SHORT CUT
โกลบอล (Goalball) กีฬายอดนิยมสำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นเกมที่ต้องใช้ทักษะของร่างกายและความรวดเร็วอย่างยิ่ง !
กีฬาประจำพาราลิมปิกที่มีความสนุกครบรส ไม่ต่างอะไรกับกีฬายอดฮิตอย่างฟุตบอลเลย
โกลบอล (Goalball) ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี 1946 โดยสองทหารผ่านศึกชาวเยอรมันคือ ‘ฮานส์ ลอเรนเซ่น (Hanz Lorenzen)’ และ ‘เซปป์ ไรน์เดิล (Sepp Reindl)’ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของทหารผ่านศึกที่สูญเสียการมองเห็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายในระยะเวลา 20 ปีหลังจากนั้น ความนิยมของกีฬาชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นกีฬาของพาราลิมปิกสำหรับนักกีฬาชายในปี 1976 ที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา รวมถึงมีการแข่งขันโกลบอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่โวคลามาร์ก ประเทศออสเตรีย ในปี 1978 และได้มีการอนุญาตให้นักกีฬาหญิงเข้าร่วมการแข่งขันได้ครั้งแรกในพาราลิมปิกปี 1984 ที่ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และอนุญาตให้นักกีฬาหญิงร่วมแข่งขันด้วยพาราลิมปิกปี 1984 ที่ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ อเมริกา ทำให้กีฬาชนิดนี้เป็นไฮไลท์ของพาราลิมปิกมาเสมอ
ปัจจุบันโกลบอลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สหพันธ์กีฬาคนตาบอดนานาชาติ (IBSA) มีการจัดชิงแชมป์โลกทุกๆ 4 ปี
เป็นแข่งขันระหว่าง 2 ทีม ในสนามทีมละ 3 คน และแต่ละทีมมีผู้เล่นสำรองได้สูงสุดอีก 3 คน สามารถเปลี่ยนตัวได้ 3 ครั้งตอนไหนก็ได้ ในสนามมีเส้นกลางแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน โดยเล่นอยู่ในพื้นที่สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 18 เมตร และกว้าง 9 เมตร ประตูกว้าง 9 เมตร และสูง 1.30 เมตร อยู่ท้ายสนามทั้ง 2 ฝั่ง
นักกีฬาจากทั้ง 2 ทีมทุกคนจะต้องใช้อุปกรณ์ปิดตา เป้าหมายของการเล่นคือ แต่ละทีมต้องโยนบอลให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม และอีกฝ่ายหนึ่งก็จะต้องคาดการณ์ และต้องพยายามป้องกันประตูของตนเองไม่ให้บอลเข้าประตู สลับกันรุกและรับภายในสองครึ่งเวลา แบ่งเป็นครึ่งเวลาละ 10 นาที และพัก 5 นาที หรือแล้วแต่รายการ ผู้เล่นสามารถโยนลูกบอลติดต่อกันได้ 2 ครั้ง เท่านั้นและการโยนลูกบอลเข้าประตูฝ่ายตนเองโดยมิได้ตั้งใจหรืออุบัติเหตุจะไม่ถือว่าได้ประตูจากการโยน นอกจากนั้น และการส่งเสียงรบกวนฝ่ายตรงข้ามระหว่างเล่น ขณะโยนลูกบอลจะต้องถูกลงโทษ เพราะผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายมองไม่เห็นจึงต้องใช้สมาธิคาดการณ์ทิศทางลูกบอลสูงมาก
หากสกอร์เสมอกันหลังจบการแข่งขันปกติ จะมีการต่อเวลาพิเศษ 2 ครึ่ง ครึ่งละ 3 นาที และดำเนินไปตามกฎ "โกลเดนโกล" ซึ่งผู้ที่ทำสกอร์ได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะแมตช์นั้น หากไม่มีผู้ชนะหลังจากช่วงต่อเวลาพิเศษ ก็จะมีการดวลจุดโทษ เช่นเดียวกับในฟุตบอล
ที่น่าทึ่งคือลูกโกลบอลมีน้ำหนัก 1.25 กิโลกรัม และมีขนาดใกล้เคียงกับลูกบาสเกตบอล ส่วนลูกฟุตบอลโดยทั่วไปมีน้ำหนักแต่ 450 กรัมเท่านั้น
เนื่องจากผู้เล่นทุกคนต้องสวมที่ปิดตาแบบทึบแสงแบบมองไม่เห็นอะไร กีฬาชนิดนี้ขึงเปิดกว้างให้ผู้ที่มีระดับการมองเห็นที่แตกต่างกันเข้าร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็น ระดับ B1 B2 และ B3
อ้างอิงจากเว็บไซต์ ‘IBSA Goalball’ 10 อันดับแรกของโลกมีดังนี้
ที่มา : CNN, IBSA Goalball
ข่าวที่เกี่ยวข้อง