svasdssvasds

“Pedophilia” อาการใคร่เด็ก ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมทางเพศ

“Pedophilia” อาการใคร่เด็ก ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมทางเพศ

“Pedophilia” อาการใคร่เด็ก ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมทางเพศ สภาวะใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามในวันที่เยาวชนทั่วโลกกำลังเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิด

SHORT CUT

  • ในปัจจุบันที่เราเริ่มพบเห็นข่าวครูมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับนักเรียน ข่าวเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 5 ขวบถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ตัว
  • ซึ่งบุคคลที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ทางการแพทย์เรียกว่า Pedophile ผู้ที่มีความใคร่เด็ก และ Pedophilia หรือ อาการใคร่เด็ก
  • การรักษาโรค Pedophilia ต้องใช้เวลานานและต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเอง

“Pedophilia” อาการใคร่เด็ก ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมทางเพศ สภาวะใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามในวันที่เยาวชนทั่วโลกกำลังเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิด

ในปัจจุบันที่เราเริ่มพบเห็นข่าวครูมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับนักเรียน ข่าวเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 5 ขวบถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ตัว กลุ่มใน Facebook หรือ ทวิตเตอร์ (X) ที่มีการแชร์รูป คลิปวิดิโอ และวิธีการล่อลวง อนาจารเด็ก หรือแม้กระทั่งสื่อลามกเด็กในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน ภาพยนตร์ นิยาย ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนถูกทำให้เป็นเรื่องปกติภายในสังคม และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ หลายครั้งที่ผู้ก่อเหตุเองมักเป็นบุคคลใกล้ตัวของเด็ก หรือบุคคลที่เด็กไว้วางใจมากที่สุด

 

ซึ่งบุคคลที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ทางการแพทย์เรียกว่า Pedophile ผู้ที่มีความใคร่เด็ก และ Pedophilia หรือ อาการใคร่เด็ก หลายคนอาจเรียกว่า “เปโด”  คือความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่มีความต้องการทางเพศกับเด็กที่มีอายุก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ อายุไม่ถึง 13 ปี ผู้ที่มีความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยทารก อนุบาล ไปจนถึงเด็กประถม 

ทางการแพทย์กำหนดว่าเป็นผู้ใคร่เด็กจะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป และผู้นั้นต้องมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 5 ปี อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าการมีคนรักที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเข้าข่ายโรคใคร่เด็กเสมอไป เพราะคนที่มีอาการใคร่เด็กมักจะมีอารมณ์ทางเพศกับเด็กเล็ก ดังนั้นในกรณีของคู่รักที่มีอายุต่างกันมากๆ แต่บรรลุนิติภาวะแล้วทั้งคู่จึงถือเป็น “Age Gap” หรือ รักต่างวัย เพราะต่างฝ่ายต่างมีวุฒิภาวะและความสามารถในการตัดสินใจเองได้

Pedophilia คืออะไร

Pedophilia ทางการแพทย์นับว่าเป็นอาการผิดปกติทางจิตรูปแบบหนึ่งและจัดเป็นหนึ่งในพฤติกรรมทางเพศหรือการแสดงออกทางความรู้สึกที่ผิดไปจากบุคคลทั่วไป หนึ่งในอาการบกพร่องทางจิตประเภทหนึ่งในกลุ่มโรคกามวิปริตที่มักเกิดความต้องการทางเพศกับเด็ก ชอบเด็กหรือรักเด็กมากในลักษณะคลั่งไคล้เกินปกติ โดยมักเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อเห็นภาพเด็ก จนอาจล่อลวงหรือทำร้ายเด็กเพื่อตอบสนองอารมณ์ทางเพศของตนเอง อาจนำไปสู่การบังคับและใช้ความรุนแรงเพื่อให้ผู้อื่นมีกิจกรรมทางเพศกับคนเอง ซึ่งในกรณีนี้ก็คือเด็กจนนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายทางเพศ

ก่อนนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายทางเพศ ผู้กระทำอาจใช้วิธี  “Child Grooming” กระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กโดยสร้างจากความคุ้นเคยจนเด็กเกิดความเคยชินและไว้เนื้อเชื่อใจ ผ่านการให้ความสนใจหรือเป็นที่พึ่ง ให้คำปรึกษาในตอนที่เด็กรู้สึกเปราะบาง หรือเข้าหาผ่านทางพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เมื่อเด็กเกิดความไว้วางใจจนเกิดความใกล้ชิดสนิทสนม ก็นำไปสู่การชักจูงให้เด็กสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ โน้มน้าวให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ จนเด็กเกิดการหลงเชื่อและยินยอมทำตาม โดยที่เด็กไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะตัดสินใจและให้ความยินยอมได้หรือเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำอยู่

รูปแบบการกระทำทางเพศกับเด็กแบ่งได้ทั้งไม่สัมผัสร่างกาย เช่น การใช้คำพูดลวนลาม พูดจาแถะโลม เปลือยกายให้เด็กดูอวัยวะเพศ ภาพหรือคลิปลามก การสัมผัสร่างกายแต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ เช่น ให้เด็กจับอวัยวะเพศเพื่อสำเร็จความใคร่ การกอด จูบ ลูบ คลำอวัยวะเพศเด็ก ไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ เช่น ข่มขื่น กระทำชำเรา ทำร้ายร่างกาย บังคับข่มขู่ให้เด็กเก็บเป็นความลับ

พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อเด็กและสังคม เหยื่อบางรายอาจไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองคืออะไร สร้างบาดแผลทางจิตใจและร่างกายให้กับเด็กไปตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นการละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยเด็กที่มุ่งคุ้มครองให้เด็กปลอดภัยจากอันตราย สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย แม้ว่าผู้ที่มีความใคร่เด็กจะไม่ได้มีการล่วงละเมิดเด็กในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่การสนับสนุนสื่ออนาจารเกี่ยวกับเด็กไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด การ์ตูน นิยาย ก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก

ปัจจุบันงานวิจัยส่วนใหญ่บ่งชี้ว่า โรคใคร่เด็ก เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาและบำบัดอาการให้มีชีวิตตามปกติได้ โดยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) การใช้ยาต้านซึมเศร้าและยาลดฮอร์โมนเพศชาย โดยแพทย์จะประเมินผู้ป่วยก่อนว่าอาการอยู่ในระดับไหน กรณีสามารถควบคุมและยับยั้งพฤติกรรมตนเองได้ แพทย์อาจใช้หลักจิตวิทยามาบำบัดรักษาเท่านั้น โดยอาจฝึกให้ผู้ป่วยสามารถระงับอารมณ์และความต้องการทางเพศกับเด็กเล็กได้ หรือหาวิธีอื่นๆเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศอย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้กระทำเชิงชู้สาวต่อเด็กโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ แพทย์ก็จะใช้วิธีจิตบำบัดเข้าร่วมกับการใช้ยาช่วยในการรักษา

บทลงโททางกฎหมาย

ในปัจจุบันได้มีการกำหนดบทลงโทษผู้ทำผิดตามกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับเด็ก

-การกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก 1- 10 ปี หรือปรับ 20000 – 200000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

-กระทำอนาจารเด็กไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม  มีโทษจำคุก 7 – 20 ปี และปรับ 140,000 – 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

-กระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม  มีโทษจำคุก 5 – 20 ปี ปรับ 100,000 – 400,000 บาท

-ครอบครองสื่อลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็ก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-เผยแพร่สื่อลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็ก โทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การยกเว้นโทษหรือลดโทษ ในกรณีที่กระทำความผิดในขณะที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีอาการจิตบกพร่อง เป็นผู้ป่วยจิตเวช หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่ต้องรับโทษ แต่หากพิสูจน์แล้วว่ายังสามารถรับรู้ผิดชอบชั่วดีได้อยู่บ้าง อาจรับโทษน้องลง ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษและลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิต “โรคใคร่เด็ก” และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้กระทำความผิดจึงมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

แนวทางการรักษาโรค Pedophilia

 โรค Pedophilia เป็นโรคที่ซับซ้อนและยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้อย่างสมบูรณ์ แต่มีแนวทางการรักษาที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมพฤติกรรมและลดความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ โดยทั่วไปแล้วการรักษาจะประกอบด้วยหลายวิธีร่วมกัน เช่น

การบำบัดทางจิตวิทยา เป็นวิธีการรักษาหลัก โดยนักจิตวิทยาจะใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การบำบัดพฤติกรรม ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิดและความรู้สึกของตนเองที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และฝึกฝนทักษะในการควบคุมตนเอง

การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาเพื่อควบคุมอารมณ์และความต้องการทางเพศที่ผิดปกติ แต่การใช้ยาเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ

การรักษาทางฮอร์โมน ในบางกรณี อาจใช้ยาเพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจช่วยลดความต้องการทางเพศ แต่มีผลข้างเคียงที่ต้องพิจารณา

กลุ่มบำบัด การเข้าร่วมกลุ่มบำบัดกับผู้ที่มีปัญหาคล้ายกัน จะช่วยให้ผู้ป่วยได้แบ่งปันประสบการณ์และเรียนรู้วิธีการรับมือกับความรู้สึกต่างๆ ได้ดีขึ้น

การติดตามอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาและปรับเปลี่ยนแผนการรักษาหากจำเป็น

สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นคือ การรักษาโรค Pedophilia ต้องใช้เวลานานและต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยต้องมีความตั้งใจจริงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และยอมรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากการรักษาแล้ว การป้องกันก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับการปกป้องตนเองจากการถูกทำร้ายทางเพศ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

อ้างอิง

BBC / สกธ /  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related