่มีในประเทศ”

อย่างไรก็ตาม เพื่อยกย่องวีรกรรมที่ชาวอินเดียนแดงทำให้กับสหรัฐฯ หลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐสภาได้มอบสิทธิพลเมืองให้กับทหารผ่านศึกชนพื้นเมืองอเมริกันหลายนาย และสุดท้ายก็มีการผ่านพระราชบัญญัติสัญชาติอินเดียนในปี 1924 ที่อนุญาตให้ชาวอินเดียนแดงลงคะแนนเสียงได้ ซึ่งช้ากว่าคนผิวดำบนแผ่นดินสหรัฐฯ 50 กว่าปี

หนทางเลือกตั้งของ ‘อินเดียนแดง’ ยังคงยากลำบาก

ถึงจะมีกฎหมายรองรับ แต่ชาวอินเดียนแดงยังประสบปัญหาในการเลือกตั้ง เพราะแต่ละรัฐใช้กฎหมายให้สิทธิเลือกตั้งพวกเขาแต่งต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่า เต็มไปด้วยการกลั่นแกล้งและกีดกันไม่ให้คนอินเดียนแดงมาเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ หรือระดับประเทศ

ตัวอย่างเช่น ในปี 1960 ‘โจเซฟ มอนโตยา (Joseph Montoya)’ ผู้สมัครที่แพ้การเลือกตั้งรองผู้ว่าการรัฐแอริโซนา อ้างว่าไม่ควรนับคะแนนเสียงจากชนเผ่าอินเดียนแดงนาวาโฮ เนื่องจากผู้ลงคะแนนเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตสงวนของชนเผ่าที่อยู่นอกเขตรัฐ เขาได้นำข้อโต้แย้งของเขาไปเสนอต่อศาลของรัฐ แต่ 18 เดือนหลังจากการเลือกตั้ง ศาลฎีกาแห่งรัฐแอริโซนาได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของเขาและยืนยันสิทธิในการลงคะแนนเสียงของชนพื้นเมืองในคดีนี้

ชาวอินเดียนแดงโดนกีดกัน แม้มีกฎหมายรองรับ  

จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1960 และการผ่านพระราชบัญญัติสิทธิในการลงคะแนนเสียง ทำให้ชาวอเมริกันพื้นเมืองได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในทุกๆ รัฐ โดยยูทาห์และเมนเป็นรัฐสุดท้ายที่รับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียงอย่างเต็มที่ของพวกเขา

ยังมีวิธีอื่นๆ ที่พยายามกีดกันไม่ให้ชนเผ่าอินเดียนแดงลงคะแนนเสียงเช่น ไม่สามารถขับรถ ไม่สามารถพิสูจน์ที่อยู่ ที่บ้านไม่มีไฟฟ้าหรือน้ำประปาใช้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘คนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้’ ซึ่งตรงนี้คือส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวอินเดียนแดงหลายสิบล้านหลุดจากระบบเลือกตั้ง เนื่องจาก มีเพียงประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ของชาวอินเดียนแดงเท่านั้น ที่สามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้

ช่องว่างความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงจนกระทั่ง มีการผ่านพระราชบัญญัติสิทธิการลงคะแนนเสียง ปี 1965 ทำให้สิทธิการเลือกตั้งของเผ่าอินเดียนแดงต่างๆ ถูกพิจารณาในระดับรัฐบาลกลาง ทำให้ให้ชาวอเมริกันพื้นเมืองได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในทุกๆ รัฐ โดยยูทาห์และเมนเป็นรัฐสุดท้ายที่รับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียงอย่างเต็มที่ของพวกเขา และต่อมาก็ได้มียกเลิกการพิสูจน์ภาษาอังกฤษกับชาวอินเดียนแดงอีกด้วย

Report: Obstacles at Every Turn

อย่างไรก็ตาม มรดกความไม่เท่าเทียมก็ยังหลงเหลืออยู่บ้าง ผู้เชี่ยวชาญประมาณการว่ามีชาวอเมริกันอินเดียนประมาณ 1 ล้านคนที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงทุกๆ ปี จึงนับเป็น “พลังทางการเมืองที่ไม่เคยถูกใช้” ซึ่งอาจเป็นเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีอุปสรรคในการเดินทาง ไม่สนใจการเมืองสหรัฐฯ หรือไม่มีหน่วยงานเข้าไปเปิด คูหาเลือกตั้งในหมู่บ้านพวกเขา จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะยอมเหนื่อยขี่ม้า หรือขับรถเดินทางเข้ามาในเมือง

ยิ่งไปกว่านั้น อคติที่เกิดจากความขขัดแย้งในอดีตก็ยังคงอยู่ มีผู้อาวุโสของชนพื้นเมืองอเมริกันไม่น้อยที่มักบอกคนรุ่นใหม่ว่า “ไม่ให้ลงคะแนนเสียง" ในการเลือกตั้งสหรัฐฯ อยู่เป็นบางครั้ง ซึ่ง ‘เดอ ลีออน (De León)' ผู้ร่วมเขียนรายงาน "Obstacles at Every Turn” ที่ กล่าวถึงอุปสรรคที่ชนพื้นเมืองอเมริกันต้องเผชิญในการลงคะแนนกล่าวว่า “มันเกี่ยวข้องกับความอับอายที่พวกเขาต้องเผชิญ เพราะยังมีความคิดที่ว่า จะต้องละทิ้งวัฒนธรรมอินเดียนเพื่อที่จะลงคะแนนเสียง”

ที่มา : The Washington Post Library of Congress

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related