svasdssvasds

"Easy E-Receipt" ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท สินค้า-บริการใดใช้สิทธิได้

"Easy E-Receipt" ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท สินค้า-บริการใดใช้สิทธิได้

Easy E-Receipt มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท มาใช้หักลดหย่อนภาษีได้

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการ "Easy E-Receipt" เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ ในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล) สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น

ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จึงได้เสนอร่าง กฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้สิทธิ ประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ “Easy E-Receipt” โดยให้ผู้ซื้อสินค้าสังเกตร้านค้าทีมีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt

ทำความรู้จัก Easy E-Receipt คืออะไร

โครงการ "Easy E-Receipt" (ชื่อเดิม E-Refund) เป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้ผู้ที่มีรายได้สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยจะต้องซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือจากผู้ประกอบการทั่วไปที่มีการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ออกโดยระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

เงื่อนไขใช้สิทธิมาตรการลดหย่อนภาษี 50,000 บาท Easy E-Receipt

  • ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล)
  • ซื้อสินค้า หรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งในรูปแบบปกติ และ e-book รวมถึงสินค้า OTP ซึ่งได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
  • ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 67

ผู้มีสิทธิลดหย่อนภาษี 50,000 บาท Easy E-Receipt

ผู้มีสิทธิลดหย่อนภาษี 50,000 บาท Easy E-Receipt ได้

เฉพาะผู้ที่มีหลักฐานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ Easy E-Receipt ได้

  1. กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมี ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ 

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ Easy E-Receipt ได้

  • สุรา เบียร์ ไวน์
  • ยาสูบ
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ
  • น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • สาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า บริการสัญญาณโทรศัพท์ และบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • บริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ และผู้รับบรการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด (ตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 67)
  • เบี้ยประกันวินาศภัย

  2. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้

  1. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  2. ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  3. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

 3. ค่าซื้อสินค้าและค่าบริการตามข้อ 1 และ 2 เมื่อรวมกันแล้วสามารถหักลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “มาตรการ Easy E-Receipt จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยคาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.18”

ผู้เสียภาษี และร้านค้าสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th หรือ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร.1161

ที่มา : กรมสรรพากร : The Revenue Department

 

วิธีเข้าร่วม Easy E-Receipt โครงการลดหย่อนภาษี 2567

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related