svasdssvasds

น้องไนซ์ วิกฤติ ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีกว่ามาเวร์ล

น้องไนซ์ วิกฤติ ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีกว่ามาเวร์ล

น้องไนซ์ เชื่อมจิตกลายเป็นปรากฏการณ์ในที่ได้สร้างข้อถกเถียงไว้มากมายในสังคม ตั้งแต่ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีผลต่อคนไทยมหาศาล ที่มีทั้งเชื่อในตัวน้องไนซ์ และคนที่ไม่เชื่อ

SHORT CUT

  • น้องไนซ์คือปรากฏการณ์ทางสังคมที่ชวนตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย
  • หากจะพลิกวิกฤตินี้ให้สร้างโอกาส ญี่ปุ่นเคยมีวิธีการมาแล้วคือการสร้างเครื่องรางของมูให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจ
  • และรัฐสวัสดิการคืออีกหนึ่งคำตอบที่อาจทำให้สังคมไทยมีความสุดและมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือรัฐ

น้องไนซ์ เชื่อมจิตกลายเป็นปรากฏการณ์ในที่ได้สร้างข้อถกเถียงไว้มากมายในสังคม ตั้งแต่ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีผลต่อคนไทยมหาศาล ที่มีทั้งเชื่อในตัวน้องไนซ์ และคนที่ไม่เชื่อ

น้องไนซ์เชื่อมจิตกลายเป็นปรากฏการณ์ในที่ได้สร้างข้อถกเถียงไว้มากมายในสังคม ตั้งแต่ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีผลต่อคนไทยมหาศาล ที่มีทั้งเชื่อในตัวน้องไนซ์ และคนที่ไม่เชื่อ

น้องไนซ์ เป็นสิ่งที่เราควรตั้งคำถามว่าเป็นเพราะเหตุใดทำไมสังคมไทยถึงได้เชื่อและศรัทธา เด็กคนหนึ่งที่อ้างตัวเป็นผู้วิเศษนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร

SPRiNG ชวนไขปริศนาเรื่อง น้องไนซ์ วิกฤต ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีกว่ามาร์เวล จนสังคมไทยต้องตบตีกับเรื่องนี้อีกยาวนาน

สังคมไทยพุทธแบบใด ?

การเข้ามาของพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่อดีตก่อนสุโขทัยเสียด้วยซ้ำ แต่ปรากฏว่าก่อนหน้าการนับถือศาสนาพุทธ ประเทศไทยพบหลักฐานเรื่องการนับถือศาสนาผีมาก่อน ตัวอย่างเช่นเจ้าแม่โคกพนมดี หรือการค้นพบสุสานในถ้ำที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาผีที่ผู้หญิงเป็นใหญ่

ต่อมาไม่นานศาสนาพราหมณ์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปราสาทหินที่หลงเหลืออยู่ประเทศไทยตามภาคอีสานตลอดจนจังหวัดกาญจนบุรีก่อนที่เราจะรับศาสนาพุทธเข้ามา

น้องไนซ์ วิกฤติ ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีกว่ามาเวร์ล

อาจเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของบ้านเราก็ว่าได้ ที่ทำให้คนในประเทศนี้นับถือศาสนาได้อย่างหลากหลายและปะปนกันไปหมดจนเหลือร่องรอยการนับถือศาสนาผี เช่นการนับถือร่างทรง เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ต้นไม้ต่างๆ รวมถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์ที่เห็นได้จากการมูเทพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระพิฆเนศ พระหรหม พระนารายณ์ พระศิวะ เพื่อขอในเรื่องโชคลาภ ความสำเร็จและความรัก ทั้งๆ ที่ในบัตรประชาชน หรือการประกาศตัว ล้วนบอกว่าตนเป็นชาวพุทธ

สิ่งเหล่านี้จึงกลายมาเป็นมรดกตกทอดที่ทำให้สังคมไทยนับถือศาสนาได้หลากหลายและกลายเป็นวัฒนธรรมที่พร้อมจะเชื่อ โดยมีคำว่าพุทธรวมถึงพระพุทธเจ้าอยู่ในใจเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่ายึดตามหลักคำสอนหรือเปล่า

การต้องการความมั่นคงตลอดเวลา

แต่เพราะใดสังคมไทยที่มีการพัฒนาด้านทุนนิยม รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกลับยังเชื่อในปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่ รวมถึงพร้อมที่จะน้อมรับความเชื่อเรื่องร่างทรง ผู้มีบุญอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเป็นตลอดไป ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับทฤษฎีของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยา บอกว่า ถ้าสังคมยิ่งสมัยใหม่ ความเชื่อไสยศาสตร์ก็จะหายไป

ปีเตอร์ เอ. แจ๊คสัน ผู้เขียนหนังสือ Capitalism Magic Thailand เทวา มนตรา คาถา เกจิ : ไสยศาสตร์สมัยใหม่กับทุน (ไทย) นิยม เล่าถึงที่มาในการศึกษาเรื่องความเชื่อในประเทศไทยว่าทางด้านปรัชญาและคำสอนของพุทธทาสภิกขุ ซึ่งไอเดียคือการปรับปรุงคำสอนของพระพุทธเจ้าให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่ โดยพุทธทาสภิกขุบอกว่า คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความสอดคล้องกับความสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์ ซึ่งพุทธทาสภิกขุต่อต้านไสยศาสตร์ค่อนข้างรุนแรง และพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ‘ไสยศาสตร์เป็นความเชื่อของคนโง่’

น้องไนซ์ วิกฤติ ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีกว่ามาเวร์ล

ตอนแรกนักวิชาการท่านนี้คิดว่าสังคมไทยเป็นไปตามนั้น คือมีเหตุผลและวิทยาศาสตร์ แต่ปรากฏว่ามีไสยศาสตร์มากมายในสังคมไทยเพราะมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมนั้น คิดว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่ง คนที่สนใจเรื่องของพระเครื่อง หรือพิธีกรรมคนทรงเจ้าบางคนอาจจะมีปัญหาด้านเศรษฐกิจก็ได้ แต่บางคนเป็นเศรษฐี ผมจึงสนใจว่าคนที่รวยแล้วก็อยากรวยมากกว่าเดิม แสดงว่ามันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตแต่เป็นเรื่องที่อยากจะสร้างโอกาสให้มีความมั่งมีและความสำเร็จ

สะท้อนสภาวะของประเทศไทยเป้าหมายของความเชื่อเหล่านี้ คือตั้งเป้าเรื่องความสำเร็จและการร่ำรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นภาพสะท้อนออกมาในกรณีน้องไนซ์ หรือร่างทรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ผุดออกมาเป็นดอกเห็ดมากมาย

ภาวะโควิด 19 ทำให้ตลาดมูเติบโต

ในช่วงวิกฤตโควิด 19 นี้เองทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อปากท้องคนไทย ถึงขนาดที่บางคนไม่มีเงินซื้อข้าว รวมถึงธุรกิจล้มหายตายจากไปมากมาย ทำให้เกิดสภาวะไม่มั่นคงขึ้นมาในสังคมอีกครั้งหนึ่ง

เห็นได้จากข้อมูลของ นายบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ซีเอ็เอ็มยู) เผยข้อมูลจากงานวิจัยหัวข้อการตลาด เผยตัวเลขตลาดมูในไทยโตขึ้นจากปัญหาโควิด 19 กว่า 76.8% ตามมาด้วยอันตรายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ พีเอ็ม 2.5 คิดเป็น 74.6% ด้านสังคมและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คิดเป็น 65% ด้านเศรษฐกิจ คิดเป็น 64% ด้านเทคโนโลยี คิดเป็น 62.8% และด้านการเมือง คิดเป็น 62.6%

จากความกังวลและความไม่แน่นอนดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทยต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึก จนเกิดปรากฏการณ์ 3 สิ่ง ได้แก่ หันหน้าพึ่งสายมู หรือมีความเชื่อโชคลาง (Superstitious) เกิดความเชื่อในอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) นิยมพูดคุยคลายเหงาในคอมมูนิตี้ออนไลน์ (Online Community

เป็นภาพสะท้อนสังคมไทยได้ชัดตั้งแต่ปรากฏการณ์โควิด 19 ถึงสภาวะน้องไนซ์ที่การเมืองโลกและเศรษฐกิจผันผวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนไทยรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มั่นคง ต้องหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

รัฐสวัสดิการและการพัฒนาเศรษฐกิจเติมเต็มจิตใจประชาชน

การกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการเมืองที่ประเทศไทยพูดถึงกันมากที่สุดเรื่องของรัฐสวัสดิการ ที่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุอย่างเดียว แต่สามารถแก้ไขปัญหาให้สังคมดีขึ้น รวมถึงสร้างรายได้ให้กับประเทศได้

รัฐสวัสดิการเป็นสวัสดิการที่ประชาชนทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกันและครอบคลุม โดยผู้ที่มีหน้าที่สร้างและดูแลสวัสดิการต่างๆ ก็คือรัฐนั่นเอง รัฐจะจัดหาสวัสดิการที่หลากหลายและครอบคลุมคนกลุ่มต่างๆ ตลอดช่วงชีวิตเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวัสดิการด้านการศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ สวัสดิการด้านการคมนาคม สวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นต้น สวัสดิการจึงเป็น “บริการสาธารณะ” ที่ประชาชนของประเทศนั้นได้รับจากรัฐ ไม่ว่าจะรวยหรือจน อยู่ในชนชั้นไหนของสังคมก็จะได้รับสวัสดิการเหมือนกัน

รัฐสวัสดิการที่มักจะได้รับการพูดถึงคือ รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าของประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสวีเดน ประชาชนทุกคนจะได้เรียนฟรีจนถึงมหาวิทยาลัย คนที่ว่างงานจะได้เงินอุดหนุนระหว่างหางานใหม่เพื่อให้ดำรงชีวิตได้ โดยใน 200 วันแรกจะจ่าย 80% ของเงินเดือนเดิม และหากยังไม่ได้งานใหม่ภายใน 200 วันแรก จะจ่าย 70% ของเงินเดือนเดิมต่อให้อีก 100 วัน สำหรับชาวสวีเดนที่ยังอายุไม่เกิน 23 ปีสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจฟันได้ฟรี รวมทั้งมีระบบบริการสุขภาพที่จ่ายค่าแค่ 100-300 โครน (300-900 บาท) ต่อครั้ง มันทำให้คนในประเทศสามารถวางแผนและมองเห็นความมั่นคงในอนาคตได้

ขณะที่หลายประเทศทำให้การมูสร้างรายได้ ตัวอย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นที่สายมูสามารรถสร้างรายได้ผ่านเครื่องรางของขลัง จนกลายเป็น Soft Power ที่ใครไปญี่ปุ่นต้องซื้อหามาเป็นของแจกหรือซื้อมาใช้เยียวยาจิตใจนั่นเอง

รัฐสวัสดิการจึงเป็นทางออกหนึ่งที่สำคัญในเรื่องการแก้ไขวิกฤติ ศรัทธา และการเมือง ที่ดาร์กกว่าดีซี แฟนตาซีและมาเวล เพราะหากเรามีรัฐสวัสดิการที่ดี ประชาชนรู้สึกมั่นคง มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือรับแล้ว นั่นย่อมหมายความว่า ประชาชนจะมุ่งหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจน้อยลง ไม่ได้มองเรื่องผู้มีบุญหรือน้องไนซ์ แต่หันมามองว่าสวัสดิการของตนเองเป็นอย่างไร เพียงพอหรือไม่

นี่อาจไม่ใช่คำตอบของการก้าวข้ามปรากฎการณ์นี้ในสังคมไทย เพราะยังไม่มีผลวิจัยหรือผลสรุปออกมายืนยันว่าการมีรัฐสวัสดิการสามารถแก้เรื่องความงมงายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่า ประเทศที่มีสวัสดิการที่ดี ประชาชนรู้สึกมั่นคง รวมถึงการสร้างรายได้ของขลังของมูไม่ใช่แค่ที่พึ่งหนึ่งเดียวของประชาชน แต่มันยังก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

และต้องพูดด้วยว่าความเชื่อและการมู อยู่ใน DNA ของคนไทยที่เราพร้อมจะเปิดรับเสมอ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การมูจึงไม่ใช่เรื่องผิด แต่กรณีวิกฤติ ศรัทธา และความไม่มั่นคงตอการดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่รัฐต้องรีบแก้โจทย์

อ้างอิง

schoolofchangemakers / BBC /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง