svasdssvasds

ต้นกำเนิดเกม "เก้าอี้ดนตรี" การละเล่นที่กลายมาเป็นภาพจำเก้าอี้ ครม. ไทย ?

ต้นกำเนิดเกม "เก้าอี้ดนตรี" การละเล่นที่กลายมาเป็นภาพจำเก้าอี้ ครม. ไทย ?

ต้นกำเนิด “เกมเก้าอี้ดนตรี” ผู้ชนะได้นั่ง ผู้แพ้เสียม้า ออกจากเกมมือเปล่า การละเล่นที่กลายมาเป็นภาพจำการเมืองไทย ?

SHORT CUT

  • ต้นกำเนิดของ “เก้าอี้ดนตรี” อาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอพยพของชาวยิว ซึ่งต้องแย่งกันขึ้นเรือไปยังอิสราเอล
  • เกมเก้าอี้ดนตรี นับว่าเอาไว้ใช้บริหารไหวพริบ และฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีเลยดีเดียว โดยเฉพาะกับเด็กๆ
  • อีกมุมหนึ่ง  เป็นคำอุปมาในการอธิบายเรื่องใดๆ ก็ตาม ที่มีสิ่งของหรือผู้คนถูกสับเปลี่ยนกัน โดยหาสาระไม่ได้ 

 

ต้นกำเนิด “เกมเก้าอี้ดนตรี” ผู้ชนะได้นั่ง ผู้แพ้เสียม้า ออกจากเกมมือเปล่า การละเล่นที่กลายมาเป็นภาพจำการเมืองไทย ?

หากเปรียบการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไทยเป็นเกมหนึ่ง แน่นอนว่า ร้อยทั้งร้อยต้องนึกถึง “เกมเก้าอี้ดนตรี” เพราะผู้ชนะคือคนได้นั่งเก้าอี้ ส่วนผู้แพ้คือคนที่สูญเสียที่นั่ง ซึ่งคล้ายกับเก้าอี้ของ ครม. ที่เป็นสมบัติผลัดกันชมผลัดกันนั่ง ของนักการเมืองมาหลายสมัย

ทีม SPRINGNEW จึงขอชวนมารู้จักกับต้นกำเนิดของเกมยอดฮิตนี้กันดีกว่าว่า มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?

ประวัติเกมเก้าอี้ดนตรี ภาพจำการเมืองไทย / PHOTO flickr : rick

ประวัติเกมเก้าอี้ดนตรี

ต้นกำเนิดของ “เก้าอี้ดนตรี (Musical Chairs)” นั้น ไม่มีใครบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจน และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ตาม เป็นรู้กันว่ามาจากชื่อภาษาเยอรมัน “Reise Nach Jerusalem (การเดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม)”

โดยเชื่อกันว่าช่วง “สงครามครูเสด (Crusade)” ชาวยิวผู้พลัดถิ่นพากันอพยพไปยังอิสราเอล ซึ่งการอพยพครั้งนั้นเป็นที่รู้จักในชื่อ “อาลียาห์ (Aliyah)” ที่บนเรือมีพื้นที่จำกัด จึงทำให้หลายคนไม่ได้เดินทางไปด้วย แต่ไม่มีการยืนยันว่าทฤษฎีนี้เป็นแรงบันดาลใจให้การละเล่นเก้าอี้ดนตรีอย่างแท้จริง

ส่วนอีกทฤษฎีกล่าวว่า “เกมเก้าอี้ดนตรี” มีต้นกำเนิดย้อนกลับไปในอังกฤษในศตวรรษที่ 19 โดยการละเล่นดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากประเพณีโบราณ

อย่างไรก็ตาม ถึงที่มาจะคลุมเครือ แต่การละเล่นเก้าอี้ดนตรีก็แพร่หลาย และกลายเป็นเกมยอดนิยมของชนชั้นสูงในสมัยวิกตอเรียเรียน (ช่วง 1937-1901) ก่อนจะเป็นที่นิยมอย่างของคนทุกชนชั้น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่กลายเป็นกิจกรรมนันทนาการยอดฮิตตามชุมชน งานปาร์ตี้ และงานของโรงเรียน เนื่องจากความเรียบง่ายของมันได้ดึงให้คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนชั้นมาสนุกร่วมกันได้

วิธีเล่นเก้าอี้ดนตรี / PHOTO flickr : camknows

วิธีเล่นเก้าอี้ดนตรี

การละเล่นเก้าอี้ดนตรีแบบดั้งเดิมนั้น ผู้เล่นจะจับกลุ่มกันเป็นวงกลม ล้อมเก้าอี้ที่มีจำนวนน้อยกว่าผู้เล่นหนึ่งตัว เมื่อเพลงเริ่มบรรเลง ผู้เล่นทุกคนจะเต้นพร้อมกับเคลื่อนที่เป็นวงกลม เมื่อเพลงหยุด ทุกคนก็ต้องแย่งกันหาที่นั่ง ถ้าใครนั่งไม่ทันจะเป็นผู้แพ้และต้องออกจากเกมทันที วิธีเล่นนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าจะเหลือผู้เล่นเพียงคนเดียว

