svasdssvasds

เตือนเที่ยวปีใหม่ 2567 “เพจที่พักปลอม” ระบาดหนัก ฝ้าย แอมฟายน์ โดนเป็นหมื่น

เตือนเที่ยวปีใหม่ 2567 “เพจที่พักปลอม” ระบาดหนัก ฝ้าย แอมฟายน์ โดนเป็นหมื่น

เตือนเที่ยวปีใหม่ 2567 “เพจที่พักปลอม” ระบาดหนัก แนะ 9 วิธีก่อนโอนมัดจำ เช็กให้ดี ล่าสุด ฝ้าย แอมฟายน์ จองที่พักโฮมสเตย์ชื่อดังในม่อนแจ่มโดนหลอกไปเป็นหมื่น

จากกรณีที่ น.ส.ณัฐหทัย แสงเพชร หรือ "ฝ้าย แอมฟาย" นักร้องชื่อดังถูกหลอกให้โอนเงิน จำนวน 11,980 บาท เป็นค่าจองที่พักโฮมสเตย์ ชื่อดังใน อ.ม่อนแจ่ม จ.เชียงใหม่

เตือนเที่ยวปีใหม่ 2567 “เพจที่พักปลอม” ระบาดหนัก ฝ้าย แอมฟายน์ โดนเป็นหมื่น

โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ฝ้าย แอมฟายน์ ได้ติดต่อกับเพจเฟซบุ๊กแห่งหนึ่ง เป็นภูดอย ที่ม่อนแจ่ม เพื่อติดต่อขอจองบ้านพัก เป็นเวลา 2 คืน หลังตกลงกับแอดมินเพจเป็นที่เรียบร้อย จึงโอนเงินค่าจองเต็มจำนวน  ไป 11,980 บาท ต่อมาไม่สามารถติดต่อเเอดมินเพจได้ และทราบภายหลังว่า มีมิจฉาชีพแอบอ้างเพจของโฮมสเตย์แห่งนี้ เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายโอนเงินไปหลายรายแล้ว เบื้องต้นเจ้าตัวเข้าแจ้งพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่รับแจ้งความไว้เรียบร้อยแล้ว

อยากให้เป็นอุทาหรณ์ของหลาย ๆ คนว่าเวลาอยากจะจองอะไรให้ใจเย็น ๆ เข้าใจว่าช่วงนี้คนน่าจะโดนประมาณนี้กันเยอะ แล้วก็มีหลายคนที่โดนมูลค่าสูงกว่านี้ แล้วก็ไม่ใช่แค่จังหวัดเดียวเป็นแบบทั่วประเทศเลย อยากให้ดูดีๆ เช็กดีๆ แล้วเท่าที่เห็นมาส่วนใหญ่สถานที่ที่แบบสวยๆ ดีๆ ก็ค่อนข้างที่จะเต็มหมดแล้วถ้าไปเจอว่า ที่สวยๆ แล้วยังว่างอยู่ ก็อยากให้คิดเยอะๆ จะได้ไม่ผิดพลาดแบบง่าย ๆ ฝ้าย แอมฟายน์ กล่าว

พฤติกรรมมิจฉาชีพ

  • สร้างเพจเฟซบุ๊กที่พักปลอมขึ้นมา หรือใช้เพจเฟซบุ๊กเดิมที่มีผู้ติดตามอยู่แล้วตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อเพจให้เหมือนกับเพจจริง คัดลอกภาพโปรไฟล์ ภาพหน้าปก เนื้อหา และโปรโมชันต่างๆ จากเพจจริงมาใช้หลอกลวงผู้เสียหาย และใช้เทคนิคในการซื้อ หรือยิงโฆษณาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  • ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตารแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่างๆโพสต์ข้อความในลักษณะว่ามีที่พักหลุดจองราคาดี กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว ก็จะไม่สามารถติดต่อเพจนั้น หรือบัญชีอวตารนั้นได้ หรือกรณีที่แย่ที่สุดเมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงที่พักจริงแล้ว กลับได้รับแจ้งว่าไม่ได้มีการจองที่พักมาแต่อย่างใด ทำให้นอกจากจะสูญเสียทรัพย์สิน เสียเวลาแล้ว ยังจะไม่มีที่เข้าพักอีกด้วย

วิธีการป้องกันการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง "ที่พักปลอม"

  1. สำรองที่พักผ่านช่องทางที่เป็นทางการ หรือผ่านผู้ให้บริการสำรองที่พักออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ หรือผ่านเว็บไซต์ของที่พักโดยตรง
  2. หากต้องการที่จะเข้าสู่เพจเฟซบุ๊กใดให้พิมพ์ชื่อด้วยตนเอง และตรวจสอบให้ดีว่ามีชื่อซ้ำ หรือชื่อคล้ายกันหรือไม่ เพจใดคือเพจจริง
  3. เพจเฟซบุ๊กจริงจะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
  4. โทรศัพท์ไปสอบถามที่พักก่อนโอนเงิน ว่าเพจที่พักถูกต้องหรือไม่ เลขบัญชีถูกต้องหรือไม่
  5. เพจเฟซบุ๊กจริงจะมีส่วนร่วมในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการรวิวที่พักจากผู้เข้าพักจริง
  6. เพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อยกว่าเพจจริง และมักจะเพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน
  7. ระมัดระวังการประกาศโฆษณาที่พักราคาถูก หรือที่พักที่อ้างว่าหลุดจอง
  8. ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่ ผู้จัดการเพจอยู่ในประเทศใด
  9. หลีกเลี่ยงการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา บัญชีที่รับโอนควรเป็นบัญชีชื่อที่พัก หรือบัญชีชื่อบริษัท และต้องตรวจสอบหมายเลขบัญชีทุกครั้งว่ามีประวัติการหลอกลวงหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ Google, blacklistseller.com หรือ chaladohn.com เป็นต้น

ข้อมูลจาก : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. - CCIB 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related