SHORT CUT
ทีดีอาร์ไอใช้ Big Data สำรวจตลาดแรงงานไทย พบประกาศรับสมัครกว่าล้านตำแหน่ง ส่วนใหญ่ต้องการทักษะ “Soft Skill”
ปริญญาตรี เป็นวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่นายจ้างต้องการมากที่สุด
ประกาศรับสมัครงานกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็น 88.6% ของประกาศรับสมัครงานทั่วประเทศ
ทีดีอาร์ไอใช้ Big Data เปิดสำรวจตลาดแรงงานไทย พบประกาศรับสมัครกว่าล้านตำแหน่ง ทักษะ “Soft Skill” ต้องการเยอะสุด และวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่นายจ้างต้องการมากที่สุดคือปริญญาตรี ขณะที่ประกาศรับสมัครงานกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 88.6% ของประกาศรับสมัครงานทั่วประเทศ
ทีมวิจัย “โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์” ของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้พัฒนาระบบติดตามการจ้างงานในประเทศไทย โดยใช้ Big Data และการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ได้พัฒนาต่อยอดจากโครงการการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการทักษะแรงงานด้วย Big Data เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา ที่สนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2561
โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการแรงงานและทักษะต่างๆที่นายจ้างต้องการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามสภาวะทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยใช้ Big Data จากประกาศรับสมัครงานซึ่งมีความละเอียดสูงและทันสมัย โดยผลการวิเคราะห์นี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวะศึกษาและสถาบันฝึกอบรมต่างๆ ที่ผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงาน
จากการสำรวจประกาศหางานครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ทีมวิจัยได้ใช้ประกาศหางาน โดยอ้างอิงข้อมูลทักษะจากฐานข้อมูล Lightcast ที่ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลประกาศรับสมัครงานจากทั่วโลก ก่อนที่จะนำมาสกัดทักษะต่าง ๆ และได้จัดหมวดหมู่ทักษะออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
และจากการสำรวจอาชีพล่าสุดจาก 15 เว็บไซต์หางานในไทยซึ่งเป็นเว็บไซต์หางานระดับประเทศทั้งหมดพบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 (1 ตุลาคม 2566–31 ธันวาคม 2566) มีประกาศรับสมัครงานทั้งหมด 1,299,111 ตำแหน่งงาน พบว่า วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่นายจ้างต้องการมากที่สุด
เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มประเภทธุรกิจที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน โดยอ้างอิงประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (TSIC) ปี 2552 และจากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการช่วยจำแนกข้อมูล พบว่าประกาศรับสมัครงาน ไม่สามารถระบุกลุ่มได้ 302,089 ตำแหน่งงาน (23.3%) ธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก มีจำนวนมากที่สุด 201,645 ตำแหน่งงาน(15.5%) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 163,185 ตำแหน่งงาน (12.6%) การผลิต 153,601 ตำแหน่งงาน (11.8%) การก่อสร้าง 95,501 ตำแหน่งงาน (7.4%) กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 71,694 ตำแหน่งงาน (5.5%) กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 59,717 ตำแหน่งงาน (4.6%) กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 53,610 ตำแหน่งงาน (4.1%)
กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 48,269 ตำแหน่งงาน (3.7%) กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 46,578 ตำแหน่งงาน (3.6%) การศึกษา 24,201 ตำแหน่งงาน (1.9%) ข้อมูล ข่าวสารและการสื่อสาร 19,259 ตำแหน่งงาน (1.48%) การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 11,941ตำแหน่งงาน (1.47%) การทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 11,941 ตำแหน่งงาน (0.9%) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 10,332ตำแหน่งงาน (0.8%) ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ 7,190 ตำแหน่งงาน (0.6%) เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง 6,608 ตำแหน่งงาน (0.5%) การบริหารราชการ การป้องกัน ประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 4,600 ตำแหน่งงาน (0.4%)
เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มอาชีพที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยจำแนกกลุ่มอาชีพ พบว่า ในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขายมีจำนวนมากที่สุด โดยมีจำนวนประกาศหางาน 282,710 ตำแหน่งงาน (21.7%) ตามมาด้วย อาชีพทางสำนักงานและสนับสนุนการดำเนินงาน 180,670 ตำแหน่งงาน (13.9%) อาชีพด้านธุรกิจและการดำเนินงานทางการเงิน 176,488 ตำแหน่งงาน (13.6%) อาชีพด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ 134,414 ตำแหน่งงาน (10.3%) นอกจากนี้ อาชีพด้านวิศวกรรม 91,703 ตำแหน่งงาน (7.0%) งานการจัดการ 60,336 ตำแหน่งงาน (4.6%) ผ่ายจัดซื้อ/จัดจ้าง 55,675 ตำแหน่งงาน (4.3%) งานติดตั้งดูแล และการซ่อมแซม 53,489 ตำแหน่งงาน (4.1%) งานศิลปะ,การออกแบบ,ความบันเทิง,กีฬา และสื่อ 46,287 ตำแหน่งงาน (3.6%)
งานสุขภาพและเทคนิคทางการแพทย์ 31,582 ตำแหน่งงาน (2.4%) งานบริการและเตรียมอาหาร 29,426 ตำแหน่งงาน (2.3%) งานโปรดักชั่น/ผลิตองค์ประกอบภาพรวม 22,527 ตำแหน่งงาน (1.7%) งานด้านการป้องกัน 18,678 ตำแหน่งงาน (1.4%) งานด้านกฎหมาย 17,408 ตำแหน่งงาน (1.3%) งานล่าม/แปลภาษา 15,769 ตำแหน่งงาน (1.2%) งานทำความสะอาดและบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ 15,248 ตำแหน่งงาน (1.2%) งานขนส่งและเคลื่อนย้ายวัตถุ 14,797 ตำแหน่งงาน (1.1%) สถาปนิก 12,485 ตำแหน่งงาน (1.0%) งานอื่นๆ 12,087 ตำแหน่งงาน (0.9%) งานด้านการสอนและงานห้องสมุด 10,816 ตำแหน่งงาน (0.8%) งานก่อสร้างและการดึงออกวัสดุ 10,769 ตำแหน่งงาน (0.8%) งานด้านการดูแลและบริการส่วนบุคคล 3,129 ตำแหน่งงาน (0.2%) งานวิทยาศาสตร์ 2,945 ตำแหน่งงาน (0.2%) งานการเกษตร การประมง และการป่าไม้ 2,201 ตำแหน่งงาน (0.2%)
เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามภูมิภาคที่ระบุในประกาศ พบว่าประกาศรับสมัครงานกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีการประกาศหางานถึง 1,150,939 รายการ คิดเป็น 88.6% ของประกาศรับสมัครงานทั่วประเทศ
ทั้งนี้โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์จะวิเคราะห์และนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องไปในทุกไตรมาส
“โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์” โดย ดร.ทศพล ป้อมสุวรรณ วินิทร เธียรวณิชพันธุ์ นรินทร์ ธนนิธาพร และฐิติรัตน์ สีหราช ทีมBig Data สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย