SHORT CUT
ใครที่มีประวัติค้างชำระหนี้บ่อย แต่…อยากกู้บ้าน คอนโด แต่ก็กลัวจะกู้ไม่ผ่าน ไม่ต้องเป็นห่วงถ้าคุณรู้ 4 ขั้นตอนนี้ แล้วจะทำให้คุณมีทางออกที่ดีขึ้น
แน่นอนว่าช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ทำเอาคนไทยหาเงินได้ยากขึ้น และมีรายได้ลดลง แต่…ภาระหนี้สินที่ไปก่อไว้ก็ต้องเดินต่อไปในทุกสิ้นเดือน เราจะเป็นคนมีค่าขึ้นมาทันที ทั้งค่างวดรถ งวดบ้าน งวดบัตรเครดิต และค่างวดอื่นๆอีกมากมาย พอเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ก็ทำเอาหลายคนมีโอกาสค้างชำระ ไม่มีเงินจ่ายค่างวดสูงมาก เนื่องจากขีดความสามารถในการหาเงินลดลง
ทั้งนี้ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ไทยมีหนี้เสียจำนวน 1.09 ล้านล้านบาท ที่น่าห่วงคือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ ที่มีหนี้เสียถึง 2.38 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นต่อเนื่อง 32% เป็นหนี้ที่อยู่อาศัยอีก 1.99 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 18.2% สินเชื่อบุคคลอีก 2.6 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 12% และบัตรเครดิต 6.3 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 14.6% ขณะที่หนี้ที่กำลังจะเสีย แต่ไม่เกิน 90 วัน หรือกลุ่ม SM เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท เติบโตด้วยความเร็วราว 7% ไม่มาก
ทั้งนี้มียอดค้างชำระหนี้ 1.86 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 15% สินเชื่อรถยนต์ค้างชำระ 2 แสนล้านบาท หรือ 7% และที่น่าห่วงคือ สินเชื่อบัตรเครดิตมาอยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 32%โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่มียอดหนี้เสีย และหนี้ค้างชำระมากขึ้น หลังเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นมา หลังมีการปรับเกณฑ์การผ่อนชำระขั้นต่ำเป็น 8% จาก 5% การที่หนี้ที่กำลังจะเสียของบัตรเครดิตเติบโตขึ้น 32% สะท้อนความอ่อนแอ และความความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มีสูงขึ้น
จากปัญหาหนี้เสียที่สูงขึ้นทำให้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ออกมา ติดตามใกล้ชิด หลังพบแนวโน้มหนี้เสีย ในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะสินเชื่อวงเงินสินเชื่อน้อยกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นกลุ่มครัวเรือนระดับรายได้ปานกลาง สัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จาก 2.4% เป็น 12.4% ธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งเข้าไปแก้ปัญหา เพื่อให้ประชาชนมีบ้านอยู่อาศัยต่อไปได้ ส่วนหนี้บัตรเครดิตเพิ่มจาก 13.6 % เป็น 17.5 % ขณะที่หนี้เสียในกลุ่ม ยานยนต์เริ่มลดลง จาก 27.3% เหลือ 12.7%
แต่…สำหรับใครที่มีประวัติค้างชำระหนี้ แต่อยากจะกู้บ้าน คอนโด แต่กลัวไม่ผ่านต้องทำอย่างไรให้ผ่าน? วันนี้ ธนาคารกสิกรไทย มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณจากหนักมาเป็นเบา โดยมี 4 ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อกู้ให้ผ่าน ดังนี้
เนื่องจากการค้างจ่ายหนี้หรือการชำระไม่ตรงเวลานั้น อาจเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เช่น เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ โรงงานได้รับความเสียหาย ผลิตสินค้าไม่ทัน จึงสูญเสียรายได้ ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ตามกำหนด ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เจรจาหาทางออกร่วมกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของคุณ เพื่อแก้ปัญหา
ทั้งนี้การเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะอาจช่วยกันแก้ปัญหาได้ก่อนที่คุณจะกลายเป็นหนี้ NPL หรือหากเป็นไปแล้ว ก็ยังสามารถเจรจากันได้ ที่มักเรียกกันว่าการประนอมหนี้ ได้แก่ การยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปด้วยการลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลง การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้บางส่วน หรืออื่นๆ แล้วแต่กรณีไป
เพราะปัจจัยในการพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคารนั้นดูที่ความตั้งใจในการชำระหนี้เป็นหลัก หากคุณไม่ย่อท้อ พยายามทำทุกทางเพื่อให้การแก้ไขหนี้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการจ่ายหนี้ หรือการปฏิบัติตามเงื่อนไขการผ่อนชำระอย่างเคร่งครัด สิ่งนี้จะสะท้อนความตั้งใจในการแก้ปัญหาของคุณได้อย่างชัดเจน
เนื่องจากประวัติการผิดนัดชำระหนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งคุณจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการพิสูจน์ตัวเอง ไม่ใช่ว่าผ่อนเป็นปกติดีอยู่ 2-3 เดือนก็จะไปขอกู้ เพราะธนาคารยังไม่มั่นใจความสามารถในการชำระเงินของคุณ ดังนั้นคุณควรพยายามสร้างประวัติใหม่ให้ดีเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าฐานะทางการเงินของคุณกลับมาเป็นปกติแล้ว
หากคุณสามารถเคลียร์หนี้ก้อนนี้ได้หมดแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะออกหลักฐานยืนยันมาให้ ซึ่งคุณจะต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพื่อใช้แสดงกับธนาคารที่คุณไปขอกู้ว่าคุณสามารถจบหนี้ที่มีปัญหาได้แล้วจริงๆ
อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่เป็นหนี้ที่มีปัญหา หรือเป็นหนี้ NPL ไปแล้ว การพิสูจน์ตัวเองนั้นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในระหว่างนี้ธุรกิจของคุณต้องมีวินัยทางการเงินอย่างมาก อย่าละเลยการเดินบัญชีหรือ Statement เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงกระแสเงินสดของธุรกิจ
หรือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ชำระหนี้ แต่ทางที่ดีก็คือพยายามอย่าให้เกิดปัญหาขึ้นมา การไม่มีประวัติหนี้ค้างชำระย่อมดีที่สุด และหากเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ ให้รีบคุยกับเจ้าหนี้ เพื่อหาทางออกร่วมกัน อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามจนกลายเป็น NPL
ข่าวที่เกี่ยวข้อง