svasdssvasds

สศค. แจงไม่ตอบหนังสือ สคบ.ปม The iCon เมื่อปี 2561 หวั่นถูกเคลมหาประโยชน์

สศค. แจงไม่ตอบหนังสือ สคบ.ปม The iCon เมื่อปี 2561 หวั่นถูกเคลมหาประโยชน์

สศค. แจงไม่ตอบหนังสือ สคบ. เมื่อปี 2561 หวั่นถูกนำไปเคลมสร้างเครดิตผิดๆ ไม่มีอำนาจชี้ว่าธุรกิจใดเป็นขายตรงหรือแชร์ลูกโซ่ แต่พร้อมรับเรื่องร้องทุกข์ส่งต่อตำรวจดำเนินการ เสนอแก้กฎหมายให้ ก.ยุติธรรมดูแลแทน

SHORT CUT

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ชี้แจง ไม่ตอบหนังสือ สคบ. เพราะไม่มีอำนาจ หวั่นถูกนำไปเคลมสร้างความเสียหาย
  • สศค. มีหน้าที่รับเรื่องจากผู้เสียหาย รวบรวมพยานหลักฐาน และส่งต่อให้ตำรวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย
  • เสนอให้แก้ไขกฎหมาย มอบ DSI เป็นคนดูแลแทน

สศค. แจงไม่ตอบหนังสือ สคบ. เมื่อปี 2561 หวั่นถูกนำไปเคลมสร้างเครดิตผิดๆ ไม่มีอำนาจชี้ว่าธุรกิจใดเป็นขายตรงหรือแชร์ลูกโซ่ แต่พร้อมรับเรื่องร้องทุกข์ส่งต่อตำรวจดำเนินการ เสนอแก้กฎหมายให้ ก.ยุติธรรมดูแลแทน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยไทม์ไลน์กรณี The iCon Group โดยอ้างถึงกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เคยมีหนังสือเมื่อปี 2561 หารือลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด (The iCon) ว่าลักษณะการประกอบธุรกิจและแผนธุรกิจการตลาดเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม มาตรา 4 วรรคแรก ของ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 หรือไม่นั้น

 

สศค. ชี้แจงว่า หน่วยงานไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการรายใด ที่จะจดทะเบียนขายตรงหรือการตลาดแบบตรง เพราะหากให้ความเห็นไปอาจเกิดความคาดเคลื่อนและส่งผลให้มีผู้นำความเห็นนั้นไปใช้โดยไม่ถูกต้องภายหลังได้

แต่ สศค. มีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้เสียหายจากธุรกิจการเงินนอกระบบ แจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน และศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานของธุรกิจการเงินนอกระบบเพื่อตรวจสอบการกระทำความผิด นำไปสู่การฟ้องร้อง เสนอความเห็นการยึดอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น ทั้งนี้หากพบว่าข้อร้องเรียนใดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ และมีผู้เสียหายเกิดขึ้น สศค.จะส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหาหลักฐานเพื่อดำเนินคดีต่อไป

 

พฤติการณ์น่าสังเกตุที่เข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน ผิด พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ มีองค์ประกอบ 3 ข้อ

  1. มีการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฎแก่บุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
  2. สัญญาว่าจะจ่าย หรืออาจจ่าย ผลประโยชน์ "จากการลงทุน" เป็นอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
  3. ผู้ชักชวน นำ "เงินจากผู้ร่วมลงทุนรายใหม่" หมุนเวียนจ่ายให้ "ผู้ลงทุนรายก่อน" หรือผู้ชักชวนไม่มีกิจการใดที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้

ที่สำคัญคือ ธุรกิจใดอาจเข้าข่าย "การขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่" ต้องมีการสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทนจากการหาสมาชิก มิใช่ผลตอบแทนจากการขายสินค้า โดยต้องพิจารณารายกรณีไปด้วย

 

ทั้งนี้มีข้อเสนอว่า กฎหมายดังกล่าวควรมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติ จากเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ไปเป็น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม เพราะมีบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการบังคับใช้กฎหมาย สอบสวนดำเนินคดี ปราบปรามการกระทำความผิดมากกว่า

related