หากต้องการความตื่นเต้นเพิ่มขึ้น ผู้เล่นอาจเพิ่มกติกาเข้าไป เช่นคัดคนออกรอบละ 2 คน ซึ่งเรียกว่า “Double Elimination” ที่สร้างความรู้สึกกดดันและสนุกสนานไปพร้อมๆ กันได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเล่นแบบธรรมดาหรือแบบจริงจัง “เกมเก้าอี้ดนตรี (Musical Chairs)” ก็เรียกเสียงกรี๊ด เสียงตะโกน รวมถึงเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนานจากผู้เล่นและกองเชียร์ได้เสมอ ไม่ว่ามันจะถูกเอามาเล่นในโอกาสไหน

ประโยชน์ของ “เกมเก้าอี้ดนตรี”

เกมเก้าอี้ดนตรี นับว่าเอาไว้ใช้บริหารไหวพริบ และฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีเลยดีเดียว โดยเฉพาะกับเด็กๆ เพราะนอกจากจะสนุกสนานแล้ว ยังฝึกให้เด็กรู้แพ้รู้ชนะ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่น เข้าใจความสมหวังและความผิดหวัง และมีน้ำใจนักกีฬา

ต้นกำเนิด “เกมเก้าอี้ดนตรี”  ผู้ชนะได้นั่ง ผู้แพ้เสียม้า ออกจากเกมมือเปล่า การละเล่นที่กลายมาเป็นภาพจำการเมืองไทย ?

ด้านมืดของเก้าอี้ดนตรี

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เล่นได้จากการ “เล่นเก้าอี้ดนตรี” ก็เป็นที่ถกเถียงเช่นกัน เพราะนักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่า การให้เด็กๆ เล่นแบบนี้ เป็นการปลูกฝังให้พวกเขาแก่งแย่งชิงดีกันหรือเปล่า เพราะเมื่อของมีจำกัด เด็กที่แข็งแรงกว่าก็จะใช้กำลังเบียดเพื่อให้ได้เก้าอี้มา แม้จะเป็นคนหย่อนก้นนั่งเก้าอี้ช้ากว่าก็ตาม ซึ่งถือเป็นการทำผิดกติกา ยิ่งไปกว่านั้น เกมนี้อาจทำให้เด็กที่แพ้น้อยเนื้อต่ำใจ และรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับจากครูและเพื่อนๆ ได้ เพราะการแพ้ในเกมนี้คือการเดินออกมามือเปล่าเท่านั้น

จึงทำให้ "การเล่นเก้าอี้ดนตรี" กลายเป็นคำอุปมาในการอธิบายกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่มีสิ่งของหรือผู้คนถูกสับเปลี่ยนกันไปตามสถานที่หรือตำแหน่งต่างๆ โดยไม่มีจุดหมาย

ในมุมของสังคม เก้าอี้ดนตรียังหมายถึงภาวะที่ประชาชนต้องใช้เวลาค้นหาทรัพยากร เช่น ต้องเดินทางจากปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งเมื่อเกิดการขาดแคลน ใครเติมทันก็โชคดี ใครไม่ทันก็โชคร้ายไป และอย่าหาความยุติธรรมจากสิ่งที่ได้แม้แต่น้อย

คณะรัฐมนตรี เก้าอี้ดนตรีการเมืองไทย

และนอกจากนี้ในมุมการเมือง ยังหมายถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ผู้นำคนหนึ่งเข้ามาแทนที่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ถูกแทนที่อย่างรวดเร็วอีกเนื่องจากความไม่มั่นคงของระบบการปกครอง

นั่นจึงทำให้ภาพจำของ “เกมเก้าอี้ดนตรี” ในไทย เลยหนีไม่พ้นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยน ครม. เพราะเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาที่รัฐมนตรีจากกระทรวงนี้ จะเปลี่ยนไปอยู่กระทรวงนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนอำนาจ เช่น รมว.ท่องเที่ยว ย้ายไปเป็น รมว.แรงงาน หรือ รมว.อุตสาหกรรม ย้ายไปเป็น รมว. คมนาคม หรือ รมช.คลัง ย้ายมาเป็น รมช. สาธารณสุข

อย่างไรก็ตาม การสลับตำแหน่งเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีนั้น ต่างประเทศก็มีไม่ต่างจากไทย เพียงแต่ในไทยอาจทำกันบ่อยจนกลายเป็น “เกมเก้าอี้ดนตรีประจำชาติไทย” โดยปริยายไปแล้ว

ที่มา Medium/ LIPS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related