การลาออกจากการสส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย 3 คน คือ สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม และ ประเสริฐ จันทรวงทอง รมว.ดิจิทัล ถือเป็น "สัญญาณ" บางอย่างในกระแสธารการเมืองของไทย หลังจากที่ รัฐบาลเพื่อไทย บริหารงานมาเป็นเวลาเกือบครึ่งปีแล้ว
หากทบทวนจากความจริงแล้วความทรงจำ การลาออกของ สส.บัญชีรายชื่อ เพื่อให้ สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับถัดไปขยับขึ้นมา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของพรรคเพื่อไทย เพราะในช่วงเวลาก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ตุลาคม 2566 หลังการเลือกตั้ง 2566 และจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว สส.บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ก็ประกาศลาออก 2 คน คือ ชัยเกษม นิติสิริ โดยมี ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ขยับขึ้นมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 30 แทน (เพื่อไทย ได้เก้าอี้ สส. ปาร์ตี้ลิสต์ 29 ที่นั่ง) และ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (ลำดับที่ 16 เดิม) ที่ประกาศลาออก โดยมี น.ส.เพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ขึ้นมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 31 แทน
และ การลาออกจาก เป็น สส.ปาร์ตี้ลิสต์ (บัญชีรายชื่อ) ของ 3 รัฐมนตรีครั้งนี้ (สมศักดิ์-สุริยะ-ประเสริฐ) จะส่งผลให้ 3 คนรุ่นใหม่ของพรรคเพื่อไทย ได้ขึ้นมาเป็น สส. ได้แก่
• ละออง ติยะไพรัช รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย น้องสาว นายยงยุทธ ติยะไพรัช
• ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ที่ปรึกษา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ลูกชาย นายสาโรชน์ หงษ์ชูเวช ผอ.พรรคเพื่อไทย ซึ่งก่อนหน้านี้จะลงสมัคร สส.เขตลาดพร้าว และถอนตัวในภายหลัง เพื่อมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อ
• ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (ภูมิธรรม เวชยชัย) ลูกชาย นายเกษม รุ่งธนเกียรติ อดีต สส.สุรินทร์ หลายสมัย (อดีตนักการเมืองกลุ่ม 16)
ได้ขึ้นมาเป็น สส. แทน 3 รัฐมนตรีของเพื่อไทย
จะเห็นได้ว่า 3 สส.ใหม่ของเพื่อไทยครั้งนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีสายสัมพันธ์กับแกนนำภายในพรรค และเป็นคนเก่าคนแก่ ในพรรค
โดย จากปาก ความคิดเห็นของ "หลังบ้าน" คนสำคัญของเพื่อไทย อย่าง ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ แกนนำคนสำคัญของพรรคเพื่อไทย ระบุไว้ว่า "เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร เพราะเวลานี้คนที่เป็นรัฐมนตรี มีงานเต็มมือไปหมด จากที่ได้พูดคุยกับทั้ง 3 คน อยากให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในสภา"
สำหรับ ประเด็น การลาออกจากเป็น สส. ปาร์ตี้ลิสต์ ของ 3 รัฐมนตรีเพื่อไทย นั้น คงปฏิเสธไม่ได้ ว่านี่คือ หนึ่งใน "แทคติกทางการเมือง"
และต่อประเด็นคำถามว่า ทั้ง 3 รัฐมนตรี จะย้ายไปอยู่กับพรรคอื่นหรือไม่ ปัญคาใจเหล่านี้ คงมีคำตอบ ณ เวลานี้ ทั้ง 3 คน จะไม่ได้ไปพรรคไหน แต่อยากให้สภาฯ ขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่
นี่อาจเป็น ระบบการบริหารจัดการภายในของ พรรคเพื่อไทย ที่มีแบบฉบับรวมศูนย์อำนาจ มีการวางกลไกควบคุม แต่ละกลุ่มก๊วน ไม่ให้มีอำนาจต่อรองกับนายใหญ่ จนนำไปสู่การจำกัดบทบาทของบรรดาแกนหลัก หรือบิ๊กเนมทั้งหลาย ไม่ให้มีมากเกินไปภายในพรรค มาตรการนี้ก็เริ่มได้เห็นมาสักระยะหนึ่งแล้ว
และ นี่อาจเป็น รูปแบบการแบ่งแยกแล้วปกครอง ก็เป็นอีกกลยุทธ์ในการบริหารจัดการภายในของเพื่อไทย จะเห็นว่าคนที่รับบัญชาให้เดินเกมเปิดปฏิบัติการต่างๆ ล้วนเป็นกลุ่มคนเดิมๆ ที่ไม่ค่อยได้รับการการตอบรับจากลูกพรรค และไม่ค่อยลงรอยกับแกนนำกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งที่แกนนำแต่ละคน ต่างก็มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ“บิ๊กบอส”
นี่จึงเป็นหนึ่งในเทคนิคการบริหารคนในสไตล์รวมศูนย์ ปล่อยให้แกนนำระดับหัวแถว ขบเหลี่ยมงัดข้อกันเอง เพื่อที่บิ๊กบอสจะได้ควบคุมแกนนำทุกสายให้มาขึ้นตรงกับตัวเอง...ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง