พิธีถือศีลของแต่ละศาสนา เกิดขึ้นช่วงเวลาไหนของปี มีความเป็นมา และการปฏิบัติตัวอะไรบ้าง เพื่อรําลึกถึงศาสดาของตัวเอง
ไม่ได้มีแค่ศาสนาพุทธเท่านั้นที่มี ช่วงเข้าพรรษา เพราะทุกศาสนาบนโลกต่างก็มีช่วงเวลาแห่งการถือศีลเพื่อให้ ศาสนิกชนแต่ละศาสนา แต่ละนิกายได้ปฏิบัติธรรม และละเว้นจากสิ่งไม่ดีทางโลกในช่วงเวลาหนึ่งเหมือนกัน โดยในบทความนี้ขอพามาดู วันสำคัญของแต่ละศาสนากัน ว่าตรงกับช่วงเวลาไหน มีความเป็นมาอย่างไร และมีหลักปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?
ช่วงเวลา : แรม 1 ค่ำ เดือน 8 (ปี 67 คือวันที่ 21 ก.ค. 67 – 17 ต.ค.)
ความเป็นมา : ในอดีตเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนได้มีพระภิกษุจำนวน 1,500 รูปได้ออกไปตามสถานที่ต่างๆ และไปเหยียบข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย พระพุทธเจ้ารู้ถึงปัญหาจึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน นอกจากเป็นการแก้ปัญหาพระภิกษุเหยียบพืชพรรณของชาวบ้านเสียหายแล้ว ยังเป็นโอกาสให้พระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย แลกเปลี่ยนความเห็นในหมู่คณะเป็นการสร้างความสามัคคีไปในตัวด้วย
การปฏิบัติ : พระสงฆ์อยู่จำวัดตามพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลา 3 เดือน ส่วนพุทธศาสนิกชนจะนิยมไปวัด ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ฟังธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบพระอุโบสก และรักษาศีล 5 ข้อ
ช่วงเวลา : เดือนที่ 9 ตามปฏิทินอาหรับ (ปี 67 คือวันที่ 12 มี.ค.-9 เม.ษ.)
ความเป็นมา : ว่ากันว่าเป็นเดือนที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกุรอานมาให้แก่ศาสดานบีมุฮัมมัด จึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับชาวมุสลิม นอกจากนี้การถือศีลอดในเดือนรอมฏอน ยังถือว่าเป็นการฝึกความเพียร ความอดทนต่อความยากลำบาก เพื่อเข้าถึงคำสอนของนบีมุฮัมมัด และบูชาแก่พระผู้เป็นเจ้า รวมถึงเป็นการตระหนักรู้ถึงความลำบากในผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า ชาวมุสลิมจึงมักจะทำการบริจาคซะกาตในเดือนรอมฎอนอีกด้วย
การปฏิบัติ : ชาวมุสลิมต้องถือศีลอดเป็นเวลา 30 วัน (อาจแตกต่างกันในบางพื้นที่) ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก โดยไม่ดื่มน้ำและอาหารเลย หากผู้นั้นเป็นมุสลิม ไม่ว่าหญิงหรือชาย แต่ตามหลักของศาสนาก็ได้มีการยกเว้นให้บุคคลที่ไม่ต้องถือศีลอดดังนี้ คนเสียจริต ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่กำลังเดินทาง คนชรา ผู้เยาว์ หญิงซึ่งกำลังตั้งครรภ์ หญิงผู้กำลังให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงที่กำลังมีประจำเดือน
ช่วงเวลา : 6 สัปดาห์ ก่อนถึง ‘วันอีสเตอร์ (Easter Day) ’ (ปี 67 คือวันที่ 14 ก.พ. -28 มี.ค.)
ความเป็นมา : หากอ้างอิงจากพระคัมภีร์ พระเยซู ใช้เวลา 40 วันเดินข้ามทะเลทรายไปยังกรุงเยรูซาเร็ม ซึ่งช่วงเวลานี้ท่านไม่ได้กินอะไรเลย แต่เมื่อไปถึงกรุงเยรูซาเร็ม สาวกคนหนึ่งได้ไปแจ้งกับทางการโรมันว่า พระเยซูอ้างตัวเป็นพระเจ้า ทำให้พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นชีวิต แต่เวลาต่อมา เมื่อสาวกไปเยี่ยมหลุมศพก็พบว่าร่างของพระเยซูหายไปแล้ว ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าพระเยซูคืนพระชนม์และขึ้นอยู่บนสวรรค์แล้ว ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ของทุกปี และถูกเรียกว่า วันอีสเตอร์นั่นเอง ทำให้ก่อนวันอีสเตอร์ประมาณ 6 สัปดาห์ เป็นช่วงถือศีล ส่วนวันอีสเตอร์เป็นวันออกศีล
การปฏิบัติ : มีอาหารหลายอย่างที่คริสต์ศาสนิกชนบางคนไม่ควรรับประทานในช่วงเทศกาลถือศีล เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารที่มีนม ไปจนถึงละเว้นสิ่งอบายมุขเช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น แต่คริสต์ศาสนิกชนบางคนอาจทำเพียงแค่ห้ามใจไม่กินสิ่งที่ชอบ เช่น เค้กหรือช็อกโกแลต เพื่อลำลึกถึงการเสียสละของพระเยซู
ช่วงเวลา : 4 เดือนในฤดูฝน
ความเป็นมา : ในช่วงฤดูฝน เชื่อกันว่า ‘พระวิษณุ’ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาโลก ทรงหลับใหลอยู่กับ พระแม่ธรณี และจะตื่นขึ้นหลังฤดูฝนผ่านพ้นไป ซึ่งการตื่นขึ้นนี้ เหมือนกับพืชที่งอกเงยจากพื้นดินหลังซึมซับน้ำฝน
การปฏิบัติ : ละเว้นจากการจัดพิธีมงคล และงานเฉลิมฉลองต่างๆ เพื่อไม่ให้รบกวนการหลับใหลของเทพเจ้า นักบวชไม่พำนักต่างถิ่น ส่วนฆราวาสงดอาหารจำพวกธัญพืช เพราะชาวฮินดูเชื่อว่ามีจิตวิญญาณของเทพเจ้า ส่วนคนที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นประจำก็ควรงดในช่วงจตุรมาสยะไปก่อน
ที่มา : RUJIPEDIA BY ATTORNEY RUJIRAT TOTARI, ศิลปวัฒนธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง