SHORT CUT
โดนระเบิดแต่เกิดใหม่ “เจ้าหนูปรมาณู” การ์ตูนสร้างชาติ บอกอนาคตที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิได้ร้างความเจ็บปวดอย่ายิ่งให้กับญี่ปุ่น ไม่ใช่เพียงแต่เขาแพ้สงครามบ้านเมืองของพวกเขาพังพินาศ ถูกเหยียดหยามและมีแต่สายตาที่มองอย่างดูถูกว่ายากต่อการฟื้นฟู
แต่กระนั้นญี่ปุ่นได้สร้างการ์ตูนแห่งความหวังมาใหม่นั่นคือ “เจ้าหนูปรมาณู” หรือ “Astro boy” นั่นเอง
หลายคนอาจมองว่าการ์ตูนไม่ได้บอกความเป็นชาติแต่อย่างใด และละเลยคุณค่าในเนื้อหาของการ์ตูนลงไป แต่ความจริงแล้วนั้น เจ้าหนูปรมาณู คือความหวัง และการมองอนาคตของญี่ปุ่นหลังสงครามเลยทีเดียว
SPRiNG พาไปถอดรหัส “เจ้าหนูปรมาณู” การ์ตูนแห่งความหวังและความฝันของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ญี่ปุ่นรู้จักระเบิดปรมาณูและต่อยอดเทคโนโลยีนี้ไปสู่อนาคตฉบับญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 มานานและอยู่ฝ่ายอักษะทำสงครามกับชาติพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่การที่ถล่มฐานทัพเรือที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา และดูเหมือนว่าสถานการณ์ของฝ่ายอักษะในฝั่งยุโรปกำลังพ่ายแพ้สงคราม
แต่ในเอเชียถึงแม้ญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงขาลงและถูกชาติพันธมิตรสวนกลับ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ต่อสงครามที่ตนเองกระโจนเข้าสู่สนาม
สหรัฐอเมริกานำโดยประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน จึงตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูลงสู่ญี่ปุ่น และทำให้โลกได้รู้จักความร้ายกาจของเจ้าระเบิดนี้เป็นครั้งแรก
โดย การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์หรือระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (ปีโชวะที่ 20) ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นางาซากิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี ค.ศ. 1945 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถใช้พัฒนาประเทศได้ ฉะนั้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ตำนานนี้กำลังจะมา
เจ้าหนูปรมาณู หรือเจ้าหนูอะตอม เป็นการ์ตูนมังงะญี่ปุ่นถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1951 จากอาจารย์ผู้บุกเบิกวงการมังงะของญี่ปุ่น ‘เทซูกะ โอซามุ’ ผลงานของอาจารย์สร้างอิทธิพลในการกำหนดแนวคิดให้กับเด็กๆ ชาวญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องพบเจอกับการสูญเสีย พร้อมปลุกความฝันและแนวคิดและพลิกโฉมหน้าวรรณกรรมและหนังภาพยนตร์ทั่วโลก ผสมผสานแนวใหม่ๆ เกิดมิติการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนกลายมาเป็น ‘การ์ตูนแบบเรื่อง’
โดยในมังงะก่อนได้นำมาแปลงเป็นแอนิเมชันเรื่องภายใต้ชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 1963 เสนอเป็นตอนแรก เป็นช่วงเวลาหลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองไปไม่ถึง 7 ปี สามารถพลิกฟื้นอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลายเป็นการ์ตูนสุดฮิตทั่วโลกเป็นเรื่องแรกของประเทศ ถือว่าเป็นแอนิเมชันญี่ปุ่นสร้างชาติ ทำให้ทั่วโลกตกตะลึงกับญี่ปุ่นในเรื่องนี้ก็ว่าได้
ในเนื้อหาที่สอดแทรกในการ์ตูนจะพบสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่ง ณ เวลานั้นยังไม่มี แต่ประเทศญี่ปุ่นใฝ่ถึงการสร้างให้เกิดขึ้นจริงเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่คล้ายมหานครในการ์ตูนที่ญี่ปุ่นใฝ่ฝันจะฟื้นฟูหลังสงคราม มีทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน
ซึ่งในเวลาต่อมาญี่ปุ่นสามารถทำได้จริงและเผยโฉมให้ทั่วโลกเห็น เพราะในปี ค.ศ. 1963 เพียงแค่ 18 ปี ญี่ปุ่นสามารถสร้างตัวเองจากเถ้าถ่านหลังสงคราม โตเกียวกลายเป็นมหานครที่มีตึกระฟ้า รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินเหมือนในการ์ตูนเจ้าหนูปรมาณูสะท้อนถึงความฝันของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นจริงได้
ในที่สุดในปี ค.ศ. 1964 หรืออีก 1 ปีต่อมา ญี่ปุ่นได้เผยโฉมให้ทั่วโลกได้เห็นและได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นอีกครั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก ได้โชว์ให้ทั่วโลกเห็นถึงมหานครอันทันสมัยของพวกเขาในยุคนั้น เมื่อชาวต่างชาติได้มาเยือนได้มาสัมผัสพวกเขาถึงกับตกตะลึงว่าญี่ปุ่นใช้เวลาแค่ 18 ปี แต่สามารถกลับมาพลิกฟื้นได้อีกครั้งอย่างน่าอัศจรรย์
และเจ้าหนูปรมาณูยังกลายเป็นการ์ตูนที่รู้จักไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่หลายๆ คนรู้จักการ์ตูนเรื่องนี้ดี
นี่คือพลังของญี่ปุ่นหลังพ่ายแพ้สงครามพวกเขาไม่ได้ยอมแพ้ ไม่เคยย่อท้อ แต่มีความหวังตลอดเวลาและมีเครื่องมือส่งต่อความฝันให้คนรุ่นลูกรุ่นหลายด้วยการสร้างการ์ตูนที่มองไปถึงวันข้างหน้า ฉายภาพว่าญี่ปุ่นจะกลับมายิ่งใหญ่อย่างไร
คำตอบคือเพียงแค่ 18 ปีเขากลับมายิ่งใหญ่ได้ภายใต้เจ้าหนูปรมาณูที่ทำให้ญี่ปุ่นได้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นตำนานที่เล่าขานญี่ปุ่นอย่างไม่รู้จัก และทุกคนต่างรู้จักไปทั่วโลก
อ้างอิง
Hommesthailand / CBR / Matt Alt ญี่ปุ่นป็อป Pure Invention /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง