“อนุดิษฐ์“ เกาะติดศึก "F-16 vs. Gripen" แนะ ทอ.ได้งบฯ เฉียด 2 หมื่นล้าน จัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่ ต้องได้ประโยชน์สูงสุด เน้นอย่าลืมมิติเศรษฐกิจ-ส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
วันที่ 24 ก.ค. 2567 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต สส.กทม. และอดีตรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะอดีตผู้บังคับฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่ 102 (F-16) กองทัพอากาศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ประเด็น “EP 1: F-16 Block 70/72(USA) VS JAS 39 Gripen E/F (Sweden)” ซึ่งประเด็นสำคัญคือการติดตามการจัดหาเครื่องบินขับไล่เพื่อทดแทนฝูงบินเก่าที่กำลังจะปลดประจำการในปีงบประมาณ 2568 งบประมาณกว่า 1.9 หมื่นล้านบาทของ ทอ.
น.อ.อนุดิษฐ์ ระบุว่า ถ้าพูดถึงเรื่องการป้องกันประเทศด้วยกำลังทางอากาศ ผมจึงไม่ใช่ "เด็กที่ไม่รู้ความ" เพราะในชีวิตนักบินรบ 17 ปี ของผม เติบโตมาตามเส้นทางหลักของสายยุทธการ ตั้งแต่ศิษย์การบินจนถึงผู้บังคับฝูงบิน เหมือนกับท่านผู้บัญชาการทหารอากาศหลายท่าน และผมก็ผ่านการฝึกบินทางยุทธวิธีทั้งในและต่างประเทศ จึงมีประสบการณ์และความเข้าใจในเรื่องการใช้กำลังทางอากาศเป็นอย่างดี
แต่ที่แตกต่างกับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่จบจากโรงเรียนนายเรืออากาศก็คือ ผมลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานการเมือง และเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง เคยเป็นทั้ง ส.ส. และรัฐมนตรี เคยเป็นผู้บริหารพรรคการเมือง ทั้งรองหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค เคยเป็นกรรมาธิการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหลายคณะ และเคยเป็นกรรมาธิการงบประมาณที่ต้องกลั่นกรองการออกกฎหมาย พรบ.งบประมาณของแผ่นดิน
ผมจึงอยากแสดงความเห็นและข้อมูลของผมในวันที่ผมไม่มีตำแหน่ง ไม่มีหัวโขนทางการเมือง ไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แต่เป็นประชาชนคนหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากงบประมาณแผ่นดิน ที่ ทอ.ต้องจ่ายออกไปจากการซื้อเครื่องบินในครั้งนี้
เผื่อว่าความเห็นและข้อมูลของผม จะเป็นประโยชน์กับรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะได้ไม่มาปวดหัวเหมือนกับกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำในภายหลัง
ท่านใดต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นกันแบบตรงไปตรงมา ผมก็ยินดีครับ
ก่อนอื่นผมขออนุญาตระบุข้อเท็จจริง 3 เรื่องนี้ก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจเรื่องต่างๆที่อาจมีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อยไปด้วยกัน
แต่ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ความจำเป็นทางด้านยุทธการ ก็คือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจให้ได้ว่า ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสวีเดน ใครให้ประโยชน์กับประเทศไทยได้มากที่สุดต่างหาก
การจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ต่างๆใน พ.ศ.นี้ แตกต่างจากในอดีต ที่อาจจะคำนึงถึงเฉพาะมิติด้านประสิทธิภาพ และความมั่นคงของประเทศ หรือความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นสำคัญ
แต่มาวันนี้การจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งผลตอบแทนที่จะมาสู่ภาครัฐ รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ควบคู่กันไปด้วย
3. เรื่องที่ 3 มาทำความรู้จักกับ นโยบายชดเชย (Offset Policy) ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ กันสักนิดครับ!
นโยบายชดเชย (Offset Policy) คือ นโยบายที่ประเทศผู้ซื้อยุทโธปกรณ์ตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมจากการซื้อหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์ตามปกติ เพื่อให้ผู้ขายต้องชดเชยผลประโยชน์ตอบแทนกลับมายังประเทศผู้ซื้อผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ โดยจะต้องมีมูลค่าเป็นสัดส่วนขั้นต่ำตามที่รัฐบาลผู้ซื้อกำหนดในสัญญา
อย่างไรก็ตาม การชดเชยทั้งสองแบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด และในการทำสัญญาหนึ่งอาจมีการชดเชยทั้งสองประเภทอยู่ในสัญญาได้
โดยล่าสุดผมเห็นข่าวว่า ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) ผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16 แถลงข่าวพร้อมมอบข้อเสนอชดเชยทางเศรษฐกิจ (Offset / a robust industrial participation proposal) โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเครื่องบินรบ เช่น การช่วยยกระดับ Datalink ให้กับไทยเพิ่มเติม และการพัฒนาศูนย์วิจัยและอบรมแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินรบ ตลอดจนโอกาสในการให้ไทยเป็นศูนย์การผลิตชิ้นส่วน (Supply Chain) ให้กับ Lockheed Martin
ซึ่งผมอ่านข้อเสนอทั้ง 7 ข้อแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับไทยแน่นอน แต่ก็ยังมีหลายข้อที่ลอยๆ ไม่ชัดเจน ซึ่งผมจะนำมาอธิบายให้ฟังใน EP ต่อๆไป แต่ที่สำคัญก็คือคงต้องรอฟังข้อเสนอของ Saab ด้วย ว่าจะเสนอนโยบายชดเชยมากันอย่างไรบ้าง
เพราะที่ผ่านมาการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของทุกเหล่าทัพ เคยมีนโยบายชดเชย Offset Policy ที่ทำสำเร็จจับต้องได้ และนโยบายออฟเซตทิพย์ ที่แหกตาคนอนุมัติมาแล้ว ผมจึงอยากเชิญชวนผู้ที่สนใจมาติดตามเรื่องเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์
ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันฉายภาพให้ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตรวจสอบ และสาธารณชนทั่วไป ได้เห็นมุมมองและข้อเท็จจริงต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทยได้ข้อเสนอ ที่ดีที่สุด และมีสัญญาในลักษณะเป็นเพ็กเกจ (ของการจัดซื้อทั้งฝูงบิน) ที่เกิดประโยชน์กับประเทศอย่างครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกฝ่าย มีความรัดกุม รอบคอบไม่เปิดช่องให้ผู้เสนอขายบิดพริ้วได้ในอนาคต เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ขอจบ #EP1 เพียงเท่านี้ คอยติดตาม EP 2 ไปด้วยกันนะครับ
ที่มา : น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง