svasdssvasds

51 ปี “มาม่า” แบรนด์เก่าแก่ของไทย วันนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง !

51 ปี “มาม่า” แบรนด์เก่าแก่ของไทย วันนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง !

ย้อนดูอาณาจักร “มาม่า” แบรนด์เก่าแก่ของไทยระดับตำนาน จนคนทั่วไปเรียกมาม่าแทนคำว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วันนี้ 51 ปี “มาม่า” มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง !

ใครที่เกิดหลังปีพ.ศ 2515 ส่วนใหญ่ก็จะรู้จักมาม่า คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แบรนด์ไทยที่ปัจจุบันอายุมากถึง 51 ปี เริ่มแรกสินค้าตัวแรก คือ มาม่าซุปไก่ซองละ 2 บาท จากนั้นก็พัฒนาอยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน เชื่อว่าหลายคนคงจำรสชาติ และบางรสชาติติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลานานพอสมควร มาม่าก็ได้แตกไลน์สินค้าใหม่ๆไปมากมาย ทั้งรสชาติใหม่ และสินค้าอื่นๆ รวมถึงการบุกไปชิงเค้กในต่างประเทศมากขึ้น

วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปย้อนดู 51 ปี “มาม่า” มาถึงวันนี้อาณาจักรแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และแผนธุรกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร ที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทย ที่มีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท โดย “พันธ์ พะเนียงเวทย์”  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMAได้ เปิดบ้านโชว์ศักยภาพโรงงานผลิต “มาม่า” ชูเทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัยและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเตรียมแผนเพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

มาม่ามีกำลังการผลิตเท่าไหร่ และผลิตที่ไหนบ้าง

ปัจจุบันโรงงานผลิต “มาม่า” มีจำนวนทั้งหมด 8 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 5 แห่ง โดย 3 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ ได้แก่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 1 แห่ง กำลังการผลิต 261.53 ตันต่อวัน จังหวัดลำพูน 1 แห่ง กำลังการผลิต 136.08 ตันต่อวัน และจังหวัดระยอง 1 แห่ง กำลังการผลิต 94.01 ตันต่อวัน และโรงงานผลิตเส้นขาวจังหวัดราชบุรีจำนวน 2 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 60.32 ตันต่อวัน และโรงงานผลิตในต่างประเทศ อีก 4 แห่ง ได้แก่ เมียนมากัมพูชา บังกลาเทศ และฮังการี  มีกำลังการผลิตรวม 16,044 ตันต่อปี

มาม่าเปิดเกมรุกธุรกิจเต็มสูบ

นอกจากนี้หากแบ่งประเภทกำลังการผลิตบะหมี่ประเภทซองอยู่ที่ 964,320 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตบะหมี่ประเภทถ้วยอยู่ที่ 1,159,498 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าวอยู่ที่ 193,125 หีบ ต่อเดือน โดยความเร็วในไลน์ผลิตแบบซองความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 450 ซองต่อนาที  ความเร็วไลน์ผลิตแบบถ้วยสูงสุดอยู่ที่ 300 ถ้วยต่อนาที จากการผลิต “มาม่า” ที่มีหลากหลายรสชาติ และมีรูปแบบที่หลากหลายและการขยายตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันบริษัท ฯ ได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงงานหลายแห่ง โดยมีการปรับปรุงเครื่องจักรเดิม รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯมีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการทำตลาดที่มากขึ้นในอนาคต

51 ปี “มาม่า” แบรนด์เก่าแก่ของไทย วันนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง !

นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทฯมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ “มาม่า” ไปแล้ว 68 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีขนาดใหญ่กว่าในประเทศจึงมีโอกาสในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดที่น่าสนใจได้แก่ จีน เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์ผู้บริโภคจีนนิยมอาหารไทยมักจะซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และตลาดที่จะขยายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปและอเมริกา ส่วนตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง ได้แก่ อินเดีย และแอฟริกา

51 ปี “มาม่า” แบรนด์เก่าแก่ของไทย วันนี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง !

สำหรับตั้งเป้ายอดขายปี 66 อยู่ที่ 15,568.52 ล้านบาท เติบโต 4 % ในประเทศ 11,306.49 ล้านบาท ต่างประเทศ 4,262.03 ล้านบาท ตลาดที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ตั้งเป้าอนาคตเพิ่มสัดส่วนการขายต่างประเทศอยู่ที่  40 - 50 % จากปัจจุบันสัดส่วนการขายในประเทศ 70 % ต่างประเทศ 30 %  พร้อมตั้งเป้ารายได้ในปี 2567 เติบโตอยู่ที่ 5 – 7 % โดยส่วนแบ่งตลาด 51 % ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คู่แข่ง คือ ไวไว ยำยำ นิสชิน พร้อมกันนี้ยังเตรียมงบลงทุนใหม่ 2,000 ล้านบาท สร้างโรงงานรองรับกำลังผลิต 10 ปี

อย่างไรก็ตามบริษัทฯยังมีแผนการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคได้เห็นมาม่าในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Mama Station หรือ ร้านอาหารมาม่าในห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะได้เห็นมากขึ้นตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

คืนสังเวียนเจาะตลาดจีน เวียดนาม

ขณะเดียวกันเตรียมกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง โดยจะเน้นทำการตลาดแบบไวรัลบน Douyin และใช้ KOL เป็นหลัก เพราะจีนมีประชากรถึง 1 พันล้านคน ขอเพียงจาะได้ 1% ก็ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ ส่วนอีกตลาดที่น่าสนใจคือ “เวียดนาม” ซึ่งก็เคยถอยออกมาในช่วงปี 2542 เช่นกัน เพราะคู่แข่งแบรนด์ท้องถิ่น 3-4 แบรนด์แข็งแรงมาก และเวียดนามเป็นตลาดที่ต้องทำสงครามราคา แต่ด้วยจำนวนประชากร 100 ล้านคนจึงเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ อีกทั้งห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยยังเข้าไปเปิดในเวียดนามจำนวนมาก โดยปี 2567 น่าจะได้เห็นแผนที่ชัดเจน โดยขณะนี้กำลังเจรจาพาร์ทเนอร์เพื่อพา “มาม่า” เข้าสู่ตลาดเวียดนามอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related