Gaslighting แปลว่าอะไร? แม้กการแปลตรงตัวอาจแปลว่าตะเกียงแต่การตีความนั้นถูกใช้เพื่อคำเปรียบเทียบ ภาวะการถูกชักใยจากคนอื่น และทำให้สับสนเกี่ยวกับความทรงจำหรือการรับรู้ของตนเอง โดยมีที่มจากภาพยนตร์เรื่อง ‘Gaslight’ (1944) หรือเกือบๆ 80 ปีที่แล้วเลย
จากกรณีที่ กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมขึ้นมา กับประเด็นข่าว ที่มี หญิงสาวที่อยู่ในวงการวิทย์ฯ ออกมาเปิดเผยเรื่องราวของการ ถูกคุกคามร่างกาย-จิตใจ จาก นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ชื่อดัง ท่านหนึ่ง และที่จริงแล้วมีผู้หญิงตกเป็นเหยื่อหลายราย , ประเด็นนี้ นับได้ว่า เป็นเรื่องที่ สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ที่อาจจะเคยมี ประสบการณ์ที่ไม่ดี แบบนี้ ทิ่มแทงเป็นบาดแผลในจิตใจ
และในเวลาช่วงแห่งยุคสมัย 2020s มีคำคำหนึ่ง ที่ถูก ขีดเส้นใต้ ที่เชื่อมโยง และเกี่ยวพันกับประเด็นร้อนข่าวนี้ , นั่นคือคำว่า “Gaslighting” ซึ่งคำคำนี้เคยเป็นคำแห่งปี 2022 ซึ่งเปรียบเสมือน กระจกสะท้อนยุคสมัยแห่งความลวงและการปั่นกระแสในจิตใจ
สำหรับ คำว่า Gaslight เป็นคำที่ผู้คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster (บริษัทสัญชาติอเมริกันที่จัดพิมพ์หนังสืออ้างอิง มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในด้านพจนานุกรม และเป็นฐานข้อมูลด้านภาษาที่มีอายุยาวนานกว่า 180 ปี) จึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลท์)
“Gaslighting” ซึ่งเป็นคำที่ยังไม่มีการบัญญัติอย่างเป็นทางการในไทย แต่ก็พอจะทับศัพท์ได้ว่า “แก๊สไลท์ติ้ง” เป็นคำที่มีการค้นหาในปี 2022 ซึ่งตัวเลขสถิติเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 1,740%
ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง (ทางใดทางหนึ่ง)
Gaslighting แปลว่าอะไร?
พูดง่ายๆ คำว่า Gaslighting คือ “การกระทำหรือการปฏิบัติที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง” หรือในภาษาง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ และเรียบง่ายที่สุด ก็คือการ” ปั่นประสาท” ให้เกิดความเข้าใจผิดเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง โดยเริ่มมีการใช้คำนี้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000
ที่มาของคำนี้มาจากบทละคร Gaslighting ในปี 1938 ซึ่งเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่พยายามทำให้ภรรยาของเขาเชื่อว่าตัวเธอกำลังจะเสียสติ โดยฉากจำของ Gaslight คือ เขาแอบหรี่ไฟทำให้ภรรยาตกใจ แต่เขายืนยันกับภรรยาว่า ไฟไม่ได้หรี่ลง ทำให้เธอคิดว่าตัวเองเสียสติแล้วจริง ๆ จากนั้นในปี 1944 ก็มีการทำภาพยนตร์ ที่ชื่อมีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของตัวละคร พอลล่า Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง
จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยมหาศาล มีเงินมีทองใช้ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’
โดย คำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน เมื่อ Paula เดินเข้าไปในห้อง เขาก็แอบหรี่ไฟลง จนตัวละครพอลล่าตกใจว่าทำไมอยู่ดีๆ ห้องถึงมืด โดยผู้ชายทำเป็นไม่รู้เรื่อง แล้วหลอกว่าไฟสว่างปกติ เธอเป็นอะไรหรือเปล่า เธอโอเคหรือไม่ เพื่อตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเชื่อว่าตัวเองนั้นคิดไปเอง พร้อมกับคอยหลอกให้เธอกลัวตัวเองสารพัดทาง จนสุดท้ายหญิงสาวต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช
Merriam-Webster ระบุว่า ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ Gaslighting (แก๊สไลท์ติ้ง) ยังเป็นคำที่ถูกใช้เพื่ออธิบายการหลอกลวงและการชักใยบงการในสังคม เช่น ข่าวปลอม ทฤษฎีสมคมคิดต่าง ๆ หรือ กับกรณีล่าสุดที่เป็นประเด็นร้อนในสังคม ด่าทอ ต่อว่าให้อาย การลดทอนศักดิ์ศรีของเพื่อนนุษย์ และด้อยค่าความเป็นมนุษย์ การทำลาย identity หรืออัตลักษณ์ของเหยื่อ ให้รู้สึกไม่เหลือความเป็นคน หรือ การคุมคามทางเพศและจิตใจ ควบคุม หลอกใช้ ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายกับเด็กและผู้หญิง
ใครและใคร...ที่เคยอยู่ในความสัมพันธ์ที่โดนแก๊สไลต์มาก่อน หรือกำลังเผชิญหน้า สบตากับมันอยู่ และยังไม่สามารถเดินออกจากความเป็นพิษนี้ได้ ก็คงต้องหาพื้นที่ปลอดภัย แม้สักเสี้ยวหนึ่งของวัน อยู่กับตัวเองหรือคนอื่นที่เขารักและหวังดีกับเรา
ทั้งนี้ก็เพื่อเตือนตัวเองว่าตัวเรานั้นมีคุณค่าและเป็นคนพิเศษแค่ไหน ให้แยกเสียงที่ตั้งใจทำร้ายเราออกจากเสียงที่มาจากก้นบึ้งอันเต็มไปด้วยความรักของเราออกให้ได้ เยียวยาตัวเองด้วยการชโลมทั้งร่างและจิตวิญญาณของเราด้วยความรักไปเรื่อยๆ เพื่อดึงตัวตนคนเก่าก่อนโดนทำร้ายกลับคืนมา โดยอาจจะต้องทำไปพร้อมๆ กับการพูดคุยกับนักจิตวิทยา ที่ไว้ใจ เพื่อความมั่นใจว่าเราจะมีมือคอยช่วยพยุงอยู่เสมอ
การปกป้องตนเองและระมัดระวังไม่ให้ถูกทำลายความมั่นใจในตัวเองด้วยหลุมกับดักทางจิตใจนี้อาจมีได้หลายหนทาง เช่น
เว้นระยะห่าง ถอยห่างจากความรู้สึกสงสัยในตัวเองที่ถูกทิ้งเอาไว้ให้ การเดินออกจากสถานการณ์เหล่านั้น หรือให้เวลาตัวเองได้หายใจลึกๆเพื่อผ่อนคลายและมีเวลาใช้ความคิด อาจช่วยให้เราสามารถทบทวนได้ว่ากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งใด
เก็บหลักฐาน เพราะ gaslighting (แก๊สไลท์ติ้ง) มักทำให้คนสงสัยในตัวคุณเอง การเก็บหลักฐาน ไว้นั้นจะช่วยให้คุณสามารถยืนยันกับตัวเอง รวมถึงสถานการณ์ตรงหน้าได้ว่าความคิดของคุณไม่ใช่เพียงแค่ความคิดเห็นของคุณฝ่ายเดียว
ใช้มุมมองที่ 3 มุมมองของคนที่อยู่ภายนอกสถานการณ์อาจช่วยให้คุณมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นในเรื่องราวเหล่านั้น การอยู่ในสถานการณ์ที่มีการบีบคั้นทางอารมณ์ ย่อมทำให้มุมมองต่าง ๆ ของคุณแคบลงและไม่สามารถประมวลผลสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ถอยห่างจากความสัมพันธ์ แม้จะเป็นหนทางที่ยากในการกระทำได้จริง แต่การเผชิญกับ gaslight ซ้ำ ๆ จนทำให้สูญเสียความเป็นตัวตนไปนั้นย่อมส่งผลเสียที่มากกว่า หากพบสัญญาณของการกระทำเหล่านั้นและพบว่าไม่มีหนทางอื่นใดที่จะแก้ไขได้ การจบความสัมพันธ์นั้นอาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการหลีกให้พ้นและจบการทำร้ายทางจิตใจลง
ความเชื่อมั่นในตนเองและความเป็นตัวตนนั้นคือสิ่งสำคัญที่ไม่ควรปล่อยให้ถูกทำลายลงไป การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและยืนยันความคิดของตนเองเมื่อพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง อาจช่วยให้พ้นจากจากทริคทางจิตใจเหล่านี้ได้ เพราะคนทุกคนมีความแตกต่างกันและมีความคิดเป็นของตนเอง การเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อนนั้นจึงไม่ใช่ความผิดใด ๆ
และชีวิตของเรา...อย่าให้คำพูดของใคร ทำลายคุณค่าในตัวของคุณเอง
ที่มา psy.chula nbcnews psychologytoday
ข่าวที่เกี่ยวข้อง