svasdssvasds

นักการเมืองจะจับมือกัน เมื่อสงครามสิ้นสุด ประโยคอมตะของ ‘มะห์มุด ดาร์วิช'

นักการเมืองจะจับมือกัน เมื่อสงครามสิ้นสุด ประโยคอมตะของ ‘มะห์มุด ดาร์วิช'

สงครามจะสิ้นสุดลง และผู้นำจะจับมือกัน ประโยคจากกวีชาวปาเลสไตน์ ผู้เป็นตัวแทนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ต่อความอยุติธรรมทั้งหลายผ่านผลงานเขียน

SHORT CUT

  • สงครามจะสิ้นสุดลง ผู้นำจะจับมือกัน ประโยคอมตะของนักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ ที่ใช้ได้ทุกยุคสมัย  
  • ดาร์วิชก็ลาออกจากคณะกรรมการบริหารของ PLO  เพราะผิดหวังที่ PLO หันไปจับมือกับทางอิสราเอล ในข้อตกลงออสโล (Oslo Accords)
  • ในช่วงที่ความขัดแย้งในฉนวนกาซ่ากลับมารุนแรงอีกครั้งตั้งแต่ปลายปี 2023 ลากยาวมาถึงปลายปี 2024 และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง บทกวีอมตะของเขาก็กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในโลกออนไลน์

สงครามจะสิ้นสุดลง และผู้นำจะจับมือกัน ประโยคจากกวีชาวปาเลสไตน์ ผู้เป็นตัวแทนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ต่อความอยุติธรรมทั้งหลายผ่านผลงานเขียน

“สงครามจะสิ้นสุดลง และผู้นำจะจับมือกัน และหญิงชราคนนั้นจะยังคงรอลูกชายที่เสียชีวิตของเธอ หญิงสาวจะรอสามีที่รักของเธอ และลูก ๆ จะรอพ่อที่กล้าหาญของพวกเขา ฉันไม่รู้ว่าใครขายชาติ แต่ฉันรู้ว่าใครเป็นผู้ที่ต้องจ่าย”

บทกวีข้างต้นเป็นของ  ‘มะห์มุด ดาร์วิช (Mahmoud Darwish)’ กวีชาวปาเลสไตน์ ผู้เป็นตัวแทนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ต่อความอยุติธรรมทั้งหลายผ่านผลงานเขียน   

ประวัตินักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ 

ดาร์วิชเกิดเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 1941  ในหมู่บ้าน ‘อัลบีร์เวห์ (Al-Birwa)’ ของปาเลสไตน์ แต่ในปี 1948 หมู่บ้านแห่งนี้ถูกกองทัพอิสราเอลทำลายล้าง ทำให้เขาและครอบครอบครัวต้องอพยพไปอยู่ที่ค่ายลีภัยทางตอนเหนือของเลบานอนเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะกลับมาบ้านเกิดเพื่อพบว่า ชาวยิวได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนซากซากปรักหักพังเรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้น ดาร์วิชใช้ชีวิตในเมืองไฮฟาทางตอนเหนือของอิสราเอลเป็นเวลา 10 ปีและเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่นั่น แต่เขากลับถูกห้ามออกจากเมืองไฮฟาเป็นเวลา 10 ปี แถมยังถูกจำคุกหลายครั้ง เนื่องจากเขามักเผยแพร่คำพูดและ บทกวี นอกจากนี้ยังทำกิจกรรมทางการเมืองที่ต่อต้านอิสราเอลอย่างโจ่งแจ้ง

ในปี  1960 ขณะดาร์วิชอายุ 19 ปี เขาได้ตีพิมพ์ผลงานรวมบทกวีเล่มแรกที่มีชื่อว่า Asafir bila ajniha (แปลว่า ‘นกไร้ปีก’) ที่บ่งบอกถึงความรู้สึกไร้อำนาจและถูกกดขี่ของชาวปาเลสไตน์ในช่วงเวลานั้น ต่อมาในปี 1970 เขาได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านเกิด เขาไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมอสโก เป็นเวลาหนึ่งปี จากนั้นกลับไปยังเลบานอนเพื่อเข้าองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า

ทว่าในปี 1993  ดาร์วิชก็ลาออกจากคณะกรรมการบริหารของ PLO  เพราะผิดหวังที่ PLO หันไปจับมือกับทางอิสราเอล ในข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) ที่มีจุดประสงค์เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างชาวปาเลสไตน์ และชาวยิว แต่จะให้ชาวปาเลสไตน์  มีอำนาจปกครองตนเองอย่างจำกัดในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งดาร์วิชและนักเคลื่อนไหวชาวปาเลสไตน์อีกหลายคนมองว่า มันคือการกดขี่

ดาร์วิชยังคงเขียนหนังสือ และเผยแพร่วารสารที่บอกเล่าความเจ็บปวดของชาวปาเลสไตน์ต่อไป ผลงานบทกวีเขามีมากมาย จนได้รับการยกย่องให้เป็นกวีแห่งปาเลสไตน์ ซึ่งชาวปาเลสไตน์ในเขตการปกครองเวสต์แบงก์ถึงขั้นพูดว่า  “มะห์

มูด ดาร์วิชมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาวปาเลสไตน์พอๆ กับที่ต้นมะกอกมีความสำคัญต่อชีวิตเกษตรกรรมของชาวปาเลสไตน์” 

Mahmoud Darwish Av Amer Shomali/𝒲. Lisens: CC BY SA 3.0

วันที่ 9 ส.ค. 2008 ดาร์วิชเสียชีวิตด้วยวัย 67 ปี หลังจากผ่าตัดหัวใจในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และถูกนำกลับมาฝังที่รามัลลาห์เมืองหลวงโดยพฤตินัยของรัฐปาเลสไตน์ มีชาวปาเลสไตน์หลายพันคนเข้าร่วมพิธีศพของเขา และทั่วปาเลสไตน์ ร่วมกันไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันเพื่อเป็นเกียรติแก่กวีผู้ยิ่งใหญ่

ในช่วงที่ความขัดแย้งในฉนวนกาซ่ากลับมารุนแรงอีกครั้งตั้งแต่ปลายปี 2023 ลากยาวมาถึงปลายปี 2024  และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง บทกวีอมตะของเขาก็กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในโลกออนไลน์จากแฮชแท็ก #mahmouddarwishpoetry

ที่มา : aljazeera

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related