svasdssvasds

ผู้หญิงรุ่นใหม่หัวเสรีนิยม แต่ชายหนุ่มยังอนุรักษนิยม เรื่องจริงสมัยนี้!

ผู้หญิงรุ่นใหม่หัวเสรีนิยม แต่ชายหนุ่มยังอนุรักษนิยม เรื่องจริงสมัยนี้!

ผู้หญิงไปซ้าย ผู้ชายไปขวา ผลสำรวจเผย สาวรุ่นใหม่หัวเสรีนิยม แต่ชายหนุ่มยังอนุรักษนิยม เพราะมองว่า การพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยนี้อาจไปไกลเกินไป

SHORT CUT

  • การพัฒนาสิทธิสตรีและเด็กผู้หญิงในสมัยนี้อาจไปไกลเกินไป จนพรากโอกาสต่างๆ ของผู้ชาย
  • ในการเลือกตั้งทั่วโลกที่ฝ่ายขวาชนะ มักได้ฐานเสียงจากผู้ชายที่เป็นคนรุ่นใหม่ มากกว่าผู้หญิง 
  • ความแตกต่างในด้านการศึกษานำไปสู่ทัศนคติที่แตกต่างกัน เนื่องจากคนที่เข้าเรียนในวิทยาลัยจะรับเอาทัศนคติแบบเสรีนิยมมากกว่า 

ผู้หญิงไปซ้าย ผู้ชายไปขวา ผลสำรวจเผย สาวรุ่นใหม่หัวเสรีนิยม แต่ชายหนุ่มยังอนุรักษนิยม เพราะมองว่า การพัฒนาสิทธิสตรีในสมัยนี้อาจไปไกลเกินไป

โดยทั่วไปมักเป็นที่เข้าใจกันว่า คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก มักมีมุมมองทางสังคมและการเมืองที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน นั่นคือสนับสนุนแนวคิดใหม่ๆ ที่ยกระดับคุณภาพสังคม แต่การสำรวจครั้งใหม่ กำลังบอกว่า อาจไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

เว็บไซต์ “The Economist” ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุประมาณ 18-29 ปี ในสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป พบว่า ในโลกที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ทัศนคติของชายหนุ่มและหญิงสาวมีการแบ่งขั้วกันหนักขึ้น โดยผู้หญิงจะยังคงมีแนวคิดเสรีนิยม ในขณะที่ผู้ชายหัวไปทาง อนุรักษนิยมมากขึ้นกว่าในช่วง 2 ทศวรรษที่แล้วมาก

เช่น จากรายงานของ การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสหรัฐฯ ปี 2022 พบว่า หญิงสาวกว่า 72% เลือกลงคะแนนให้พรรค เดโมแครต ที่มีนโยบายไปทางเสรีนิยม ขณะที่มีชายหนุ่มแค่ 52% เท่านั้น เลือกพรรคนี้ ทั้งที่ในปี 2008 เปอร์เซ็นต์ของชายหญิงอายุน้อยที่เลือกพรรคนี้ยังเท่าๆ กันอยู่

สาวรุ่นใหม่หัวเสรีนิยม แต่ชายหนุ่มยังอนุรักษนิยม Photo  :Ted Eytan

คนรุ่มใหม่ เลือกพรรคการเมืองแบบใด ?

ส่วนในยุโรป ที่มีพรรคการเมืองหลากหลาย ก็มีความแตกแย่งทางความคิดของคนรุ่นใหม่เช่นกัน โดยหญิงสาวมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนพรรคฝ่ายซ้ายเสรี ส่วนผู้ชายแนวโน้มที่จะสนับสนุนฝ่ายที่เอนไปทางขวา หรือแม้แต่เลือกพรรคอนุรักษนิยมนิยมสุดโต่งอย่างเต็มใจ

ยกตัวอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสปี 2022 บรรดาชายหนุ่มเมืองน้ำหอม แสดงตัวว่าสนับสนุน “เอริก เซมมูร์ (Eric Zemmour)” ผู้สมัครที่เขียนหนังสือ หักล้างแนวคิดของ “ซีมอน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir)” นักสตรีนิยมชื่อดังที่สุดของฝรั่งเศส หรือในการเลือกตั้งช่วงต้นของโปรตุเกสเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2024 ที่ผ่านมา พรรค Chega ที่เป็นขวาจัด ก็ได้รับความนิยมอย่างพุ่งพรวด โดยได้คะแนนเสียงจากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพศชายอายุน้อย และมีการศึกษาที่ไม่สูง

