"วิธีการจัดเก็บสารเคมี" ที่ดีที่สุด คือการจัดกลุ่มสารเคมีตามความว่องไวต่อปฏิกิริยา และกำหนดให้สารที่เข้ากันไม่ได้ วางแยกเก็บให้ห่างจากกันอย่างเด็ดขาด
สารเคมีอันตรายจัดเป็นสิ่งคุกคามที่สำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เนื่องจากสารเคมี มีคุณสมบัติความเป็นอันตรายหลายด้าน อาทิ มีพิษ กัดกร่อน ไวไฟ หรือระเบิด ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อ ผู้ปฏิบัติงาน ทรัพย์สิน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารเคมีอันตรายมาใช้ ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวนหลากหลายชนิด
หากการใช้งานและเก็บรักษาสารเคมีอันตรายไม่ได้มาตรฐานที่เหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดอันตรายและผลกระทบตามมาได้ จากสถิติรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์อุบัติภัยหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีในประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พบว่าเกิด เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีทั้งหมด 109 ครั้ง โดยเป็นเหตุเพลิงไหม้ ระเบิด สารเคมีรั่วไหล อุบัติเหตุการขนส่ง
ซึ่งเหตุการณ์ส่วนใหญ่จะเกิดในโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถ ป้องกันได้ หากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีมีความเข้าใจ และการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยง ของการใช้และการเก็บรักษาสารเคมีอันตราย
วิธีการจัดเก็บสารเคมีนั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า สารเคมีใดมีความอันตรายมากหรือน้อย ซึ่งก่อนที่จะจัดเก็บนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้ประเภทของสารเคมีก่อน โดยสามารถพิจารณาจากคุณสมบัติความเป็นอันตรายโดยคุณสมบัติหลักๆ ของสารเคมีนั้น นั่นก็คือ การติดไฟ การระเบิด และการออกซิไดซ์ ตามมาด้วยคุณสมบัติรอง เช่น ความเป็นพิษ ความกัดกร่อน นั่นเอง
ประเภทของสารเคมี แบ่งได้ดังนี้
• สารติดเชื้อ
• สารกัมมันตรังสี
• วัตถุระเบิด
• แก๊สอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน
• สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง
• สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ
• สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
• สารออกซิไดซ์
• ของแข็งไวไฟ
• ของเหลวไวไฟ
• สารพิษ
สารกัดกร่อน
• ของเหลวติดไฟ/ ของเหลวไม่ติดไฟ
• ของแข็งติดไฟ/ ของแข็งไม่ติดไฟ
วิธีแบ่งประเภทของการจัดเก็บสารเคมีได้อีกแบบหนึ่ง ดังนี้
1. สารเคมีไวไฟ เป็นสารเคมีที่สามารถติดไฟได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
• ควรเก็บในพื้นที่อากาศถ่ายเท
• เก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย ควรมีฝาปิดอย่างแน่นอน และถ้าจะให้ดียิ้ง ควรจะเก็บไว้ในตู้สำหรับสารไวไฟ
• ควรเก็บสารเคมีชนิดนี้ให้ห่างจากสารออกซิไดซ์ที่สามารถทำปฏิกิริยาจนเกิดความร้อนหรือระเบิดได้
• ต้องมีป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือก่อประกายไฟติดไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ไร้ระบบความปลอดภัยเคมี ปมปัญหาอุบัติภัยสารเคมีซ้ำซากที่ท่าเรือแหลมฉบัง
• ไซยาไนด์ สารเคมีอันตรายถึงชีวิต มีพิษสูง ละลายน้ำได้ดี ออกฤทธิ์เร็ว
• 17 แหล่งน้ำทั่วประเทศ ไม่ควรใช้เล่นสงกรานต์ 2566 แบคทีเรีย พยาธิ สารเคมีอื้อ
2. สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ เป็นสารเคมีที่จะไม่ก่ออันตรายใดๆ ถ้าไม่มีสารหรือสิ่งใดเข้ามาทำปฏิกิริยากับมัน แต่ถ้าหากเข้าใกล้ความร้อน ก็จะเกิดระเบิดหรือสารพิษได้
