"เนชั่นโพล" เผยผลสำรวจ ประชาชนคนไทย เห็นด้วยแจกเงินดิจิทัล 72.46 % คาดช่วยได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่ 31.93 % ห่วงประเทศเป็นหนี้เพิ่ม 54.73 % พอใจผลงาน 3 เดือน รัฐบาลเศรษฐา ให้สอบผ่านเฉียดฉิวมากๆ 54.73 % รับพอใจนโยบายลดค่าพลังงาน-เงินดิจิทัล-30 บาทรักษาทุกโรค-สวัสดิการ
เนชั่นโพล ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท” โดยดำเนินการสำรวจในช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2566 ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายใน 6 ภูมิภาค เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาทั่วประเทศ รวมจำนวน 1,222 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มโดยใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธี Stratified Five-Stage Random Sampling แต่ละตัวอย่างที่ถูกเลือกมีค่าถ่วงน้ำหนัก (sampling weight) ที่แตกต่าง วิธีการสำรวจเป็นการลงพื้นที่สำรวจ 100% ค่าความผิดพลาด (error) ของการสำรวจอยู่ที่ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ผลการสำรวจจากเนชั่นโพลมีดังนี้
ผลสำรวจในภาพรวม พบว่า ประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 72.46
เมื่อวิเคราะห์โดยจำแนกตามเพศ พบว่า กลุ่มอายุที่ไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ กลุ่มอายุ 18-25 ปี รองลงมาคือ 36-45 ปี อาชีพที่ไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รองลงมาคือ นักเรียน/นักศึกษา และประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ตามลำดับ ส่วนระดับการศึกษาที่ไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ สูงกว่า ป. ตรี รองลงมา คือ ป. ตรี
พบว่า ประชาชน ร้อยละ 46.64 ตอบว่า เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ไปได้
ร้อยละ 21.25 เพื่อให้ประชาชนมีเงินไปลงทุน
ร้อยละ 21.40 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้น
และ ร้อยละ 10.71 เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้เมื่อช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ต้องทำให้สำเร็จ ตามลำดับ
พบว่า ประชาชน ร้อยละ 31.93 ตอบว่า ทำให้ประเทศเป็นหนี้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 23 ควรนำงบไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการอื่นที่ทำให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ร้อยละ 21.60 ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
ร้อยละ 18.74 เงินดิจิทัลใช้จ่ายยาก ใช้ไม่เป็น ได้มาก็ไม่มีที่จะไปใช้เงิน เพราะสถานที่/แหล่งที่จะใช้จ่ายเงินได้มีจำกัด เช่น ไม่ค่อยมีร้านค้ารับ ไม่สามารถนำเงินดิจิทัลไปจ่ายเป็นค่าเทอมได้ ฯลฯ
ร้อยละ 4.74 ไม่ได้ช่วยอะไรมาก 10,000 น้อยเกินไป/ไม่เพียงพอ
ผลสำรวจในภาพรวม พบว่า ประชาชน 54.73 % ให้ความเห็นว่าสอบผ่าน
เมื่อวิเคราะห์โดยจำแนกตามเพศ พบว่า เพศ ที่ให้ความเห็นว่าสอบไม่ผ่าน คือ เพศทางเลือก มี 67.81%
กลุ่มอายุ ที่ให้ความเห็นว่าสอบไม่ผ่านคือ กลุ่มอายุ 18-25 ปี 51.47% และ อายุ 46-59 ปี 51.16%
อาชีพ ที่ให้ความเห็นว่าสอบไม่ผ่าน คือ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา 64.25% ข้าราชการ/พนักงาน 59.02% และ ประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย 51.77%
และระดับการศึกษา ที่ให้ความเห็นว่าสอบไม่ผ่านคือ สูงกว่า ป. ตรี 77.27% รองลงมา คือ ป. ตรี 63 % และ อนุปริญญา/ปวส. 51.13%
1ลดค่าพลังงาน ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และน้ำมัน 56.47%
2 เติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet 40.88%
3 ยกระดับโครงการ 30 บาท บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกพื้นที่ มะเร็งครบวงจร ฯลฯ 34.48%
4 ยังคงให้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 32.36%
5 เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท 28.66%
6 ขยายโอกาสทางการค้า เช่น ขยายตลาดใหม่ ๆ เปิดตลาดใหม่ให้เกษตรกร เสนอตัวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เจรจาการเปิดเสรีการค้า ฯลฯ 27.27%
7 ปลุกท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ 19.26%
8 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้นอกระบบ 14.97%
9 พักหนี้เกษตรกร 13.31%
10 ปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ 18,000 บาท 10.51%
11 ลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ เกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ สมรสเท่าเทียม สุราชุมชน ฯลฯ 6.94%
12 ขยายโครงสร้างพื้นฐาน ในกรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยว และสนามบิน 5.87%
13 ผลักดัน Soft Power เพื่อสร้างรายได้และชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 4.31%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง