svasdssvasds

หนี้เสียอสังหาฯ พุ่ง 'สินเชื่อบ้าน' ดิ่งเหวแบงก์ปฏิเสธสินเชื่ออื้อ วิบากกรรมอสังหาฯไทย

หนี้เสียอสังหาฯ พุ่ง 'สินเชื่อบ้าน' ดิ่งเหวแบงก์ปฏิเสธสินเชื่ออื้อ วิบากกรรมอสังหาฯไทย

เศรษฐกิจไทยอาการน่าเป็นห่วง! กำลังซื้อวูบ หนี้เสียอสังหาฯ พุ่ง 'สินเชื่อบ้าน' ดิ่งเหวแบงก์ปฏิเสธสินเชื่ออื้อ วิบากกรรมอสังหาฯไทย ที่ผู้ประกอบการต้องสู้กับตลาดฝืด ลูกค้าต้องกัดฟันผ่อนค่างวด

SHORT CUT

  • เศรษฐกิจไทยมีความท้าทายในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)
  • ผ่านมาเกือบ 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้ว เศรษฐกิจไทยดูเหมือนจะบรรยากาศอึมครึม หลายเซ็กเตอร์ดูซึมๆ
  • สถานการณ์หนี้ในปัจจุบัน น่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ สินเชื่อรวมภายใต้ข้อมูลของเครดิตบูโรกลายเป็นหนี้เสียไปแล้ว 1.09 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยอาการน่าเป็นห่วง! กำลังซื้อวูบ หนี้เสียอสังหาฯ พุ่ง 'สินเชื่อบ้าน' ดิ่งเหวแบงก์ปฏิเสธสินเชื่ออื้อ วิบากกรรมอสังหาฯไทย ที่ผู้ประกอบการต้องสู้กับตลาดฝืด ลูกค้าต้องกัดฟันผ่อนค่างวด

ปี 2567 นับว่าเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจไทย มีความท้าทายในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) เศรษฐกิจโลกที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก รวมถึงปัจจัยลบทางเศรษฐกิจอื่นๆอีกมากมายที่มากระทบประเทศขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยเฉพาะประเทศไทย ปี2567 ผ่านมาเกือบ 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้ว เศรษฐกิจไทยดูเหมือนจะบรรยากาศอึมครึม หลายเซ็กเตอร์ดูซึมๆ แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะเข้ามาช่วยได้บางแต่ก็ไม่มาก

 

เศรษฐกิจไทยอาการซึมๆ ทำให้มีการปรับลด GDP

ทั้งนี้กำลังซื้อในประเทศ โครงการกระตุ้นจากภาครัฐ ก็ยังขาดยาแรงที่เข้ามาช่วยกระตุ้นให้ฟื้นกลับมาได้ จนทำให้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผย แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัว 1.5% ทั้งนี้เป็นการปรับ GDP ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2567 รอบใหม่ จากเดิม 2.2-3.2% เหลือ 2-3% ค่ากลางแค่ 2.5% หลังจากตัวเลขไตรมาสแรก ขยายตัวต่ำ เพียง 1.5%

 

ทั้งนี้มีปัจจัยหลักมาจากการผลิตภาคนอกเกษตรขยายตัวจากบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการเกษตร ลดลง 3.5% และหมวดอุตสาหกรรมลดลง 3% ด้านการใช้จ่ายรัฐบาล ลดลง 2.1% และการลงทุนรวมลดลง 4.2% โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ ลดลง 27.7% ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการ และการบริโภคอุปโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกสินค้า ลดลง 2%

หนี้ครัวเรือนไทย น่าเป็นห่วง! 

ข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับปัจจัยลบกดดันมากมาย ทำให้กำลังซื้อไม่สะพัด กระทบไปถึงหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น โดย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เผยว่า “หนี้ครัวเรือนไทย” ในปัจจุบัน ถือว่าน่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 91.03% หรือคิดเห็นหนี้ครัวเรือนที่ 16.3 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้หากแยกเฉพาะข้อมูลที่อยู่บนระบบของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ “เครดิตบูโร”มีอยู่ทั้งสิ้น 13.6 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นราว 3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเศรษฐกิจไทย หรือ “จีดีพีไทย” ที่ขยายตัวต่ำต่อเนื่อง สะท้อนการสร้างหนี้ของครัวเรือนที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งอาจกู้มาเพื่อชดเชยกับสภาพคล่องที่เหือดแห้งลงในช่วงที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

“สุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ในปัจจุบัน น่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากดูจากสินเชื่อรวมภายใต้ข้อมูลของเครดิตบูโรใน 13.6 ล้านล้านบาท ในนี้กลายเป็นหนี้เสียไปแล้ว 1.09 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 8% หากเทียบกับหนี้ทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาที่หนี้เสียอยู่เพียง 1.05 ล้านล้านบาทเท่านั้น สะท้อนว่าหนี้เสียยังคงไหลต่อเนื่อง

หนี้ที่อยู่อาศัยอีก 1.99 แสนล้านบาท เติบโต 18.2%

พามาดูหนี้เสียจำนวน 1.09 ล้านล้านบาท ที่น่าห่วงคือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ ที่มีหนี้เสียถึง 2.38 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นต่อเนื่อง 32% เป็นหนี้ที่อยู่อาศัยอีก 1.99 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 18.2% สินเชื่อบุคคลอีก 2.6 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 12% และบัตรเครดิต 6.3 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 14.6% ขณะที่หนี้ที่กำลังจะเสีย แต่ไม่เกิน 90 วัน หรือกลุ่ม SM เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท เติบโตด้วยความเร็วราว 7% ไม่มาก

สอดคล้องกับ “กาญจนา โชคไพศาลศิลป์” ผู้บริหารงานวิจัย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมสินเชื่ออสังหาฯโดยรวมที่ปรับลดลง ส่วนหนึ่งมาจากยอดคืนหนี้ ในช่วงไตรมาสแรกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถือเป็นฤดูกาลในช่วงไตรมาสแรกทุกปี ที่ผู้กู้มีการคืนหนี้มากขึ้น เมื่อได้รับเงินเดือนหรือโบนัสในช่วงต้นปี โดยหากดูยอดปล่อยสินเชื่อบ้านคงค้างของระบบแบงก์

โดยรวมในไตรมาสแรก พบว่า อยู่ที่ 2.72 ล้านล้านบาท ลดลงราว 0.2% หากเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้าที่สินเชื่อบ้านรวมอยู่ที่ 2.73 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ พบสินเชื่อมีการเติบโตชะลอตัวลง ในไตรมาสแรกปีนี้ มาเติบโตเพียง 1% หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ที่สินเชื่อบ้านโดยรวมจะขยายตัวอยู่ที่ 1.3% สะท้อนภาพของกิจกรรมในภาคอสังหาฯ และภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังไม่ฟื้นตัว ที่มีผลต่อกำลังซื้อของผู้กู้ มากขึ้น

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเติบโตสินเชื่อบ้านของระบบแบงก์ไทยปีนี้ ซึ่งมีโอกาสได้ทั้งปรับลดลง และเพิ่มขึ้น จากประมาณการเดิมที่คาดสินเชื่อบ้านจะขยายตัวมาอยู่ที่ 2.77-2.79 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 2-2.6% ปี2567

ในขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยตัวเลขสินเชื่อไตรมาสแรก โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยของระบบแบงก์ไทย (Post finance) พบว่า ไตรมาสแรก อยู่ที่ 2.72 ล้านล้านบาท ลดลงหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่ยอดสินเชื่อ รวมอยู่ที่ 2.73 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะอาคารชุด ยอดปล่อยสินเชื่อลดลงมาอยู่ที่ 6.23 แสนล้านบาท หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ 6.28 แสนล้านบาท เช่นเดียวกันการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้ออาคารพาณิชย์ ที่พบว่า ปรับลดลงเช่นกันมาอยู่ที่ 1.61 แสนล้านบาท จาก 1.63 แสนล้านบาท

หนี้เสียอสังหาฯ พุ่ง \'สินเชื่อบ้าน\' ดิ่งเหวแบงก์ปฏิเสธสินเชื่ออื้อ วิบากกรรมอสังหาฯไทย

ทางด้านตัวเลขจำนวนบัญชีสินเชื่อปล่อยใหม่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.38 หมื่นล้านบาท ลดลงจาก 2.57 หมื่นล้านบาท ลดลงทั้งแนวราบ และอาคารชุด แนวราบลดลงเหลือ 1 หมื่นล้านบาท จาก 1.19 หมื่นล้านบาทในไตรมาสก่อน ส่วนอาคารชุด ลดลงเหลือ 5.5 พันล้านบาท จาก 5.8 พันล้านบาท ขณะที่ยอดรีไฟแนนซ์ ในไตรมาสนี้ ลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ 7.6 พันล้าน จาก 8 พันล้านบาท

“จากสภาวะเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในภาวะซึมตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้กลุ่มอสังหาฯ เริ่มออกมาบ่นถึง ยอดขายที่ลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากยอด Rejection Rate หรือยอดการไม่อนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นมาก จากระดับไม่ถึง 50% มาสู่ 60-70% แล้ว ซึ่งในปัจจุบันโดยเฉพาะบ้านระดับไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่เผชิญปัญหาขายไม่ออกมากขึ้น ไม่เฉพาะบ้านราคาต่ำเท่านั้นที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อแต่พบว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ บางรายได้รับผลกระทบจากยอดปฏิเสธสินเชื่อมากขึ้นในกลุ่มบ้านราคาตั้งแต่ 10-20 ล้านบาท ที่พบว่า ยอด Rejection Rate ปรับตัวสูงขึ้น”

ไม่เพียงแค่ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตัวลูกค้า หรือผู้บริโภคเอง ก็ต้องสู้กับการหาเงินมาผ่อนค่างวดเช่นกัน! 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related