เภสัชกรหนุ่ม ตัดสินใจจบชีวิต พร้อมทิ้งจดหมายเศร้า หลังถูกหัวหน้ากดดันให้ลาออกบ่อยครั้ง สะท้อนคำพูดของหัวหน้า ทำรู้สึกไร้ค่าได้กว่าที่คิด
ระบุว่า “พี่อ๊อฟครับ การที่ผมตัดสินใจต้องจากคนที่รักไปแบบนี้ ขอให้พี่อ๊อฟรับรู้ไว้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาจากตัวผมเองที่โชคร้าย ต้องมาเจอหัวหน้างานอย่างพี่ ที่ไม่เคยเปิดใจรับฟังอะไรทั้งสิ้น และชอบใช้วิธีบีบคั้นหรือกดดันเพื่อให้ลูกน้องลาออก เภสัชกรคนหนึ่งใน รพ. ชื่อดังแถวพระราม 9”
และเพจอีซ้อขยี้ข่าว : อีซ้อ ยังมีการเปิดเผยแชต ระหว่างหัวหน้าและเภสัชกรรายนี้ ที่มักถูกแนะนำให้ลาออกไปพักผ่อนจิตใจ หรือให้ย้ายแผนก จะได้ไม่ต้องลำบากใจมาเป็นลูกน้องตน นอกจากนี้ ยังมีข้อความแชตในกลุ่ม "กรุ๊บลับไว้ตกลงเวร" ที่หัวหน้างานรายนี้ตำหนิที่เภสัชกรหนุ่ม โดยใช้คำพูดระบุว่า “จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง เธอมีสิทธิ์ตรงไหนมาจัดการ เธอเป็นหัวหน้าพี่เหรอ เป็นหน้าที่ของพี่หรือหน้าที่ของเธอ?” “ถ้าทำงานด้วยกันไม่ได้ ลาออกได้นะ ประวัติการทำงานจะได้ไม่เสีย”
ด้านพี่สาวของเภสัชกรหนุ่ม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางน้อง ,รพ. และครอบครัว ได้พูดคุยและปรึกษาปัญหากัน ได้รับรู้และแก้ไขปัญหาให้กับทางเรื่องนี้ แต่น้องรักในอาชีพและองค์กรของน้องมากๆ จึงอยากพิสูจน์ตัวเองว่าน้องทำได้ จึงไม่ได้ลาออก จึงขอทำงานนี้ต่อ และตัวน้องเองมีภาวะจากโรคซึมเศร้า ทำให้ภาวะการตัดสินใจของน้องเป็นไปตามอาการของโรค จากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาระหว่างบุคคล ที่เกิดขึ้นในการทำงาน ทางครอบครัวก็คิดว่า เจ้าตัวเค้าคงรู้สึกผิดจากการกระทำของเค้าแล้ว
ขณะที่ ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนของเภสัชกรผู้เสียชีวิต โพสต์ข้อความระบุว่า ตนรู้ถึงสภาพแวดล้อมการทำงานของน้องดี แต่มายด์อยากพิสูจน์ตัวเอง ให้คนอื่นเห็นว่ามายด์เป็นคนเก่ง มายด์เอาชนะในเรื่องนี้ได้ น้องถึงยอมอยู่ต่อ แต่สุดท้ายมายด์รับกับสภาพแวดล้อมแบบนี้ไม่ไหว ทุกครั้งที่เห็นคำว่าลาออกจากผู้บังคับบัญชา มันทำให้น้องหมดกำลังใจ ทำให้น้องไม่อยากตื่นที่จะไปพบเจอสิ่งแวดล้อมอะไรแบบนี้
ต่อมาหลังจากเหตุสลดใจ โรงพยาบาลพระราม 9 ออกแถลงการณ์ โดยมีใจความสำคัญ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อการสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าในองค์กร และเป็นกำลังใจให้ครอบครัวในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
และมีความยินดีที่จะดูแลและสนับสนุนครอบครัวผู้สูญเสียอย่างเต็มที่ รวมถึงการดูแลและให้กำลังใจบุคลากรทุกคนอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและใจให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังขอเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานด้วยความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) เพื่อให้การดูแลซึ่งกันและกันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรอย่างแท้จริง