เช็กเงื่อนไข หลักเกณฑ์ "ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน" จาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เพิ่ง เปิดโครงการคืนความเป็นธรรมให้ประชาชน โดยโครงการนี้ จะมี 9.3 ล้านคน ที่เข้าหลักเกณฑ์ มาดูกันว่าใครจะเข้าหลักเกณฑ์นี้บ้าง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจต่อสังคม , เมื่อ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร., พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตัดริบบิ้น เปิดโครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” เพื่อคืนความเป็นธรรมให้ประชาชนแก้ไขปัญหาในการคัดกรอง
สำหรับโครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” นี้ มีขึ้นเพราะ ประชาชนจำนวนมากที่เคยมีประวัติถูกดำเนินคดีอาญา แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง จะยังมีประวัติอาชญากรรมอยู่ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้ถูกตัดสิทธิ ไม่ได้รับพิจารณาเข้าทำงาน ขาดโอกาสหางาน กลับไปใช้ชีวิต ทำให้ขาดรายได้ และอาจทำให้ต้องก่ออาชญากรรม ซึ่งนับได้ว่า เป็นความ "ไม่แฟร์" อย่างหนึ่ง ต่อคนที่มี "ตราประทับ" เหล่านี้ติดตัว
เชื่อหรือไม่ว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีรายการที่ยังไม่เคยมีการรายงานผลคดีถึงที่สุดในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากรของไทย จำนวนกว่า 13 ล้านรายการ และเมื่อ มี โครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” จะ ทำให้สามารถคืนสิทธิ์ให้กับประชาชน ได้ 9.3 ล้านคน จาก 13,051,234 คน เลยทีเดียว ในระยะเวลา 2 ปี
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ประวัติบุคคลให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 วรรค 2 ว่า หากไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การถอนประวัติข้อมูล ของกองทะเบียนประวัติอาชญากรใน 9 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1.คดีมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง - ยกฟ้อง
2.มีกฎหมายยกเลิกความผิดนั้น เช่น ใบกระท่อม กัญชา
3 .ผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่มีผลเป็นที่น่าพอใจ
4.ผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรม
5 .ได้รับการอภัยโทษ
6.ไม่มีการกระทำความผิดซ้ำภายใน 20 ปี
7 .ผู้ต้องหาเป็นเด็ก หรือเยาวชน
8. มีกฎหมายล้างมลทิน
9.มีคำพิพากษาใหม่ว่ามิใช่ผู้กระทำความผิด
10.คดีขาดอายุความ
ประเด็นนี้ ถือว่าจะเป็นประโยชน์ ในบ้างแง่มุม เพราะจะได้ไม่เสียสิทธิ เช่น โทษเมาแล้วขับจะไม่ใช่อาชญากร แต่ในส่วนของบริษัทเอกชน แต่ละบริษัทมีหลักเกณฑ์ มาตรฐานในการรับคนทำงานไม่เหมือนกัน แต่ยอมรับว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100% แต่จะพยายามแก้ปัญหาให้คนได้รับสิทธิมากที่สุดในการกลับไปใช้ในชีวิตในสังคม
ส่วนในประเด็นของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่อยู่ระหว่างต้องโทษและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจนั้น พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ยืนยันว่าไม่สามารถใช้ได้กับ นายกฯรับมนตรีคนที่ 23 ของไทย เพราะมีโทษสูงกว่า 1 ปี และเป็นโทษหนัก
ประเด็นของทักษิณนั้นไม่ได้อยู่ในความดูแลของตำรวจ แต่อยู่ในการดูแลของกระบวนการยุติธรรม หรือกรมราชทัณฑ์ ส่วนจะมีการพระราชทานยศคืนนายทักษิณหรือไม่นั้น ผบ.ตร.ระบุว่า ไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบคุณสมบัติได้เองว่าเป็นผู้ที่อยู่ในโครงการลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชนหรือไม่
ผ่านเว็บไชต์ www.crd-check.com หาก มีชื่ออยู่ในโครงการ แสดงว่าประวัติอาชญากรรมถูกคัดแยกและถอนประวัติเรียบร้อยแล้ว
ชีวิตของคนที่เคยทำผิดพลาด คงไม่ง่ายที่จะกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติเหตุหนึ่งก็เพราะมักจะถูกปิดกั้นโอกาสในการประกอบอาชีพ และเรื่องของการ ที่เคยมีประวัติถูกดำเนินคดีอาญา แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็โดนปิดกั้นโอกาสเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อมีโอกาส ที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น ...."โอกาส" นี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่ม "สิ่งดีๆ" ให้มีมากขึ้นในสังคม แต่ยังเป็นการเติมกำลังใจกับคนที่อาจหมดหวังแล้วในชีวิตด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง