ทั่วเอเชีย การเคารพผู้อาวุโสถือเป็นสิ่งจำเป็นในการเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง หากไม่ทำอย่าเรียกตัวเองว่าชาวพุทธ ?
แถบเอเชียแปซิฟิก คือบ้านของชาวพุทธส่วนใหญ่ของโลก เพราะตั้งแต่อดีต พระศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ให้พระสงฆ์เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ เพื่อเผยแผ่ศาสนาพุทธ ทำให้คำสอนของท่านเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตนถึงเอเชียตะวันออก จึงไม่แปลกที่ในเอเชียแปซิฟิกจะมีชาวพุทธนิกายต่างๆ กว่า 400 ร้อยล้านคน
ทั้งนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศาสนาพุทธมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะแต่ละพื้นที่ก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจศาสนาพุทธมากขึ้น Pew Research Center จึงใช้เวลาในปี 2022-2023 เพื่อสำรวจว่า ‘อะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งเป็นชาวพุทธที่แท้จริง?’
โดย Pew Research Center สรุปได้ 3 ข้อที่ชาวพุทธในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก บอกว่า หากไม่ทำ จะไม่ชาวพุทธที่แท้จริง ซึ่งชาวพุทธ 80% ของกัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม ตอบว่า ‘คุณไม่สามารถเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริงได้หากไม่เคารพผู้อาวุโส’
ชาวพุทธ 60-70 % เกือบทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิก มองว่าหากไม่เคารพเทพเจ้าหรือวิญญาณ จะไม่นับเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง ยกเว้นใน ‘ญี่ปุ่น’ และ ‘ไทย’ ที่มีชาวพุทธเห็นด้วยกับหัวข้อนี้เพียง 59 % และ 29 % ตามลำดับ
ในบางพื้นที่มีคนเห็นด้วยกับมุมมองที่ว่า ชาวพุทธจะต้องเคารพบ้านเกิดเมืองนอนของตนเพื่อให้ถือว่าเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริงตัวอย่างเช่น ในกัมพูชา ศรีลังกา และไทยที่พุทธศาสนามีสถานะพิเศษภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งชาติ ขณะที่ชาวพุทธในฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีชาวพุทธน้อยกว่าครึ่งที่เห็นด้วยกับมุมมองนี้
นอกเหนือจากนี้ Pew Research Center ยังถามด้วยว่า จะเป็นชาวพุทธได้หรือไม่ หากไม่ทำหรือไม่ทำสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ 1.ไม่สวดมนต์ 2.ไม่ไปวัด 3.ดื่มแอลกอฮอล์ และ 4.ทำบุญหรือบูชาบรรพบุรุษ
ผลที่ได้คือ ชาวพุทธโดยรวมไม่ได้มองว่าการกระทำเหล่านี้ทำให้ขาดจากการเป็นชาวพุทธ เมื่อเทียบกับ การไม่เคารพผู้อาวุโส หรือไม่เคารพเทพเจ้า ตัวอย่างเช่น มีแค่ชาวพุทธไม่ถึง 50 % ในเกือบทุกประเทศ ที่เห็นด้วยกับหัวข้อ ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วเป็นชาวพุทธไม่ได้ ทั้งๆ ที่ การงดเว้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในศีล 5 ข้อ เกี่ยวกับศีลธรรม พื้นฐาน
อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธในกัมพูชา ศรีลังกา และเวียดนาม ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับมุมมอง หากไม่สวดมนต์หรือเข้าวัด จะไม่มีวันเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
เรื่องที่ชาวเอเชียค่านิยมต้องเคารพผู้อาวุโส อาจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะวัฒนธรรมในพื้นที่แห่งนี้ อิทธิพลมาจาก ศาสนาพุทธ ขงจื๊อ และเต๋า ที่สอนให้มีความกตัญญูกตเวที และดูแลกันและกันภายในครอบครัว
ในมุมของ ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าความแก่ชราเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตมนุษย์เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก่ชรา ซึ่งท่านเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเจริญสติและตระหนักรู้เกี่ยวกับกระบวนการของความแก่ชราทั้งในตัวเราเองและผู้อื่น โดยการปลูกฝังความกตัญญูต่อผู้เฒ่าผู้แก่ และบรรพบุรุษที่ดูแลเรา ดังนั้นเมื่อพวกท่านแก่เฒ่า จึงสมควรได้รับการดูแลตอบแทนเช่นกัน
ส่วนเหตุผลที่มีชาวพุทธจำนวนมาก มองว่าการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือส่งจำเป็นนั้น เป็นเพราะศาสนาพุทธถูกหลอมรวมกับความเชื่อในพื้นที่ต่างๆ จนมีเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ามาปนด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ศาสนาพุทธ กับศาสนาพราหมณ์ผสมกันแบบลงตัวจนแทบแยกจากกันไม่ได้ จึงทำให้มีวัฒนธรรมบูชาร่างทรง ผู้วิเศษมากมาย ทั้งๆ ที่ ศาสนาพุทธดั้งเดิมไม่ได้สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าเลย
ทว่าค่านิยมเรื่องดูแลผู้สูงอายุเสื่อมสลายไปในอนาคต เพราะการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นภาระทางการเงินที่หนักสำหรับหลายครอบครัว โดยเฉพาะเวลานี้ที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถตั้งตัวได้เร็วเหมือนคนรุ่นก่อน
แต่ในทางกลับกัน ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาจอยู่คู่ในสังคมต่อไป เพราะผู้คนยังต้องการที่พึงทางใจในยุคที่คุณภาพชีวิตของผู้คนยังเปราะบาง นี่คืออิทธิพลของศาสนา ที่ทำให้สังคมเอเชียแตกต่างจากสังคมในตะวันตกอย่างมาก
ที่มา : Pew Research Center
ข่าวที่เกี่ยวข้อง