เริ่มแล้ว! "30 บาทรักษาทุกที่" ใน กรุงเทพมหานคร สิทธิบัตรทอง ใช้บริการได้แล้ววันนี้ เข้าถึงบริการ ร้านยา และคลินิกเอกชน จาก 7 วิชาชีพ
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร ประชาชน สิทธิบัตรทอง สามารถเข้าถึงบริการจากร้านยา และคลินิกเอกชนจาก 7 วิชาชีพ ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมได้ นอกเหนือจากการไปรับบริการจากหน่วยบริการตามสิทธิ ประกอบด้วย
โดยสามารถเข้ารับบริการสุขภาพปฐมภูมิ ขอให้สังเกตตราสัญลักษณ์ "30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร" ซึ่งจะได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ได้โดยสะดวก ลดเวลารอคิว รวมถึงยังไปรับบริการนอกเวลาราชการตามเวลาของร้านยาคุณภาพและคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมได้ด้วย
4 สภาวิชาชีพ ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบำบัด และสภาเทคนิคการแพทย์ เผยนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ประชาชนใน กทม. สิทธิบัตรทอง เข้ารับบริการได้แล้ว สังเกตตราสัญลักษณ์ "30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร" พร้อมให้การดูแลปฐมภูมิ ตามชุดสิทธิประโยชน์บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ด้าน ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช อุปนายกสภาเภสัชกรรม คนที่ 2 เปิดเผยว่า ร้านยาคุณภาพที่เข้าร่วมเป็น "หน่วยบริการนวัตกรรม" ตามนโยบาย "30 บาทรักษาทุกที่" ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีประมาณ 1,000 แห่ง จากร้านยาในพื้นที่ซึ่งมีกว่า 3,000 แห่ง
โดยสภาเภสัชกรรมจะชวนให้ร้านยาเข้าร่วมให้บริการมากขึ้น ตั้งเป้าอย่างน้อยจำนวน 2,000 แห่งภายในในปีนี้ เพื่อรองรับการผู้มี สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) เข้ารับบริการเพิ่มขึ้น
ส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลร้านยาที่ร่วมให้บริการ ได้ใช้ระบบ A-MED Care (เอเมด แคร์) ที่เชื่อมกับระบบ Health Link เพื่อดูประวัติของผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลรัฐในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น ต้องได้รับความยินยอมการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ป่วยทุกครั้งที่มารับบริการ ในรูปแบบรหัส OTP ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ป่วยเอง
โดยขณะนี้ร้านยาที่เข้าร่วมได้ซักซ้อมการให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะให้บริการปฐมภูมิโดยร้านยาคุณภาพตามนโยบายนี้โดยไม่มีปัญหา ขอให้เข้ารับบริการโดยสังเกตตราสัญลักษณ์ 30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร ที่ติดอยู่หน้าร้าน
ศ.ดร.กภ.ประวิตร เจนวรรธนะกุล นายกสภากายภาพบำบัด ระบุว่า คลินิกกายภาพบำบัดที่เข้าร่วมต่างมีความพร้อมที่ให้บริการนโยบายนี้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว โดยล่าสุดมีคลินิกกายภาพบำบัดที่ร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประมาณ 250 แห่ง และกำลังทยอยเพิ่มเติม
ทั้งนี้ เชื่อได้ว่าจากการให้บริการของคลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่นตามนโยบาย จะช่วยให้ผู้ป่วย สิทธิบัตรทอง ทั้ง 4 กลุ่มโรค ได้แก่
ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะกลาง หรือผู้ป่วย IMC ให้เข้าถึงการบำบัดฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัดในคลินิกกายภาพบำบัดที่อยู่ใกล้บ้านได้ ช่วยลดการเดินทางไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล และไม่ต้องรอคิวการรักษา เนื่องจากนัดหมายรับบริการกับคลินิกกายภาพบำบัดได้เลย
ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ เปิดเผยว่า ในส่วนของคลินิกเทคนิคการแพทย์ ขณะนี้ได้เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้วประมาณ 35 แห่ง และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบางส่วนที่ยังรอการประเมินจากสภาเทคนิคการแพทย์ในการรับรองว่าเป็นห้องแล็บที่มีคุณภาพ มาตรฐานพร้อมบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. อย่างไรก็ดี จากการร่วมนโยบายให้บริการ ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด อยากให้ภาครัฐส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าไปรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหน่วยบริการนวัตกรรมที่เข้าร่วมนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ให้มากขึ้น เพราะถือเป็นหน่วยปฐมภูมิที่ดูแลสุขภาพในชุมชน
ขณะที่ ผศ.ดร.ทพ.สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ในส่วนคลินิกทันตกรรมจากเอกชนที่เข้าร่วมให้บริการ "30 บาทรักษาทุกที่ กรุงเทพมหานคร" ขณะนี้มีจำนวนหลักสิบแห่งที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ซึ่งทุกแห่งก็มีความพร้อมที่จะให้บริการ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการเข้าร่วมให้บริการของคลินิกทันตกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังมีไม่มาก เพราะด้วยต้นทุนการให้บริการที่สูง โดยเฉพาะค่าเช่าสถานที่ให้บริการ จึงทำให้การตัดสินใจเข้าร่วมไม่คึกคักเหมือนกับต่างจังหวัด
อย่างไรก็ดี ในส่วนของคลินิกทันตกรรมฯ ที่ร่วมให้บริการ ขณะนี้ได้มีการเชื่อมข้อมูลและระบบเดนท์คลาวด์ (DentCloud) ของแต่ละแห่งแล้ว เป็นระบบที่ สปสช. ใช้ดูข้อมูลเพื่อจ่ายชดเชยค่าบริการ ซึ่งวันนี้ทุกแห่งได้ทำการทดลองระบบและพร้อมให้บริการแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง