svasdssvasds

ถอดบทเรียน "ไฟไหม้รถบัส" สิ่งสำคัญที่รถโดยสารต้องมี ลดความสูญเสียรุนแรง

ถอดบทเรียน "ไฟไหม้รถบัส" สิ่งสำคัญที่รถโดยสารต้องมี ลดความสูญเสียรุนแรง

รถโดยสารสองชั้นเป็นรถที่รองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก และได้รับความนิยมทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ความปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และเกิดความสูญเสียรุนแรงเกือบทุกครั้ง

SHORT CUT

  • รถโดยสารสองชั้นเป็นรถที่รองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก และได้รับความนิยมทั่วโลก 
  • ความปลอดภัย เป็นเรื่องที่ได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากรถโดยสารสองชั้นในประเทศไทยมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และเกิดความสูญเสียรุนแรงในเกือบทุกครั้ง
  • ไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 22,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 60 คนต่อวัน

รถโดยสารสองชั้นเป็นรถที่รองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก และได้รับความนิยมทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ความปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และเกิดความสูญเสียรุนแรงเกือบทุกครั้ง

จากเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียนของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เมื่อเวลาประมาณ 12.28 น. ของวันที่ 1 ต.ค.67 ณ บริเวณ ถ.พหลโยธินขาเข้าช่องทางด่วน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เบื้องต้นทราบว่ามีนักเรียนเด็กเล็กทั้งหมด 38 คน ครู 6 คน ก่อนพบว่ามีผู้เสียชีวิต 23 ราย เป็นครู 3 ราย และนักเรียน 20 ราย

รถโดยสารสองชั้นเป็นรถโดยสารที่มีความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก และได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ฝรั่งเศส สิงค์โปร จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย

สำหรับประเทศไทย ความปลอดภัยของรถโดยสาร 2 ชั้น เป็นเรื่องที่ได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากรถโดยสารสองชั้นในประเทศไทยมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และเกิดความสูญเสียรุนแรงในเกือบทุกครั้ง ประกอบกับมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ อีกทั้งการเดินทางด้วยรถโดยสารสองชั้นในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เป็นการเดินทางระยะไกลเป็นเวลานานโดยเฉพาะการเดินทางระหว่างจังหวัด

รถโดยสารประจำทางเป็นรูปแบบการเดินทางที่สำคัญ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งในปัจจุบันให้บริการโดยผู้ประกอบการทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจและผู้ประกอบการเอกชน เมื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยของการให้บริการด้วยรถโดยสารประจำทาง จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในภาพรวม พบว่า รถโดยสารประจำทางถือว่าเป็นรถโดยสารสาธารณะที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยกว่ารถสาธารณะประเภทอื่นๆ

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ได้นำข้อมูลจากบทความของ Patsornchai Tour - ภัสสรชัยทัวร์ นี้ มาสรุปโดยระบุว่า มาตรฐานความปลอดภัยของรถบัส และแนวทางการปฏิบัติตน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจากข่าวสลด น่าจะต้องถอดบทเรียน และคุมกันจริงจังมากขึ้น กับรถบัส รถเมล์ รถขนส่งสาธารณะ

3 สิ่งสำคัญ รถบัสทุกคันจำเป็นต้องมี

อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคน ควรสังเกตนั่นก็คือ ถังดับเพลิง , ประตูฉุกเฉิน และค้อนทุบกระจก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรงของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้ผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร

ประตูทางออกฉุกเฉิน

ประตูทางออกฉุกเฉิน

  • ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะจะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน
  • ถ้าเป็นประตูทางออก ที่อยู่ "ด้านท้าย" ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
  • ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง "ด้านขวากลาง" ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
  • ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ
  • ต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง
  • ต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน

 

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิง

  • รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร
  • ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ "เบาะหน้า" ใกล้คนขับ และบริเวณ "ที่นั่งด้านหลัง" หรือ "ตรงกลาง" ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบให้งานได้ง่าย
  • เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ "ฐาน" กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ
  • ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ
  • ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

 

ค้อนทุบกระจก

ค้อนทุบกระจก

  • รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา
  • ส่วนมาก ติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ
  • มีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ
  • สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม "กรีด" ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด

 

ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง

  • เลือกเดินทางกลับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็คได้กับกรมขนส่งทางบก
  • บนรถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง
  • ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ
  • หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้

 

ไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นลำดับที่ 9 ของโลก 

ประมาณการผู้เสียชีวิต 32.7 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน หรือมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 22,491 คน (เฉลี่ย 60 คนต่อวัน) สถานการณ์การบาดเจ็บและ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยในภาพรวม

มีข้อมูลผู้เสียชีวิตลดลงจากเดิมจากประมาณการครั้งที่ผ่านมาขององค์การอนามัยโลก 2,000 คน แต่ ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับหนึ่งในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน สัดส่วนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากรถยนต์มากที่สุด ร้อยละ 29 รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 28

ที่เหลือเป็นผู้ขี่จักรยานและผู้เดินเท้า ร้อยละ 26 และผู้ใช้ถนนอื่น ๆ ร้อยละ 17 ทั้งนี้สัดส่วนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทำงถนนของประเทศไทยเป็นผู้เสียชีวิตที่เกิดจำก รถจักรยานยนต์ที่สุด ร้อยละ 74.4 รถยนต์ ร้อยละ 12.3 ผู้เดินเท้า ร้อยละ 7.6 ผู้ขี่จักรยาน ร้อยละ 3.5 และผู้ใช้ถนนอื่นๆ ร้อยละ 2.3

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 22,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 60 คนต่อวัน

การเดินทางบนท้องถนนล้วนมีความเสี่ยง ความปลอดภัยทางถนนเกิดขึ้นจากระบบที่ปลอดภัย ที่จะต้องปลอดภัยทั้งตัวรถโดยสาร พนักงานขับรถ รวมไปถึงถนนที่จะต้องมีความปลอดภัยด้วย ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการกำกับดูแลการขนส่งสาธารณะ และการบังคับใช้กฎหมาย ส่วนประชาชนผู้เดินทางควรต้องรู้เท่าทัน เลือกการเดินทางที่ปลอดภัย และรู้จักการรับมือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ที่มา : thansettakij , Jessada Denduangboripant , patsornchaitour , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related