SHORT CUT
"ตั๋ววน" เรียกอีกอย่างว่า การซื้อบัตรคอนเสิร์ตต่อกัน หรือ ซื้อบัตรคอนฯ มือ 2 คือ การซื้อบัตรต่อจากผู้อื่นทางช่องทางออนไลน์ ปัญหาที่ตามมาก็คือ การนำบัตรมาขายต่อผ่านช่องทางออนไลน์โอนเงินไปแล้ว กลับถูกบล็อก ไปหน้าคอนแล้วที่นั่งที่เราซื้อไปกลับเป็นที่นั่งของคนอื่น
อย่างที่เรารู้กันว่าคอนเสิร์ตนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนบันเทิงใจมาช้านาน และคอนเสิร์ตหรือไม่ว่าจะเป็นการดูบอลและอื่นๆอีกมากมาย ก็มักจะมากับการจองบัตร ที่ไม่ว่าจะเป็นการจองเองผ่าน เว็บที่จัดงาน หรือการซื้อบัตรผ่านคนที่กดมาแล้ว แต่ความเสี่ยงของการที่ซื้อผ่านคนอื่นที่ไม่รู้จัก คือการ "โดนโกง" หรือเรียกเอา "ตั๋ววน" มาให้เราใช้นั่นเอง
ต้องเล่าก่อนว่ากลไกการตั้งราคาบัตรคอนเสิร์ตขึ้นอยู่กับผู้จัด (Promoter) ไร้การควบคุมโดยกฎหมาย ส่งผลให้ราคาบัตรคอนเสิร์ตพุ่งสูงขึ้นทุก ๆ ปี แบบเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะราคาบัตรคอนเสิร์ตศิลปินที่นานๆทีจะจัดคอนเสิร์ตที่ถูกที่สุดก็ครึ่งหมื่น แพงที่สุดก็ครึ่งแสน ในเมื่อราคาบัตรสูงขนาดนี้ ก็ยิ่งเข้าตามิจฉาชีพในการฉวยโอกาสกระทำความผิด เพราะมิจฉาชีพรู้ดีว่าบัตรคอนเสิร์ตของศิลปินโดยเฉพาะวงที่ดังมาก ๆ อย่างล่าสุดก็คือคอนเสิร์ตของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ และยังมีอีกก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น Blackpink , Brunomars , BTS และ Ed Sheeran
ทุกอย่างต้องผ่านการพูดคุย และอย่างที่รู้กันว่าระหว่างคนขายจริงๆและมิจฉาชีพนั้นตอนนี้แยกออกได้ยากมากๆ แม้แต่คนที่เคยซื้อผ่านคนอื่นมาเป็นสิบๆครั้ง ก็ยังโดนหลอกได้ และเมื่อพูดคุยกันจนเกิดความเชื่อใจ พวกเจ้าแม่E-TICKETพวกนี้ ก็จะให้ผู้ที่ต้องการบัตรโอนเงินไปก่อนโดยการโอนเงิน อาจจะเป็นการโอนผ่านบัญชีธนาคารธรรมดา หรือ บัญชีม้า หรืออีกวิธีที่เป็นที่นิยมคือ การโอนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Wallet เพื่อให้ยากต่อการที่จะรู้ว่าเงินถูกโอนไปที่ไหน และเมื่อผู้ที่ต้องการซื้อบัตรโอนเงินไป มิจฉาชีพก็จะบล็อกเราทันที ตอนนั้นเองเราก็จะเริ่มรู้ตัวว่า "โดนโกงแล้ว"
ทุกอย่างต้องผ่านการพูดคุย และอย่างที่รู้กันว่าระหว่างคนขายจริงๆและมิจฉาชีพนั้นตอนนี้แยกออกได้ยากมากๆ แม้แต่คนที่เคยซื้อผ่านคนอื่นมาเป็นสิบๆครั้ง ก็ยังโดนหลอกได้ และเมื่อพูดคุยกันจนเกิดความเชื่อใจ พวกเจ้าแม่E-TICKETพวกนี้ ก็จะให้ผู้ที่ต้องการบัตรโอนเงินไปก่อนโดยการโอนเงิน อาจจะเป็นการโอนผ่านบัญชีธนาคารธรรมดา (ที่ชื่อเจ้าของบัญชีอาจเป็นใครก็ไม่รู้ที่ไม่ใช่ชื่อของมิจฉาชีพ) หรืออีกวิธีที่เป็นที่นิยมคือ การโอนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Wallet เพื่อให้ยากต่อการที่จะรู้ว่าเงินถูกโอนไปที่ไหน และเมื่อผู้ที่ต้องการซื้อบัตรโอนเงินไป มิจฉาชีพก็จะบล็อกเราทันที ตอนนั้นเองเราก็จะเริ่มรู้ตัวว่า "โดนโกงแล้ว"
คำแนะนำจากกองปราบปรามสำหรับผู้ที่ถูกหลอกให้ซื้อบัตรคอนเสิร์ต หรือติดต่อไปที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้เสียหายสามารถเข้าแจ้งความเอาผิดกับมิจฉาชีพได้ตามกฎหมาย แต่ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด โดยไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เช่น สถานที่โอนเงิน ถ้าโอนเงินออนไลน์ที่บ้านก็ให้เดินทางไปแจ้งที่สถานีตำรวจในเขตที่บ้านตั้งอยู่ โดยเราต้องรวบรวมเอกสาร หลักฐานก่อนที่จะเข้าไปประกอบการแจ้งความกับตำรวจ ดังนี้
หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 1 และ 2 ควรปรากฏที่อยู่หรือ URL ของมิจฉาชีพ โดยทำการถ่ายภาพหรือแคปผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์เอาไว้
หลังจากโดนโกงควรแจ้งความให้เร็วที่สุด แล้วให้เข้าพบพนักงานสอบสวนแจ้งความประสงค์ขอ "แจ้งความดำเนินคดี" กับมิจฉาชีพโดยทางเจ้าหน้าที่จะลงบันทึกประจำวัน และออกหนังสือตรวจสอบรายการเดินบัญชี (Statement) ไปยังธนาคาร เพื่อนำมาประกอบสำนวนการสอบสวน โดยควรแจ้งความให้เร็วที่สุด เพื่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ธนาคารจะได้ช่วยติดตามเอาทรัพย์คืน และเอาผิดกับมิจฉาชีพเหล่านี้ไม่ให้ลอยนวลต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง