svasdssvasds

ภาวะ PTSD คืออะไร ทำความรู้จัก รอยบาดแผลทางใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายรุนแรง

ภาวะ PTSD คืออะไร ทำความรู้จัก รอยบาดแผลทางใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายรุนแรง

ทำความรู้จัก ภาวะ PTSD ซึ่งนี้อาจจะทำให้เกิดบาดแผลทางใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงจนไม่อาจรับมือไหว เรื่องคำด่าทอ สาดใส่อย่างกันหนักหน่วง ด้อยค่ากัน ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิด PTSD

รู้จัก ภาวะ PTSD  รอยบาดแผลทางใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายรุนแรง


เรื่องราวของผลกระทบทางใจ บาดแผลทางใจ ไม่ว่ากับใครก็ตาม คนที่อ่อนแอที่สุด หรือ คนที่จิตใจเข้มแข็ง ก็มีสิทธิ์เจอกับวันร้ายๆ วันแห่งความอ่อนแอ และอาจจะต้องเจอกับ ภาวะ PTSD ก็ได้ , เรื่องคำด่าทอ ผรุสวาท สาดใส่อย่างกันหนักหน่วง ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิด PTSD 

แล้วยิ่ง ณ เวลานี้ สังคมไทยให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องของการ ระมัดระวังสุขภาพจิต กันด้วย เพราะว่า "ความเครียด"  ที่เป็นศัตรูตัวร้ายของการใช้ชีวิตบนสังคมที่เต็มไปความเรื่องร้ายๆ เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ไม่เว้นแม้แต่ละวัน 

ดังนั้น หากจะอธิบายถึงความหมายของ PTSD ให้ชัดนั้น ลงไปแล้ว  คำว่า PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ภาวะหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของมนุษย์ ทำให้เกิดความเครียด จากเหตุการณ์ที่สะเทือนใจที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือบุคคลรอบข้าง จนเกิดภาวะการจดจำเหตุการณ์เหล่านี้มาเป็นความฝัน ความวิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

PTSD ยังคงเป็นโรคหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ ถ้าเหตุการณ์เหล่านี้สามารถสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้ประสบภัยได้มาก อาจทำให้คนผู้มีสามารถจดจำเหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ทั้งสิ้น

ภาวะ PTSD คืออะไร ทำความรู้จัก รอยบาดแผลทางใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายรุนแรง

• สถานการณ์ใดบ้าง ที่ทำให้เสี่ยงเป็น PTSD   

การถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก
การถูกทารุณกรรมทางเพศ
การใช้สารเสพติด
พบเจอเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัญหาครอบครัว
การทำร้ายร่างกาย
ถูกคุกคามด้วยอาวุธ
อุบัติเหตุ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
การโจรกรรมในรูปแบบต่างๆ 

โดยในทุกเหตุการณ์สามารถทำให้ตัวเองนั้นเสียงเป็นโรค PTSD ขึ้นอยู่กับผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้นสามารถควบคุมสติ และจิตใจของตนเองกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ละคนจะแบกรับความเครียดความกดดันต่างๆได้ไม่เท่ากัน 

นั่นทำให้ ภาวะ PTSD นี้สามารถบรรเทา และเยียวยาให้เบาลงได้จากคนรอบข้าง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะ PTSD คืออะไร ทำความรู้จัก รอยบาดแผลทางใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายรุนแรง
 

อาการของโรค PTSD มีอะไรบ้าง 

  • รู้สึกเหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำๆ  อาทิ อาการฝันร้าย ฝันถึงเหตุการณ์นั้นบ่อย ๆ
  • พยายามหลีกเลี่ยงกับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ เช่น ไม่ไปในสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ พยายามไม่พูดถึง
  • อารมณ์หรือการคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เช่น รู้สึกห่างเหิน ไม่ยินดียินร้าย ไม่สามารถรู้สึกด้านบวกได้-ตื่นตัวมากเกินปกติ เช่น นอนไม่หลับ กลัวหรือตกใจง่ายกว่าปกติ
  • หงุดหงิด โมโหรุนแรง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมถึงหวาดระแวงและตกใจง่าย 
  • นอกจากนี้ยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า การติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อนของโรค PTSD

PTSD อาจมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ อย่างโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคกลัวแบบจำเพาะได้ รวมถึงอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำร้ายตัวเอง เช่น การใช้ยาเสพติด หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดหน้าอก ปวดท้อง หรือมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติด้วย

ในกรณีที่อาการค่อนข้างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตาย ควรรีบขอความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาจากบุคคลใกล้ชิด หรือผู้ที่พบเห็นอาการควรรีบพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ทันที ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถขอรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ โดยโทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง


• วิธีเยียวยา ฟื้นฟูเบื้องต้น หากต้องเผชิญภาวะ PTSD 

PTSD นับเป็นภาวะที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถป้องกันได้เนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดา หรือควบคุมได้  เราไม่มีทางรู้เลยว่า ความรุนแรง จะพุ่งเข้าแสกหน้าของเราทุกคน มันจะจู่โจมจิตใจของเราวันไหน 

ทำให้หากคิดว่าสภาพจิตใจยังไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้หลังจากเกิดเหตุการณ์ภายใน 1 เดือน สามารถเยียวยาได้เบื้องต้นด้วยการพูดคุยกับคนในครอบครัว คนรัก และคนที่ไว้ใจ หรือการมาพบแพทย์ 

ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยอาการ ความเสี่ยง และหาทางเยียวยา อาจทำได้ด้วยกิจกรรม การพูดคุย ปรับแนวความคิด และอาจมีการทานยาร่วมเพื่อรักษาอาการได้ ยิ่งหาจิตแพทย์ได้เร็วความเสี่ยงเป็นโรค PTSD ยิ่งน้อยลง และกลับมาเป็นปกติได้ไวยิ่งขึ้น
 

ที่มา pobpad petcharavejhospital

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related