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
• ควรแยกพื้นที่จัดเก็บออกจากกันอย่างชัดเจน
• ควรเตรียมเครื่องดับเพลิง Class D เอาไว้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้จาก Oxidizers
• เก็บให้ห่างเชื้อเพลิงและวัตถุติดไฟ
• เก็บห่างจาก reducing agents เช่น zinc, alkaline metal และ formic acid เป็นต้น
3. สารเคมีที่เป็นพิษ คือ สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงสารกัมมันตภาพรังสีด้วย
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
• ควรใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด และควรให้ห่างจากแหล่งติดไฟ
• ควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งตัวภาชนะและบริเวณโดยรอบ
• สำหรับสารที่ไวต่อแสง ควรเก็บไว้ในที่เก็บที่มีสีชา และอยู่ในพื้นที่แห้ง เย็น และมืด
4. สารเคมีกัดกร่อน เป็นสารเคมีที่เป็นกรด หรือด่าง ซึ่งสามารถทำลายบรรจุภัณฑ์ได้เลยทีเดียว จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
• หากเป็นสารเคมีที่เป็นด่าง ควรเก็บแยกจากสารที่เป็นกรด
• หากเป็นสารเคมีที่เป็นกรด ควรเก็บแยกจากสารที่สามารถทำปฏิกิริยาได้
• เก็บไว้ในที่เย็น และต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
• ก่อนใช้งานสารเคมีเหล่านี้ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอยู่เสมอ
5. สารเคมีที่ระเบิดได้ คือสารที่ไวต่อปัจจัยหลายๆ และสามารถระเบิดได้ในที่สุด
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
• ควรเก็บให้ห่างขากสารเคมีอื่น ๆ และต้องล้อคอย่างแน่นหนา
• ไม่ควรเก็บในที่ที่มีเชื้อเพลิง และต้องห่างสารไวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต
• ไม่ควรมีชนวนระเบิด รวมถึงสารและเครื่องมืออื่น ๆ บริเวณเดียวกันนั้น
• ไม่ควรซ้อนกันเกิน 6 ฟุต และต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง
• ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในที่เก็บสารเคมีประเภทนี้เด็ดขาด
การจัดเก็บสารเคมีเหล่านี้ หากไม่สามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง แล้วมันจะนำพามาซึ่งความสูญเสียของทรัพย์สิน ตลอดจนชีวิตของผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับสารเคมีเลยทีเดียว ดังนั้น ในการจัดเก็บสารเคมี ผู้ใช้งานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตลอดเวลา รวมไปถึงการตรวจเช็คสถานที่ที่ใช้เก็บสารเคมีพวกนี้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้นั่นเอง
นอกจากนี้ สถานที่ที่ใช้เก็บสารเคมี ควรมีการระบุชื่อไว้ที่ป้ายอย่างชัดเจน ผนังกำแพงรอบด้านควรทนไฟและภายในควรเป็นพื้นที่แห้งและเย็น อากาศถ่ายเทได้ดี แต่แดดต้องไม่ส่องถึงสารเคมี ควรมีการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่ควรวางขวดบนพื้นโดยตรง หรือวางไว้ใกล้ประตูและหน้าต่าง หากเป็นสารเคมีที่มีขนาดใหญ่ ไม่ควรเก็บไว้ในที่สูงและต้องสะอาดอยู่เสมอ ควรเรียงสารจากวันหมดอายุ ถ้าหากมีสารเคมีตัวใดที่หมดอายุ ต้องรีบทำลายทิ้งโดยทันที และควรมีอุปกรณ์ดังเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย ชุดป้องกันสารเคมี และ ชุดปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
ดังนั้นการจัดเก็บสารเคมี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการใช้สารเคมีในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์ เพราะหากไม่มีการจัดเก็บสารเคมี ก็อาจจะทำให้สารเคมีทำปฏิกิริยา และนำความอันตรายมาถึงแก่ชีวิตของพวกเราได้ เพราะฉะนั้นการรู้จักวิธีการจัดเก็บสารเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก