svasdssvasds

เดนมาร์กเรียกคืน “บะหมี่เกาหลี” เหตุเผ็ดเสี่ยงเป็นพิษ แต่ในไทยขายดี

เดนมาร์กเรียกคืน “บะหมี่เกาหลี” เหตุเผ็ดเสี่ยงเป็นพิษ แต่ในไทยขายดี

"เดนมาร์ก" เรียกคืนราเมงสำเร็จรูป "ซัมยัง" (Samyang) อ้างพบสารให้ความเผ็ดสูงจนเสี่ยงเป็นพิษ แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดในไทยกลับคึกคัก ขายดี เพราะถูกปากผู้บริโภคคนไทย

SHORT CUT

  • เดนมาร์กเรียกคืนราเมงสำเร็จรูป "ซัมยัง" (Samyang) อ้างพบสารให้ความเผ็ดสูงจนเสี่ยงเป็นพิษ
  • แต่..ไทยตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดในไทยกลับคึกคัก ขายดี ถูกปากคน
  • ภาพรวมตลาดบะหมี่ฯในประเทศ ปี 2567 คาดการณ์เติบโตไม่หวือหวา ตลาดเข้าสู่ภาวะปกติ จากปี 2566 มูลค่าตลาดบะหมี่ฯอยู่ที่ 23,500 ล้านบาท เติบโต 12%

"เดนมาร์ก" เรียกคืนราเมงสำเร็จรูป "ซัมยัง" (Samyang) อ้างพบสารให้ความเผ็ดสูงจนเสี่ยงเป็นพิษ แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดในไทยกลับคึกคัก ขายดี เพราะถูกปากผู้บริโภคคนไทย

จากกรณีที่ สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เดนมาร์ก เรียกคืนผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดของแบรนด์ “ซัมยัง” (Samyang) สัญชาติเกาหลีใต้จำนวนมากในวันอังคาร (11 มิ.ย.) 67 ที่ผ่านมา เนื่องจากพบแคปไซซิน หรือสารที่ให้ความเผ็ด ในระดับที่เสี่ยงเป็นพิษต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้หน่วยงานด้านอาหารของเดนมาร์กได้ประกาศเรียกคืนราเมงสำเร็จรูปจำนวน 3 รสชาติ ได้แก่ บูลดัก สไปซี่แอนด์ฮอต ชิคเก้น เผ็ดคูณสาม (Buldak 3x Spicy & Hot Chicken), รสเผ็ดคูณสอง (2x Spicy & Hot Chicken) และสตูว์ไก่รสเผ็ด (Hot Chicken Stew)ท และเรียกร้องให้ผู้บริโภคงดรับประทานราเมงสำเร็จรูปทั้ง 3 รสดังกล่าว แต่ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่ามีประเด็นใดเป็นพิเศษ ที่ทำให้ทางการเดนมาร์กเรียกคืนสินค้าเหล่านั้น

โดยสำนักงานสัตวแพทยศาสตร์และอาหารเดนมาร์ก เผยว่า หน่วยงานพบระดับของสารแคปไซซินต่อราเมงสำเร็จรูป 1 ห่อ สูงจนมีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคอาจเกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลันได้ โดยหน่วยงานระบุในแถลงว่าหากมีสินค้านั้นไว้ในครอบครอง จะเลือกทิ้งหรือนำไปคืนที่ร้านค้าที่ซื้อมาก็ได้การประกาศเตือนดังกล่าว กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ ซึ่งในหมู่ผู้บริโภคที่ชื่นชอบมองว่า คำเตือนดังกล่าวเป็นเรื่องน่าขัน และหลายคนพูดถึงความสามารถในการรับประทานอาหารเผ็ดของชาวเดนมาร์กว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยแคปไซซิน เป็นสารประกอบทางเคมีที่พบในพริก ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาหารแสบร้อน

ทั้งหมด คือเรื่องราวของบะหมี่เกาหลี ที่มีรสชาติเผ็ด ที่ประเทศเดนมาร์ก แต่หากกลับมาสำรวจตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย ทั้งในร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้า และช่องทางออกไลน์ พบว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสชาติเผ็ดมีวางจำหน่ายจำนวนมาก และจากการสอบถามพนักงานร้านสะดวกซื้อหลายร้าน ต่างบอกว่า รสชาติเผ็ดขายดีเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบรสชาติจัดจ้าน

การสำรวจพบแต่ละรสชาติ แต่ละแบรนด์ดังนี้

  • ยามาโมโตะไซฟัน
  • โอโตกิ
  • GHOST PEPPER
  • Nongshim Shin Ramyun
  • Samyang Buldak Hot Chicken Ramen
  • Indomie Hot & Spicy อินโดมี่ หมี่โกเรง
  • Oriental Kitchen
  • นิสชินรสไก่เผ็ดเกาหลีชีส
  • มาม่าต้มยำกุ้งน้ำข้น
  • ควิกรสต้มโคล้ง

สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดของเกาหลีใต้ ที่เข้ามาจำหน่ายในไทย และได้รับนิยม ได้แก่

  • ซัมยังแห้งรสไก่สูตรเผ็ด
  • นงชิม ชินรามยอน
  • นงชิม ชินรามยอน แบล็ค
  • ซัมยังกิมจิราเมง
  • ซัมยังแห้งรสไก่สูตรเผ็ด x 2
  •   นงชิม ซาปาเก็ตตี้

สำหรับในประเทศไทยภาพรวมตลาดบะหมี่ฯในประเทศ ปี 2567 คาดการณ์เติบโตไม่หวือหวา ตลาดเข้าสู่ภาวะปกติ จากปี 2566 มูลค่าตลาดบะหมี่ฯอยู่ที่ 23,500 ล้านบาท เติบโต 12% จากปัจจัยการปรับขึ้นราคา ทั้งนี้ “มาม่า” ยังเป็นผู้นำตลาดอย่างแข็งแกร่ง ครองส่วนแบ่ง 50% ตามด้วยไวไว 16% ยำยำ 16% และแบรนด์อื่นๆมีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 18% เช่น บะหมี่ฯญี่ปุ่นนิสชิน และบะหมี่ฯเกาหลี ซัมยัง

อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนธุรกิจปี 2567 “มาม่า” ยังตั้งเป้ายอดขายเติบโต 4-5% จากปี 2566 คาดการณ์ยอดขายปิดที่ 17,000 ล้านบาท เติบโต 5% โดยสัดส่วนยอดขายในประเทศ 70% และต่างประเทศ 30% ขณะที่ภาพรวมรายได้บริษัทปีเกินกว่า 27,000 ล้านบาท ในปี 2565

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

related