svasdssvasds

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา สะท้อนความขัดแย้งตั้งแต่อดีตร้าวลึกจนถึงปัจจุบันระหว่าง 3 ชนชาติ

SHORT CUT

  • รามเกียรติ์วรรณกรรมที่สอดแทรกการสู้รับระหว่างชาวทมิฬกับชาวอารยัน ในอินเดียจนลามไปถึงศรีลังกา สะท้อนการเหยียดชาติพันธุ์อย่างชัดเจน โดยผู้ชนะเป็นผู้เขียนเรื่องราว
  • โดยเรื่องรามายณะ เล่าเรื่องของพระราม แห่งกรุงอโยธยา (สันนิษฐานว่าเป็นชาวอารยัน) ต่อสู้กับ ทศกัณฐ์ (สันนิษฐานว่าคือชาวทมิฬ)  ที่แย่งชิงมเหสีของตนไป โดยมีกองทัพวานรช่วยรบกับยักษ์จนสามารถชนะทศกัณฐ์ได้ 
  • สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างชาวชนชาติ มีเรื่องราวที่เป็นมาอย่างยาวนาน ผ่านทั้งวรรณคดี เรื่องเล่า ตำนาน และมีผลต่อสถานการณ์ในยุคร่วมสมัยอีกด้วย

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา สะท้อนความขัดแย้งตั้งแต่อดีตร้าวลึกจนถึงปัจจุบันระหว่าง 3 ชนชาติ

ประวัติศาสตร์มักเขียนโดยผู้ชนะ แล้วหากยังไม่มีประวัติศาสตร์จะเขียนเรื่องราวอย่างนี้ขึ้นมาอย่างไร 

คำตอบก็คือหลายคนเชื่อว่า มักแฝงการเมืองหรือประวัติศาสตร์ผ่านการเขียนวรรณกรรม หรือวรรณคดีอย่างไรล่ะ

ตัวอย่างของเรื่องราวที่เห็นได้ชัดเจนคือรามเกียรติ์วรรณกรรมที่สอดแทรกการสู้รับระหว่างชาวทมิฬกับชาวอารยัน ในอินเดียจนลามไปถึงศรีลังกา สะท้อนการเหยียดชาติพันธุ์อย่างชัดเจน โดยผู้ชนะเป็นผู้เขียนเรื่องราว

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

ปูมหลังเรื่องรามเกียรติ์

รามายณะ ในอินเดียเชื่อกันว่าฤๅษีวาลมิกิเป็นผู้แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤตเมื่อประมาณ 2,400 ปีที่แล้ว ฤาษีวาลมิกิได้รับการยกย่องเป็น “อาทิกวี” หรือ “ทศกัณฐ์คนแรก” 

โดยเรื่องรามายณะ เล่าเรื่องของพระราม แห่งกรุงอโยธยา (สันนิษฐานว่าเป็นชาวอารยัน) ต่อสู้กับ ทศกัณฐ์ (สันนิษฐานว่าคือชาวทมิฬ)  ที่แย่งชิงมเหสีของตนไป โดยมีกองทัพวานรช่วยรบกับยักษ์จนสามารถชนะทศกัณฐ์ได้ 

 

ถอดรหัสการถอยร่นสู่ศรีลังกาของชาวทมิฬผ่านรามเกียรติ์

วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ยังสะท้อนให้เห็นถึงการถอยร่นสู่ศรีลังกาของชาวทมิฬด้วย กล่าวคือชาวอารยันซึ่งคือฝ่ายพระรามบุกทำลายเมืองของชาวทมิฬจากอินเดียเหนือ ค่อยๆ ประชิดอินเดียใต้ขึ้นเรื่อยๆ และเมืองต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรของกรุงลงกาก็ค่อยๆ พ่ายแพ้

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

ขณะที่กรุงลงกาเมืองหลวงของทศกัณฐ์นั้นสันนิษฐานว่าอยู่บริเวณประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ ถึงขนาดที่พระรามต้องสั่งจองถนนข้ามไปโจมตี

สะท้อนให้เห็นว่าชาวทมิฬซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของอินเดีย ถูกรุกรานโดยชาวอารยันจนต้องถอยร่นไปที่เกาะลงกาหรือประเทศศรีลังกา

ในที่สุดต้องพ่ายแพ้โดยชาวทมิฬด้วยกันเองอย่างพิเภกเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระรามซึ่งเป็นชาวอารยัน บอกความลับของชาวทมิฬจนนำไปสู่จุดจบของชาวทมิฬ ด้วยน้ำมือของชาวอารยัน

วรรณกรรมด้อยค่าชาวทมิฬ

แน่นอนว่าเมื่อผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์ ย่อมเขียนสิ่งต่างๆ ด้อยค่าศัตรูเสมอ ตัวอย่างเช่นในวรรณกรรมมักเขียนฝ่ายเทพหรือฝ่ายพระราม เป็นคนหน้าตาดี มีรูปลักษณ์ที่ดี ขณะที่มักด้อยค่ายักษ์ซึ่งสันนิษฐานว่าคนทมิฬ มีผมหยิกผิวดำ รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ หรือเปรียบเป็นอสูร

ที่เห็นได้ชัดถึงการแบ่งแยกคือฉากตอนกวนเกษียรสมุทร เป็นฉากที่เทวดา (ชาวอารยัน) ร่วมกับ ยักษ์ หรือ อสูร (ชาวทมิฬ) กวนเกษียรสมุทร เพื่อจะได้น้ำอมฤตมาฟื้นฟูพลังให้กับเทวดา

แต่การกวนเกษียรสมุทรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องพละกำลังมหาศาลซึ่งฝ่ายเทวดาไม่สามารถทำฝ่ายเดียวได้ แต่ต้องใช้อสูรเข้ามาช่วย โดยฝ่ายเทวาหลอกฝ่ายอสูรว่าจะให้ดื่มน้ำอมฤตกลายเป็นอมตะด้วย ซึ่งอสรูก็หลงเชื่อเทวดา สะท้อนให้เห็นถึงการด้อยค่าชาวทมิฬว่าเป็นคนที่โดนหลอกง่าย

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

และยังไม่หมดเพียงเท่านั้นเพราะฝ่ายอสูรเองหลงตัวมากวนเกษียรสมุทรด้วยแล้ว ยังต้องถูกเอาเปรียบ ด้วยการอยูฝั่งหัวพญานาคที่พร้อมคายพิษตลอดเวลาทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย ขณะที่ฝ่ายเทวานั้นอยู่ส่วนหางของพญานาค และที่สำคัญเมื่อกวนเกษียรสมุทรไปหลายพันปี เกิดนางอัปสรขึ้น อสูรหรือชาวทมิฬก็หลงความงามของเหล่านางอัปสรจนเคลิ้มไม่ได้สนใจน้ำอมฤต ทำให้ฝ่ายเทวาชิงดื่มน้ำอมฤตฝ่ายเดียว

เป็นการดูถูกชาวทมิฬ ว่าโง่ โดนหลอกง่าย เจ็บแล้วยังไม่จำหลงในตัณหาผลสุดท้ายต้องเสียแรงเปล่าไม่ได้อะไรเลย

แม้กระทั่งอาวุธที่ใช้ต่อสู้ก็ดูราวต่างกันฟ้ากับเหว คือฝ่ายพระรามมักจะมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า ไม่ว่าจะเป็นคันธนู หรือลูกศร ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และมักได้ประทานมาจากเทพบนฟ้าซึ่งเป็นชาวอารยันด้วยกัน

ขณะเดียวกันอาวุธของไพร่พลวานร ก็ดูจะทันสมัยกว่าฝั่งทมิฬ คือมีดาบ หอก อาวุธที่ทำจากสำริด

