svasdssvasds

เปลี่ยนความเชื่อผิดๆ ในอดีต "นมวัว" ควรส่งเสริมให้เด็กบริโภค

เปลี่ยนความเชื่อผิดๆ ในอดีต "นมวัว" ควรส่งเสริมให้เด็กบริโภค

นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ

SHORT CUT

  • ราชวิทยาสัยกุมารแพทย์ฯ ชี้แจงข้อเท็จจริง "ผลของการบริโภคนมวัวต่อสุขภาพเด็ก" โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการศึกษาเชิงประจักษ์และหลักฐานทางการแพทย์ที่มีในปัจจุบัน
  • การจำกัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก
  • ความเชื่อของพ่อแม่ยุคเก่า ที่คิดว่าคนเราควรหยุดดื่มนมไปเลยเมื่อเด็กหย่านมแม่ และเติบโตขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย

นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือชี้แจง เรื่องการบริโภคนมวัวกับสุขภาพเด็ก โดยระบุว่า สืบเนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการผลิตชุดข้อมูลข่าวสาร เพื่อสื่อสารในช่องทางต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง "นมวัว ทำลายสุขภาพ" กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย

ทางราชวิทยาสัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "ผลของการบริโภคนมวัวต่อสุขภาพเด็ก" โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการศึกษาเชิงประจักษ์และหลักฐานทางการแพทย์ที่มีในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

  1. เคซีนในนมวัวกับการย่อยของร่างกาย 

เคซีนเป็นโปรตีนหลักที่พบในน้ำนมวัว ทำหน้าที่จับกับแคลเซียมและฟอสเฟตแขวนลอยอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำนมมีลักษณะสีขาวขุ่น ในเด็กปกติที่ไม่ได้มีปัญหาการย่อยอาหารบกพร่อง ก็จะไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องจากการบริโภคนมวัว

  2. สารตกค้างในนมวัว 

มีการตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียน ทั้งทางด้านโภชนาการและจุลินทรีย์ ตามรายเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 ว่า ร้อยละ 97 มีคุณภาพผ่านมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 350 (พ.ศ. 2556) ในปี พ.ศ. 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนทั้งชนิดพาสเจอร์ไรซ์และยูเอชที ไม่พบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และยาต้านจุลชีพตกค้างในทุกตัวอย่างที่ตรวจ

  3. นมวัวกับภาวะกระดูกพรุน 

นมวัวเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนคุณภาพ แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง มีการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่ากลุ่มเด็กที่บริโภคนม มีมวลกระดูกเพิ่มขึ้นทั้งร่างกายประมาณร้อยละ 3 เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภคนม

นอกจากนี้ยังเพิ่มระดับฮอร์โมน ที่ช่วยกระตุ้นการเติบโต เช่น Insulin-Like Growth Factor 1 (IGF-1) และ ลดการสลายกระดูก รวมถึงการบริโภคนมที่เสริมวิตามินดี จะสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีได้เฉลี่ย 5 นาโนกรัม/มล. ซึ่งเทียบได้ประมาณหนึ่งในสี่ของระดับปกติในร่างกาย ทั้งนี้การที่เด็กได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตามวัยตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น จะช่วยทำให้มวลกระดูกสูงสุดดีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และป้องกันภาวะกระดูกบาง เมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและสูงอายุ

  4. นมวัวกับโรคมะเร็ง 

นมวัวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด ที่อาจมีผลในการกระตุ้นหรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง เช่น แลคโตเฟอร์ริน วิตามินดี กรดไขมันสายสั้น กรดไขมันอิ่มตัว และ IGF-1 มีการทบทวนวรรณกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พบว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอ ที่สนับสนุนว่าการบริโภคนมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ไม่มีหลักฐานว่าการบริโภคนมวัว ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น

  5. นมวัวกับโรคออทิซึม 

ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่ ที่ยืนยันว่านมวัวมีส่วนทำให้เกิดโรคออทิซึม ในทางตรงกันข้าม การงดบริโภคนมวัวในเด็กที่เป็นโรคออทิซึมทำให้เกิดผลเสีย เพราะนมวัวเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโน-ทริปโตเฟน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นเซโรโทนินในร่างกาย และออกฤทธิ์ในการควบคุมอารมณ์ ปรับพฤติกรรม และช่วยในการนอนหลับ

 

  6. นมวัวกับโรคภูมิแพ้ 

ทารกและเด็กเล็กที่บริโภคนมวัว มีเพียงร้อยละ 1.7 จะเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองกับโปรตีนในนมวัว และมีอาการแสดงออกได้หลายระบบ อาทิ ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร

สำหรับข้อกังวลเรื่องการได้รับนมวัว แล้วทำให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้น องค์กรวิชาชีพทั่วโลกมีคำแนะนำว่า การจำกัดการบริโภคนมวัวในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่ช่วยในการป้องกันโรคแพ้โปรตีนนมวัวในทารก รวมถึงการศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานล่าสุด ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ ระหว่างการที่เด็กได้รับนมวัวกับการเกิดโรคหอบหืด การหายใจลำบากมีเสียงหวีด โรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคแพ้โปรตีนนมวัว

ดังนั้น จากข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้สรุปมาข้างต้น ร่วมกับคุณค่าทางโภชนาการของนมวัว ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยที่นมปริมาตร 100 ซีซี ให้พลังงานทั้งหมด 64-67 กิโลแคลอรี โปรตีน 3.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.7 กรัม (ส่วนประกอบหลักเป็นน้ำตาลแลคโตส) และไขมัน 3.7 กรัม (กรดไขมันส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว) มีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ซีลีเนียม วิตามินบี 2 วิตามินบี 12 และกรดแพนโททีนิกซึ่งถูกดูดซึมได้ดี

ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนบริโภคนมวัววันละ 3 แก้ว (แก้วละ 200 ซีซี) ส่วนเด็กวัยเรียนขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แนะนำให้บริโภคนมวัววันละ 2-3 แก้ว

นม เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพดี ขณะที่แคลเซียมในนมก็มีปริมาณมากและดูดซึมได้ดีด้วย แคลเซียมในนมมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่น ที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการสะสมมวลกระดูกเพิ่มขึ้นมาก นมจึงช่วยทำให้กระดูกและฟันของเด็กแข็งแรง และช่วยเพิ่มส่วนสูง

นอกจากนี้ นมยังมีวิตามินหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิเช่น วิตามินเอ ที่ช่วยในการมองเห็นและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย , วิตามินบี 2 ที่ช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และป้องกันโรคปากนกกระจอก , วิตามินบี 12 ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง

แต่จากความเชื่อของพ่อแม่คนไทยยุคเก่า ที่คิดว่าคนเราควรหยุดดื่มนมไปเลยเมื่อเด็กหย่านมแม่ และเติบโตขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทยมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากเรื่องความสูงของเด็กไทยที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ

โดยส่วนสูงเฉลี่ยเด็กไทยอายุ 12 ปีนั้น เพศชายอยู่ที่ 147.1 เซนติเมตร และเพศหญิงอยู่ที่ 148.1 เซนติเมตร ขณะที่ส่วนสูงเฉลี่ยเมื่ออายุ 19 ปี เพศชาย 170.9 เซนติเมตร และเพศหญิง 158.1 เซนติเมตร ยิ่งไปกว่านั้น จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขยังระบุด้วยว่า ปัจจุบันมีจำนวนเด็กไทยที่อยู่ในเกณฑ์เตี้ย เพิ่มมากขึ้นจาก 9.7% เป็น 12.9%

สอดคล้องกับข้อมูลเรื่องการดื่มนมของเด็กไทย ที่ดื่มนมน้อยเฉลี่ยเพียงวันละครึ่งแก้ว ส่วนเด็กวัยเรียนที่ดื่มนมทุกวันนั้น ก็มีเพียง 31.1% ขณะที่เด็กวัยรุ่นลดลงเหลือ 14.9% หรือถ้าคิดเฉลี่ยทุกคนแล้ว คนไทยดื่มนมประมาณ 18 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนเอเชียอยู่ที่ 66 ลิตรต่อคนต่อปี (เกาหลีใต้ 30 ลิตร/คน/ปี , ญี่ปุ่น 32 ลิตร/คน/ปี , อินเดีย 59 ลิตร/คน/ปี) และทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 113 ลิตรต่อคนต่อปี

นมที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

แพทย์หญิงสุชาอร แสงนิพันธ์กูล จากภาควิชากุมารแพทย์ศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ข้อมูลเรื่องการกินนมของวัยเด็กเล็กเพื่อเป็นความรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ใส่ใจโภชนาการลูกรัก

ประเภทของนมที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

ปกติจะแบ่งเป็นนมที่มาจากพืชและนมที่มาจากสัตว์ ในเด็กเล็กควรเลือกนมที่มาจากสัตว์ เช่น นมวัว ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

  1. นมวัวที่ไม่ได้ดัดแปลง สารอาหารสำคัญในนมประเภทนี้คือ พลังงาน โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเกลือแร่ ผลิตภัณฑ์นมวัวมีทั้งแบบพาสเจอไรซ์และยูเอชที แต่การใช้ความร้อนเป็นตัวฆ่าเชื้อก็ทำให้สารอาหารในกลุ่มวิตามินแร่ธาตุในนมพร่องหายไปบ้าง  
  2. นมที่มีการเติมสารอาหารให้เหมาะสมกับวัย หรือ นมดัดแปลง เป็นนมที่ทำมาจากนมวัวหรือนมแพะ มีทั้งแบบนมผงและนมกล่องยูเอชที ที่เรียกนมดัดแปลงเพราะมีการดัดแปลงโปรตีนนมให้เหมาะกับช่วงวัยให้ย่อยโปรตีนได้ง่ายขึ้น นมดัดแปลงจะมีข้อกำหนดในการเติมสารอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยที่ต่างกัน แบ่งเป็นนมสูตร 1 นมสูตร 2 นมสูตร 3 และนมสูตร 4

นมดัดแปลงสำหรับเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี ถ้าเทียบเคียงแล้วจะคล้ายกับนมวัว แต่ต่างกันตรงที่มีการปรับโปรตีนให้เหมาะกับช่วงวัยและเติมแร่ธาตุ วิตามินเพิ่มเข้าไป สำหรับปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดที่เติมในนมดัดแปลงนั้นจะมีข้อกำหนดชัดเจนเป็นสากลอยู่แล้ว เช่น ให้มีธาตุเหล็ก ระหว่าง 1-2.9 (เฉลี่ย 1.8 มิลลิกรัมต่อ 100 กิโลแคลอรี) ในขณะที่นมวัวจะมีธาตุเหล็กน้อยกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อ  100 กิโลแคลอรี เพราะเด็กวัยนี้กำลังต้องการธาตุเหล็กมาก ควรกินนมที่มีเหล็กอย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อ  100 กิโลแคลอรี   

เหตุใดเด็กเล็ก 1-3 ปียังต้องกินนม

จุดประสงค์ของการกินนมในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะต้องการให้นมเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นโภชนาการจำเป็นต่อการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน  เพราะฉะนั้นเมื่อคิดถึงแคลเซียมหรือฟอสฟอรัส ไม่ว่าจะกินนมวัวหรือนมดัดแปลงก็ได้โภชนาการนี้ทั้งคู่   

การเลือกนมแบบไหนให้ลูก จะขึ้นอยู่กับว่าลูกเป็นเด็กกินเก่งกินดีหรือเปล่า ถ้าลูกกินง่ายสามารถกินอาหารตามวัยได้หลากหลาย ทั้ง หมู ไก่ ไข่ ปลา เครื่องใน กินผัก ผลไม้ คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมวัวในมื้อเสริมได้

แต่ถ้าลูกเป็นเด็กเลือกกิน กินยาก กินน้อย การให้ลูกกินนมดัดแปลงเสริมสารอาหารก็จัดเป็นทางเลือกและเป็นตัวช่วยเติมเต็มโภชนาการให้ลูกได้ แต่พฤติกรรมการกินของลูกสามารถฝึกฝนและปรับเปลี่ยนได้ คุณแม่ควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูกกินถูกหลักโภชนาการเพราะการได้รับสารอาหารครบถ้วนจากอาหารห้าหมู่ในมื้อหลักนับว่าดีที่สุด

คุณสมบัติและประโยชน์ของนม

นมยังมีประโยชน์กับทุกเพศทุกวัย ดังนี้

  • มีไขมันดี เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
  • โปรตีน ได้แก่ เคซิน โกลบูริน อัลบูมิน และเอนไซม์ ที่สูงซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดและกระดูก
  • แคลเซียมสูง เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน  ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และนมช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดีหากเกิดอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล
  • แลคโตส นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของสมอง
  • มีวิตามินหลายตัว บำรุงเม็ดเลือดให้สมบูรณ์
  • ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทให้ตอบสนองได้รวดเร็ว

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มนมวัว       

  • อาการท้องอืด และท้องเสียจากการดื่มนม เกิดจากการแพ้นม

ความจริง

อาการท้องอืดและท้องเสียจากการดื่มนมมิใช่การแพ้ (allergy) แต่เกิดจากร่างกายหยุดสร้างเอ็มไซม์แล็กเทส ทำให้ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสในน้ำนมได้ ส่งผลให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเสีย ดังนั้นควรดื่มนมครั้งละ 1 แก้ว ในเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือดื่มหลังอาหาร ไม่ดื่มนมตอนท้องว่างหรือเลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมปราศจากน้ำตาลแล็กโทส (Lactose free milk)

  • นมผงมีคุณภาพสู้น้ำนมโคสดไม่ได้

ความจริง

นมผงมีคุณค่าโภชนาการด้อยกว่าน้ำนมสดเพียงเล็กน้อย จากการที่โปรตีนและวิตามินบางส่วนในน้ำนมสดสลายตัวไปกับความร้อน ซึ่งในทางโภชนาการนับว่าไม่รุนแรง ดพราะสารอาหารหลักที่คาดหวังจากการดื่มน้ำนมยังคงอยู่ และที่สุญเสียไปก็สามารถทดแทนด้วยการเสริมลงไปได้

  • ดื่มนมข้าว นมถั่ว นมนัท ทดแทนนมโคได้

ความจริง

คุณภาพของโปรตีนในข้าวและถั่วซึ่งเป็นโปรตีนจากพืช มีคุณภาพด้อยกว่าโปรตีนในน้ำนมซึ่งเป็นโปรตีนจากสัตว์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์นมข้าว นมถั่ว และนมนัทที่อาจผลิตขึ้นมาให้มีปริมาณโปรตีนเท่าน้ำนมโค จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายที่ด้อยกว่า เนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบถ้วน

6 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มนมวัว

  • การดื่มนมเป็นประจำทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะจากยาปฏิชีวนะที่ปนเปื้อนในน้ำนมโค

ความจริง

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว อาจเป็นความจริง เพราะเกษตรกรบางราย ใช้ยาปฏิชีวนะผสมกับอาหารแม่โคเพื่อป้องกันโรคเต้านมอักเสบ (mastitie) แต่ปัจจุบันการเลี้ยงดูแบบปล่อยทุ่ง ดูแลด้านโภชนาการและสุขภาพของแม่โคตามแนวทางนมพรีเมียมของ อย. และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้นแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related