svasdssvasds

ซุนหงอคง VS หนุมาน เทพลิงทั้งสอง มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?

ซุนหงอคง VS หนุมาน เทพลิงทั้งสอง มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?

ลิงพุทธ VS ลิงฮินดู 'ซุนหงอคง' แห่งไซอิ๋ว ได้แรงบันดาลใจมาจาก 'หนุมาน' แห่งรามายณะ หรือไม่ ? ทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

SHORT CUT

  • นอกจากทั้ง 2 ตัวจะเป็นลิงเหมือนกันแล้ว ยังมีพลังอำนาจมากมาย และต่างก็เป็นตัวเอกอยู่ในเรื่องราวของตัวเอง จึงอาจมีความเป็นไปได้สูง ที่รามายณะและไซอิ๋วจะมีความเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง?
  • นิทานและวรรณกรรมของอินเดียเริ่มเผยแพร่ไปสู่จีนช่วงที่พุทธศาสนาเริ่มเผยแพร่ไปทางตะวันออก จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีตำราและเรื่องเล่าเก่าแก่มากมายที่รวมถึงรามายณะ เดินทางไปยังจีนช่วงเวลานั้นด้วย
  • หนุมานเป็นแรงบันดาลใจให้ซุนหงอคงหรือไม่  ยังคงเป็นที่ถกเถียง แต่ไม่ว่าอย่างไร ซุนหงอคงก็มีภาพจำว่าเป็นเทพในวรรณกรรมจีนอย่างสมบูรณ์แล้ว

ลิงพุทธ VS ลิงฮินดู 'ซุนหงอคง' แห่งไซอิ๋ว ได้แรงบันดาลใจมาจาก 'หนุมาน' แห่งรามายณะ หรือไม่ ? ทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

หากพูดถึง ‘ลิง’ ที่มีพลังดั่งเทพ แน่นอนว่าที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักบนโลกนี้ มีอยู่ 2 ตัว คือ หนุมาน จาก ‘รามายณะ’ และ ‘ซุนหงอคง’ จากไซอิ๋ว

แต่ลิงเทพ 2 ตัวนี้ นี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ เป็นสิ่งที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้สนใจในวรรณคดี ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน

ต้นกำเนิด ‘หนุมาน’ และ ‘ซุงหงอคง’

'หนุมาน' เป็นตัวละครที่ปรากฏใน ‘รามายณะ’ ที่เชื่อกันว่าเป็นนิทานพื้นบ้านที่เล่าต่อๆ กันมาหลายยุค จนกระทั่งมหากวี "ฤาษีวาลมีกิ" ชาวฮินดู รวบรวมให้เป็นมหากาพย์ ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล จนปัจจุบันเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดียที่มีชื่อเสียง มีเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่าง ‘พระราม’ กับ ‘ทศกัณฐ์’ ที่เปรียบเหมือนฝ่ายธรรมะกับอธรรม และมีพญาวานร ‘หนุมาน’ เป็นทหารเอกของพระราม

หนุมาน

รามายณะ ถูกดัดแปลงไปเล่าใหม่หลายรูปแบบในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เรารู้จักกันในชื่อ รามเกียรติ์

‘Black Myth Wukong’

ส่วน ‘ซุงหงอคง’ ปรากฏในไซอิ๋ว หรือ Journey to the West ประพันธ์โดย ‘อู๋เฉิงเอิน’ ในช่วงทศวรรษที่ 1590 ตรงกับช่วงราชวงศ์หมิง โดยเป็นวรรณกรรมคลาสสิกของจีนที่ดังไม่แพ้ ‘สามก๊ก’

ไซอิ๋ว เล่าถึง การเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) ของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยมีสัตว์ 3 ตัว ได้แก่ เห้งเจีย หรือซุนหงอคง (ปีศาจลิง) ตือโป๊ยก่าย (ปีศาจหมู) และซัวเจ๋ง (ปีศาจปลา) ร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อคอยช่วยจัดการกับเหล่าปีศาจที่คอยขัดขวางการทำภารกิจของพระถังซัมจั๋ง จึงถือเป็นวรรณกรรมที่ผสมผสมผสานเรื่องจริงและเรื่องแต่งเข้าด้วยกัน และมีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมของจีนในยุคหลังจากนั้นมาก

จะเห็นได้ว่า หนุมาน มีมานานก่อนซุนหงอคง แต่เรื่องวันที่นั้น เป็นแค่การประมาณคร่าวๆ  แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า นอกจากทั้ง 2 ตัวจะเป็นลิงเหมือนกันแล้ว ยังมีพลังอำนาจมากมาย และต่างก็เป็นตัวเอกอยู่ในเรื่องราวของตัวเอง จึงอาจมีความเป็นไปได้สูง ที่รามายณะและไซอิ๋วจะมีความเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง?

‘หนุมาน’ และ ‘ซุงหงอคง’ เกี่ยวข้องกันหรือไม่?

เพื่อหาความเกี่ยวข้องของลิง 2 ตัวนี้ ‘บีอาร์ ดีพัค (BR Deepak)’ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru ประเทศอินเดีย คิดว่ามีความเชื่อมโยงกันอยู่เล็ก ๆ เพราะในอินเดีย พญาวานรหนุมานมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาและจิตวิญญาณของชาวฮินดู ส่วน ‘ซุนหงอคง’ ก็คือลิง และเป็นสัตว์ลำดับที่ 9 จาก 12 นักษัตรของจีน ทำให้ลิงจากทั้ง 2 ประเทศเป็นสัตว์มงคล และปัจจุบันก็ยังเป็นเทพวานรที่มีคนนับถือในโลกความจริงเหมือนกันทั้งคู่

นอกจากนี้ หนุมานยังเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ ความภักดี และการเสียสละ ซึ่งล้วนเป็นแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตให้กับชาวอินเดีย ค่านิยมนี้คล้ายคลึงกับลักษณะนิสัยของขงจื๊อ และหลักปฏิบัติของอารยธรรมจีนโดยรวมอีกด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ชาวจีนอาจรับวัฒนธรรมเหล่านี้มาจากต่างชาติด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น เขาอ้างว่าหากดูในประวัติศาสตร์ นิทานและวรรณกรรมของอินเดียเริ่มเผยแพร่ไปสู่จีนช่วงที่พุทธศาสนาเริ่มเผยแพร่ไปทางตะวันออก ยกตัวอย่างเช่น นิทานเรื่อง สุวรรณสามชาดก ที่เล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีตำราและเรื่องเล่าเก่าแก่มากมายที่รวมถึงรามายณะ เดินทางไปยังจีนช่วงเวลานั้นด้วย

นอกจากนั้น บันทึกการเดินทางของ ‘พระถังซัมจั๋ง’ ไปยังอินเดีย ซึ่งในภาษาอังกฤษคือหนังสือ The Great Tang Records of the Western Regions ยังกล่าวถึงรามายณะในนครปุรุษปุระ (ปัจจุบันคือเมืองเปชาวาร์) และปุษกะลาวาตี (ปัจจุบันคือเมืองชาร์สัดในปากีสถาน) อีกด้วย

ซุนหงอคง VS หนุมาน เทพลิงทั้งสอง มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?

อย่างไรก็ตามเรื่องที่ว่า หนุมานเป็นแรงบันดาลใจให้ซุนหงอคงหรือไม่ ยังคงเป็นที่ถกเถียง ซึ่งมี 3 ทฤษฎีหลักๆ ได้แก่ ทฤษฎีที่หนึ่ง ซุนหงอคง เกิดจากนิทานท้องถิ่นของจีน ส่วนทฤษฎีที่สอง ซุนหงอคงถูกจีนน้ำเข้ามาจากอินเดีย และทฤษฎีที่สาม ซุนหงอคง เป็นลูกผสมระหว่างจีนและอินเดีย

แต่ไม่ว่าอย่างไร ซุนหงอคงก็มีภาพจำว่าเป็นเทพในวรรณกรรมจีนอย่างสมบูรณ์แล้ว และปัจจุบันราชาวานรผู้นี้ก็เป็นที่สนใจมากขึ้น จากกระแสเปิดตัวตัวเกม ‘Black Myth Wukong’ ที่ทำสถิติยอดขาย 10 ล้านชุดตั้งแต่ 3 วันแรก

ที่มา :  Down To EarthFormFluent

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related