วิธีเอาตัวรอด เมื่อลิฟต์ค้าง ต้องทำอย่างไร ตั้งสติ ใช้โทรศัพท์ติดต่อข้อความช่วยเหลือจากคนภายนอก กดปุ่มฉุกเฉิน ประหยัดอากาศให้มากที่สุด อย่านั่งหรือนอนในลิฟต์
จากกรณีคุณตาและคุณยายติดลิฟต์ ของ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 (W1) ในช่วงเช้าวันที่ 21 ม.ค. 2567 กระทั่งอาสากู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและทีมช่าง ได้ทำการใช้ไฟสำรอง จนทำให้ลิฟต์ขึ้นมายังด้านบน ช่วยเหลือคุณตาและคุณยายได้อย่างปลอดภัย หลังติดอยู่ภายในลิฟต์เป็นเวลานานเกือบ 1 ชั่วโมง
ล่าสุด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รายงานพบว่าจากการตรวจสอบหาสาเหตุเบื้องต้นพบว่า มาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้หม้อแปลงไฟฟ้า ส่งผลให้ลิฟต์หยุดทำงาน และเมื่อได้รับแจ้งเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ดำเนินการเข้าซ่อมแซมในบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้าและลิฟต์ที่ขัดข้องทันที พร้อมได้ประสานงานกับทางศูนย์เอราวัณ (สายด่วน 1669) เพื่อให้สามารถปฐมพยาบาล และช่วยเหลือคุณตา และคุณยายได้ทันท่วงที
อย่าพยายามงัดประตูลิฟต์โดยพลการเด็ดขาด ลิฟต์ส่วนใหญ่มีระบบช่วยเหลือมีพัดลมที่สามารถระบายอากาศได้เพียงพอ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตั้งสติ พยายามอย่างตื่นตระหนกตกใจ และพยายามหายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ ไม่หวั่นวิตกจนเกินไป
กดปุ่มฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือ Emergency Call จะมีสัญลักษณ์ "รูปกระดิ่งหรือระฆัง" เพื่อส่งสัญญาณให้ภายนอกรับรู้
ในกรณีที่ปุ่มฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้ ให้ใช้วิธีการตะโกนออกไปด้านนอก หรือทุบประตูลิฟต์เพื่อขอความช่วยเหลือจากภายนอก
หากลิฟต์ที่คุณประสบเหตุไม่มีระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ให้เปิดไฟจากโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นแสงส่องสว่างภายในลิฟต์ โทรหรือพิมพ์ข้อความขอความช่วยเหลือ กับเจ้าหน้าที่ หรือ เบอร์โทรฉุกเฉินที่แผงควบคุม หรือคนรู้จัก และควรบอกรายละเอียดเบื้องต้น ว่ามีผู้โดยสารกี่คน มีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ตอนนี้ลิฟต์อยู่ชั้นไหน หรือบอกสถานะลิฟต์ว่ากำลังขึ้นหรือลงมาจากชั้นไหน เพื่อเจ้าหน้าที่ได้รู้ตำแหน่งในการช่วยเหลือ ทั้งนี้ควรประหยัดแบตเตอร์รี่โทรศัพท์เผื่อไว้กรณีฉุกเฉินด้วย
ขณะที่รอการช่วยเหลืออยู่ในลิฟต์ ควรขยับร่างกายให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และพูดคุยให้น้อยที่สุด เพื่อเป็นการประหยัดออกซิเจนให้ได้มากที่สุด หรือถ้าหากใส่เสื้อผ้าหนาๆ ให้ถอดออก เพื่อไม่ให้อากาศร้อนอบอ้าว
หากลิฟต์ค้างเป็นเวลานานๆ ควรยืนไว้จะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยลงสู่ที่ต่ำ เพราะฉนั้นอย่าไม่นั่งหรือนอนลงไปกับลิฟต์ เพราะจะทำให้ได้รับอากาศที่ไม่บริสุทธิ์เข้าไป อาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะหายใจติดขัดได้ หรือ หมดสติได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง