svasdssvasds

วิธีตรวจเพศโอลิมปิกเกมส์ จัดกี่ครั้งก็มีดราม่า เรื่องความไม่เท่าเทียม

วิธีตรวจเพศโอลิมปิกเกมส์ จัดกี่ครั้งก็มีดราม่า เรื่องความไม่เท่าเทียม

ตั้งคำถามวิธีตรวจเพศโอลิมปิกเกมส์ จากกรณีนักมวยหญิงแอลจีเรีย ที่ไล่อัด ‘แองเจลา คารินี (Angela Carini)’ นักมวยหญิงจากอิตาลีจนน่วม

SHORT CUT

  • มีการทดสอบทางเพศในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์เกิดขึ้นช่วงปี 1940 โดยตอนนั้นคณะกรรมการจะคัดกรองด้วยตาเท่านั้น 
  • ทางคณะกรรมการ IOC ยกเลิกการทดสอบเพศภาคบังคับอย่างเป็นทางการในปี 1999 และ  ได้ปล่อยให้เรื่องการรับรองเพศของนักกีฬา ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่กำกับดูแลกีฬาแต่ละประเภท
  • ทุกเพศสภาพสามารถลงแข่งได้ เพราะโอลิมปิกเกมส์คือการแข่งขันที่เน้นความเท่าเทียมมาตลอด แต่อาจมีบางกรณี ที่ IOC และ สมาคมกีฬานานาชาติต่างๆ ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษว่า

ตั้งคำถามวิธีตรวจเพศโอลิมปิกเกมส์ จากกรณีนักมวยหญิงแอลจีเรีย ที่ไล่อัด ‘แองเจลา คารินี (Angela Carini)’ นักมวยหญิงจากอิตาลีจนน่วม

นับว่าเป็นประเด็นร้อน กรณีคู่ชกมวยระหว่าง ‘อิมาน เคลิฟ (Imane Khelif) ’ นักมวยหญิงแอลจีเรีย ที่ไล่อัด ‘แองเจลา คารินี (Angela Carini)’ นักมวยหญิงจากอิตาลีจนน่วม และรู้ผลแพ้ชนะตั้งแต่ 46 วินาที ซึ่งเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักคือ อิมาน เคลิฟ เป็นนักมวยหญิงที่ถูกดิสควอลิฟายด์ก่อนแข่งรอบชิงในศึกชิงแชมป์โลกจาก สหพันธ์มวยสากลนานาชาติ (IBA) เพราะไม่ผ่านการตรวจเพศ แต่ทำไม อิมาน เคลิฟ ถึงเข้าร่วมมวยสากลของโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้

ประเด็นนี้ทำให้เรื่องการตรวจเพศ ตรวจฮอร์โมนนักกีฬาในรายการแข่งขันระดับสากลกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ทีม SPRiNG จึงขอพาไปดูวิธีการตรวจความเหมาะสมของเพศในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์กันสักนิด ว่าที่ผ่านมา คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เขาบริหารจัดการกันอย่างไร?

วิธีการตรวจเพศในโอลิมปิกเกมส์ PHOTO AFP

วิธีการตรวจเพศในโอลิมปิกเกมส์

คาดการณ์กันว่า มีการทดสอบทางเพศในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์เกิดขึ้นช่วงปี 1940 โดยตอนนั้นจะใช้แค่สายตาของคณะกรรมการในการคัดกรองนักกีฬา จนเมื่อเวลาผ่านไป จึงมีการใช้เครื่องมือตรวจร่างกาย การทดสอบโครโมโซม และการทดสอบระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ และตามปกติจะเน้นตรวจเพศในหมู่นักกีฬาหญิงเพื่อป้องกันนักกีฬาชายที่แอบอ้างเข้ามาเป็นหญิง

อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ถูกฝั่งที่ไม่เห็นด้วยโจมตีว่า เป็นการเลือกปฏิบัติและกีดกันนักกีฬาข้ามเพศออกไป และในที่สุดทางคณะกรรมการ IOC ก็ยกเลิกการทดสอบเพศภาคบังคับอย่างเป็นทางการในปี 1999 และ IOC ได้ปล่อยให้เรื่องการรับรองเพศของนักกีฬา ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่กำกับดูแลกีฬาแต่ละประเภท

วิธีการตรวจเพศในโอลิมปิกเกมส์ PHOTO AFP

กล่าวคือ ถ้าเป็นนักกีฬายิงธนู ก็ต้องมีการรับรองเพศจาก ‘สหพันธ์ยิงธนูโลก (WA) ’ หรือ ถ้าเป็นนักกีฬาบาส ต้องมีการรับรองเพศจาก ‘สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ’ เป็นต้น และสหพันธ์เหล่านี้ต้องได้รับการรับรองจาก IOC ด้ว

การดำเนินการนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะนอกจาก IOC จะยุติการบังทดสอบเพศด้วยตัวเองแล้ว IOC ก็ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติกับนักกีฬา ที่ได้การรับรองเพศจากสหพันธ์กีฬาต่างๆ ด้วย

พูดให้ชัดๆ คือ ถ้าสหพันธ์กีฬารับรองเพศมาแบบไหน IOC ก็จะให้ลงแข่งในรายการของเพศนั้น และหลังปี 2004 เป็นต้นมา IOC ยังอนุญาตให้นักกีฬาข้ามเพศเข้าแข่งกีฬาตามเพศสภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายข้ามเพศ (Trans Woman) ให้แข่งในกับนักกีฬาชาย หรือผู้หญิงข้ามเพศ (Trans Woman) ให้แข่งกับนักกีฬาหญิง แต่ต้องอยู่ใต้เงื่อนไขบางข้อ เช่น เป็นคนข้ามเพศมากกว่า 4 ปี และมีค่าฮอร์โมนเพศไม่ขาดไม่เกินตามที่กติกากำหนด ซึ่ง IOC ยังคงมีสิทธิในการขอประเมินความเหมาะสมของนักกีฬาบางคนเป็นกรณีพิเศษได้ หากสังคมเกิดข้อสงสัย

แคสเตอร์ เซเมนยา (Caster Semenya) PHOTO AFP

กรณีตัวอย่างคือ ‘แคสเตอร์ เซเมนยา (Caster Semenya)’ นักกีฬาวิ่งระยะกลางจากแอฟริกาใต้ ต้องเข้ารับการตรวจสอบเพศหลังจากชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกปี 2009 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกของเธอ แต่สุดท้ายเธอก็ยังไปแข่งในโอลิมปิกเกมส์ที่ลอนดอนปี 2012 และ ได้รับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันวิ่ง 800 เมตรหญิง แต่หลังจากนั้น เซเมนยา ก็ถูก ‘กรีฑาโลก (World Athletics) ’ สั่งห้ามไม่ให้ลงแข่ง วิ่งในระยะ 400 เมตร ถึง 1,500 เมตร เพราะเทสโทสเตอโรนของเธอสูงเกิน แม้ว่าเธอจะเป็นผู้หญิงจริงๆ ก็ตาม

‘ลีอา โธมัส (Lia Thomas)’  PHOTO AFP

อีกกรณีที่เป็นประเด็นร้อนในปี 2022 คือ กรณีของ ‘ลีอา โธมัส (Lia Thomas)’ นักว่ายน้ำหญิงข้ามเพศชาวสหรัฐฯ ที่คว้าแชมป์ในประเภทฟรีสไตล์ 200 และ 500 เมตร มาครอง ถูก สหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) สั่งห้ามลงแข่งขันว่ายน้ำในระดับสูง ซึ่งหมายความว่าเธอไม่สามารถลงแข่งร่วมกับนักกีฬาว่ายน้ำหญิงในโอลิมปิกปารีสปี 2024 ได้ ซึ่ง FINA ให้เหตุผลว่า เพราะเธอเคยเป็นผู้ชายมาก่อน และมีพัฒนาการเติบโตเป็นผู้ชายมากกว่าระดับ Tanner Stage 2 แต่อย่างไรก็ตาม เธอยังเข้าร่วมการแข่งขันว่ายน้ำรายการอื่นของ FINA ที่มีข้อกำหนดเข้มงวดน้อยกว่านี้ได้

กลับมาที่กรณีของอิมาน เคลิฟ เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งมีการเปิดเผยความจริงแล้วว่า เธอเป็นผู้หญิงจริงๆ และแข่งขันกับนักกีฬาชกมวยหญิงมาตลอด แต่ที่ตรวจเพศไม่ผ่าน เพราะสหพันธ์มวยสากลนานาชาติ (IBA) พบว่าเธอมีโครโมโซมเพศชายมากกว่าปกติ

แต่น่าสนใจตรงที่ IOC ได้ดำเนินการขับ IBA ออกจากการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ตั้งแต่ปี 2023 เนื่องจากองค์กรไม่มีความโปร่งใส และได้จัดตั้ง Paris Boxing Unit (PBU) เพื่อมาควบคุมการแข่งขันมวยสากลในโอลิมปิกเกมส์ 2024 แทน ซึ่งในเอกสารการเข้าแข่งขัน ไม่ได้มีระบุเรื่องการตรวจสอบเพศแต่อย่างใด และ IOC ก็เพิ่งจะออกมาแถลงเองว่า พวกเขาคัดเลือกเพศนักกีฬาจากพาสปอร์ต จึงทำให้เราสรุปได้ว่า ทางเจ้าภาพไม่ได้เน้นการตรวจสอบอะไรเป็นพิเศษ นอกจากดูคำระบุเพศจากพาสปอร์ตที่ออกโดยชาติบ้านเกิด

‘อิมาน เคลิฟ (Imane Khelif) ’ นักมวยหญิงแอลจีเรีย ที่ไล่อัด ‘แองเจลา คารินี (Angela Carini)’ นักมวยหญิงจากอิตาลีจนน่วม PHOTO AFP

แล้วนักกีฬาข้ามเพศควรแข่งกับใคร ?

ดราม่านี้นำมาสู้คำถามที่ว่า นักกีฬาข้ามเพศ หรือนักกีฬาที่มีความผิดปกติทางฮอร์โมน ควรลงแข่งในกีฬาระดับสูงๆ หรือไม่ เพราะถึงแม้พวกเขาจะมีคำระบุว่าเป็นเพศอะไรในเอกสาร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความได้เปรียบของร่างกายบางอย่าง ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามนั้น ย่อมสร้างโอกาสคว้าชัยชนะได้มากกว่าคนอื่นจริง

แต่คำตอบของคำถามนี้ก็เรียบง่าย นั่นคือแข่งร่วมกับคนอื่นตามปกติ เพราะ IOC ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า นักกีฬาข้ามเพศที่จะเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ได้นั้น มีคร่าวๆ ดังนี้

  • มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคหลังการผ่าตัดที่สมบูรณ์ (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศภายนอก และการผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์)
  • มีการยืนยันเพศอย่างถูกกฎหมาย จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
  • มีการรับฮอร์โมน และดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนด (เพื่อลดข้อได้เปรียบที่เกี่ยวข้องกับเพศให้เหลือน้อยที่สุด)

ถึงตรงนี้จึงสรุปได้ว่า ทุกเพศสภาพสามารถลงแข่งได้ เพราะโอลิมปิกเกมส์คือการแข่งขันที่เน้นความเท่าเทียมมาตลอด แต่อาจมีบางกรณี ที่ IOC และ สมาคมกีฬานานาชาติต่างๆ ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษว่า ถึงแม้จะเพศเดียวกัน แต่ความแตกต่างแบบสุดขั้วบางอย่างนั้น ทำให้ความเท่าเทียมหายไปหรือเปล่า เพราะนี่คือการแข่งขันกีฬาที่ต้องมีความยุติธรรมมาเป็นอันดับแรก

‘อิมาน เคลิฟ (Imane Khelif) ’ นักมวยหญิงแอลจีเรีย ที่ไม่ผ่านการตรวจเพศ

ที่มา : Gender testing at the Olympic Games, News Nation

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related