ค่าไฟขึ้น หรือค่าไฟลง ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่ากระทรวงพลังงานจะเลือกทางเลือกไหน ต้องจับตาดูต่อไป แต่...วันนี้จะพาส่องรายได้โรงไฟฟ้าไทย Q3/66 บริษัทไหนเป็นอย่างไร?
หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และมีมติเห็นชอบให้ปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย.2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จากนั้นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาระบุทันทีว่า รับไม่ได้กับมติดังกล่าว เป็นราคาที่สูงเกินไป ประชาชนเดือดร้อน พร้อมเตรียมเรียกประชุมเพื่อหารือเรื่องราคาค่าไฟฟ้าอีกครั้ง ขณะที่กระทรวงพลังงาน นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ทำให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เตรียมหาแนวทางไว้แล้วเล็งปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ค่าไฟถูกลงแน่แย้มไม่เกิน 4.20.บาท ยืนยันไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
จนมาถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ และล่าสุดกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า กระทรวงพลังงาน มีการเปิดเผยว่า ถ้าหากรัฐบาลอุ้มค่าไฟงวด ม.ค.-เม.ย.2567 เหลือ 4.20 บาท จะเป็นผลักภาระต้นทุนให้ กฟผ.เพิ่มอีก 1.3 หมื่นล้าน และแบกภาระ 1.2 แสนล้าน รวมต้องกู้เงินมาบริหารสภาพคล่องไปแล้ว 1.1 แสนล้าน เพิ่มเพดานหนี้สาธารณะประเทศ
ในขณะที่เรื่องค่าไฟขึ้น ขึ้นค่าไฟ ยังไม่ได้ข้อสรุป วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปส่องดูรายได้ธุรกิจโรงไฟฟ้าในไทยว่ามีบริษัทไหน รายได้เท่าไหร่ โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และข้อมูลงบการเงินของแต่ละบริษัท ระบุรายละเอียดดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ’ แบตเตอรี่ยักษ์ ช่วยเก็บกักพลังงานสะอาด
พลังงานสะอาด 100% เปิดตัวโรงไฟฟ้าจากกระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่เวลส์
เปิดข้อดี -ข้อเสีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากบทเรียนญี่ปุ่น หากอนาคตไทยต้องมี