เมื่อหันมามองในเอเชีย การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในปี 2022 ผู้ลงสมัคร ยูน ซอก-ยอล ฝ่ายขวาจัด สามารถเอาชนะ อี แจ-มยอง อดีตผู้ว่าการจังหวัดคย็องกี ตัวแทนสายเสรีนิยม สำเร็จ โดยผู้ชายอายุ 20 ปี กว่า 58% เลือกเขา ในขณะที่ผู้หญิงอายุ 20 ปีในเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน เลือกลงคะแนนให้คู่แข่งของเขา

ส่วนในจีน ไม่ได้มีการสำรวจเรื่องมุมมองการเลือกตั้งเหมือนประเทศอื่น แต่ชาวจีนกว่า 35,000 คน ที่ทำแบบสอบถาม มีแนวโน้มคล้อยตามแนวคิดที่ว่า ผู้ชายควรให้ความสำคัญกับอาชีพการงานเป็นอันดับแรก ส่วนผู้หญิงควรให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่า และหากบริษัทต้องปลดพนักงานเพราะเศรษฐกิจไม่ดี “พนักงานผู้หญิงควรถูกไล่ออกก่อนพนักงานผู้ชาย”

ทำไมผู้หญิงกับ ผู้ชายถึงคิดไม่เหมือนกัน

ทำไมผู้หญิงกับ ผู้ชายถึงคิดไม่เหมือนกัน

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ ผู้หญิงกับผู้ชายมีความคิดต่างกัน แต่ที่เป็นไปได้ และมีเหตุผลมากที่สุด คงหนีไม้พ้นเรื่องของการศึกษา เพราะจากการสำรวจทั่วโลก ผู้ชายได้รับการศึกษาน้อยกว่าหญิง โดย การสอบ Pisa หรือโครงการ ประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล เผยว่าในประเทศที่ร่ำรวย มีค่าเฉลี่ยของเด็กผู้ชายที่ไม่ผ่านการทดสอบทักษะการอ่านขั้นต่ำอยู่ที่ 28 % ส่วนผู้หญิงมีแค่ 18% เท่านั้น

ในสหภาพยุโรป ผู้ชายอายุ 25 -34 ปี ที่มีวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 35% ระหว่างปี 2002-2020 สำหรับผู้หญิงที่อายุเท่ากัน อัตราดังกล่าว เพิ่มขึ้นจาก 25% เป็น 46% ข้อมูลนี้เป็นตัวเลขใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน จึงสรุปว่า มีผู้หญิงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มากกว่าผู้ชายถึง 10 %

ความแตกต่างในด้านการศึกษานำไปสู่ทัศนคติที่แตกต่างกัน เนื่องจากคนที่เข้าเรียนในวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะรับเอาทัศนคติแบบเสรีนิยมและยอมรับความเท่าเทียมได้มากกว่า หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายคือ ผู้หญิงที่เรียนจบมหาวิทยาลัย จะสามารถทำงานเลี้ยงตัวเองได้ แต่เมื่อต้องหาคู่ครอง พวกเธออาจเจอผู้ชายที่เรียนไม่จบ มากกว่าผู้ชายที่เรียนจบ ซึ่งพวกเขา มีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างไป จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะมองเรื่องต่างๆ เหมือนกัน

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งอาจเพราะเป็นยุคของ โซเชียลมีเดีย ซึ่งเอื้อให้คนมีคอมมูนิตี้มากขึ้น เมื่อคนที่มีแนวคิดแบบเดียวกันมารวมตัวกัน ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดแนวคิดสุดโต่ง เช่นกลุ่มเฟมินิสต์แบบซ้ายจัด หรือทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นผู้ชายรวมตัวกัน ก็จะแนวโน้มสนับสนุนกันเอง และเกลียดผู้หญิงมากขึ้น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มักมีจุดยืนที่ไม่ยืดหยุ่นกับแนวคิดอื่นๆ และมักประผู้ที่เห็นต่างอย่างโหดร้าย

นอกจากนี้ ผู้ชายหลายคนยังเห็นด้วยในประเด็นเรื่อง การพัฒนาสิทธิสตรีและเด็กผู้หญิงในสมัยนี้อาจไปไกลเกินไป จนพรากโอกาสต่างๆ ของผู้ชายไปให้ผู้หญิงมากขึ้น เช่นโอกาสก้าวหน้าทางการงาน หรือการศึกษา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลอะไร ความแตกแยกทางความคิดของคนหนุ่มสาวนี้ ก็สะท้อนความเชื่อเรื่องเจเนอเรชั่นที่คนรุ่มใหม่มีหัวเสรีนิยมที่สุด ว่า “ไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป” 

ที่มา : The Economist

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related