svasdssvasds

ครม.ไฟเขียว ปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT 2 บาท สูงสุด 45 บาท ดีเดย์ 3 ก.ค.

ครม.ไฟเขียว ปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT 2 บาท สูงสุด 45 บาท ดีเดย์ 3 ก.ค.

ครม. มีมติเห็นชอบปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT แพงขึ้น 2 บาทจาก 15 บาทเป็น 17 บาท สูงสุด 45 บาท ตลอดสาย เริ่ม 3 ก.ค.นี้

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุม ครม. (11 มิถุนายน 2567) มีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกำหนดให้มีการปรับอัตราค่าโดยสารทุกๆ ระยะเวลา 24 เดือน นับตั้งแต่เริ่มการบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ (3 ก.ค. 2547) โดยอัตราค่าโดยสารปัจจุบันจะครบกำหนด 24 เดือน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ประกอบกับมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543

ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สิน การให้บริการและความสะดวกในกิจการรถไฟฟ้า ตลอดจนวิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร ค่าบริการและค่าธรรมเนียมดังกล่าว และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

รฟม.จึงได้ยกร่างข้อบังคับฯ ดังกล่าว เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) โดยใช้ตัวเลขของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นข้อมูลในการคำนวณ

อัตราค่าโดยสารใหม่ตามสัญญาจะมีอัตราเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 45 บาท และจะมีผลบังคับใช้ 24 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567

ในคราวประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งอนุมัติหลักการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบจากรถไฟฟ้าสายอื่น มายังรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2569 เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน

ดังนั้น เพื่อให้การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 (ครบกำหนดการบังคับใช้ตามสัญญาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567) 

จึงได้ยกร่างข้อบังคับฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอัตราใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 45 บาท เพื่อให้การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานครเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2567

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2566 รัฐบาลเล็งเห็นว่าอัตราโดยสารสำหรับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าระยะไกลมีอัตราสูงถึง 192 บาท ซึ่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ตามนโยบาย รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของรัฐบาล โดยเริ่มต้นก่อน 2 สาย ประกอบด้วย 

  • รถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

สำหรับแนวทางการดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น กระทรวงคมนาคมมั่นใจว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี หรือ ช่วงกันยายน 2568 รถไฟฟ้าทุกสี และทุกสาย จะเข้าร่วมนโยบายทั้งหมด 

นโยบาย "เพื่อไทย" รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย

“รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงมาหลายยุค ตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งแถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 “เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 10 สายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้ครบภายใน 4 ปี และเก็บค่าบริการ 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วมบัตรเดียว”

นับจากวันนั้นถึงวันนี้ 13 ปีแล้ว พรรคเพื่อไทยยังทำไม่ได้ แม้จะเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะทำทันที แต่กลับไม่บรรจุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีคมนาคม ก็ให้สัมภาษณ์แบบขอไปที ต้องใช้เวลา คิดว่าไม่น่าจะเกิน 2 ปี ต้องเจรจากับบีทีเอส ซึ่งยังไม่เข้าระบบตั๋วร่วม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related