ขณะที่ชาวทมิฬส่วนใหญ่ใช้กระบอง อาวุธที่ด้อยกว่า รวมถึงการจะได้มาซึ่งอาวุธที่ทันสมัยของฝ่ายทมิฬ มักจะต้องไปอ้อนวอนขอฝ่ายเทพอารยัน หรือต้องไปปล้นชิงฉกฉวยมา ไม่สามารถสร้างเองได้ เป็นการด้อยค่าชาวทมิฬไม่สามารถมีอาวุธที่ทันสมัยได้เลย 

พ่ายอารยันสู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

หากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์แฝงประวัติศาสตร์การสู้ระหว่างชาวอารยันกับชาวทมิฬ ทำให้ชาวทมิฬต้องข้ามไปสู่ศรีลังกา แน่นอนว่าแผ่นดินศรีลังกาคงไม่ใช่แผ่นดินที่ว่างเปล่าต้องมีคนพื้นเมืองอยู่เดิม นั่นคือชาวสิงหล

การเหยียดชาวทมิฬ ผ่านวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ สู่ความขัดแย้งในศรีลังกา

และเมื่อชาวทมิฬก้าวเท้าเข้าสู่ศรีลังกา ซึ่งเป็นดินแดนที่มีเจ้าของอยู่แล้ว เมื่อชาวทมิฬผู้มาใหม่เป็นประชากรกลุ่มน้อยอยู่ร่วมกับชาวสิงหลประชากรส่วนใหญ่ในศรีลังกา จึงตามมาด้วยความขัดแย้ง

เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เริ่มกระบวนการสร้างชาติสมัยใหม่ ความแตกแยกระหว่างชนต่างเชื้อชาติ ต่างวัฒนธรรม ก็ยิ่งร้าวลึกยิ่งขึ้น เพราะรัฐบาลศรีลังกาซึ่งเป็นชาวสิงหลสั่งควบรวมกิจการสถานศึกษาเป็นของรัฐ และบังคับใช้หลักสูตรที่มีเนื้อหายกย่องชาวสิงหลและศาสนาพุทธเพียงฝ่ายเดียว ทำให้ชาวทมิฬรู้สึกว่าตนเองถูกกีดกันให้กลายเป็นพลเมืองชั้นสอง จนก่อเกิดเป็นขบวนการประกาศเอกราช นำโดยกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือทมิฬไทเกอร์

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาแบ่งแยกดินแดนในศรีลังกาซับซ้อนอย่างมาก ก็คือการที่รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐทมิฬนาฑู ทางภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นรัฐของชาวทมิฬ สนับสนุนการต่อสู้ของพี่น้องทมิฬในศรีลังกา ขณะที่รัฐบาลกลางอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลสิงหลของศรีลังกาก็ไม่กล้ายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก เพราะเกรงจะกระทบคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง และสร้างความแตกแยกภายในประเทศ

ท่ามกลางการต่อสู้ที่รุนแรงระหว่างรัฐบาลสิงหลและกบฏพยัคฆ์ทมิฬ มีความพยายามในการเจรจาและทำสนธิสัญญาหยุดยิงหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 นายมหินทา ราชาปักษา ประธานาธิบดีศรีลังกา ตัดสินใจใช้มาตรการเด็ดขาด ส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามกองกำลังทมิฬจนได้รับชัยชนะ และบีบบังคับให้กองกำลังพยัคฆ์ทมิฬวางอาวุธอย่างไม่มีเงื่อนไข ถือเป็นการยุติสงครามกลางเมืองอันนองเลือดในศรีลังกาที่ดำเนินมากว่า 25 ปีอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าในปัจจุบันสหประชาชาติ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนจะรายงานตรงกันว่าปฏิบัติการทางทหารครั้งนั้น เป็นการสังหารหมู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากก็ตาม

สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างชาวชนชาติ มีเรื่องราวที่เป็นมาอย่างยาวนาน ผ่านทั้งวรรณคดี เรื่องเล่า ตำนาน และมีผลต่อสถานการณ์ในยุคร่วมสมัยอีกด้วย

อ้างอิง

สุจิตต์ วงษ์เทศ / Becommon / VoiceTV /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง