จับตา "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี กลับประเทศไทยหลัง อุ๊งอิ๊งค์ ประกาศ กลับแน่ 22 ส.ค. นี้ 9 โมงที่ดอนเมือง ส่องแผนก่อนหน้านี้ บช.น. ปิดเส้นทางสนามบิน-ศาลฎีกา-เรือนจำพิเศษกรุงเทพ พร้อมเปิดขั้นตอนรับตัวของกรมราชทัณฑ์ที่ ทักษิณ ต้องเจอ
เป็นอีกครั้งที่ “อุ๊งอิ๊งค์” น.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาเคลื่อนไหว โพสต์สตอรี่บนอินสตาแกรม ส่วนตัว @ingshin21 ว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางกลับไทย โดยระบุว่า "อังคารที่ 22 สิงหาคม 9.00 น. ณ ดอนเมือง จะไปรับคุณพ่อทักษิณค่ะ"
ซึ่งก่อนหน้านี้ “อุ๊งอิ๊งค์” เคยประกาศว่าคุณพ่อ "นายทักษิณ ชินวัตร" เดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 แต่ต้องเลื่อนด้วยสาเหตุหมอเรียกให้ไปตรวจร่างกาย
อย่างไรก็ตาม นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยและไม่ได้กลับมาเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว และที่ผ่านมาได้มีการประกาศกลับประเทศไทยเป็นระยะๆ แต่ยังไม่ได้กลับมาสักครั้ง ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่สังคมกำลังจับตามองด้วยปัจจัยทางการเมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร บินไปดูไบ พาคุณพ่อ “ทักษิณ ชินวัตร” ไปพบจักษุแพทย์
ด่วน! "ทักษิณ" เลื่อนกลับไทยชัวร์แล้ว เผยหมอเรียกให้ไปตรวจร่างกาย
เปิดแผนรับมือทักษิณกลับไทย ย้อนดูแผน บช.น. ปิดเส้นทางสนามบิน-ศาล -เรือนจำ
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและการรักกษาความปลอดภัยรับ "ทักษิณกลับไทย"
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ได้มีการเผยแพร่เอกสารสำคัญชิ้นหนึ่ง ของ บช. น. (กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล) เป็นระเบียบวาระการประชุมเตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ในวันพุธที่ 12 ก.ค.66 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมปารุสกวัน 1 อาคาร บช.น. โดยในเอกสารดังกล่าวได้ระบุระเบียบวาระการประชุมที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 สถานการณ์การข่าวและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์และภัยคุกคาม (บช.ส.1) (กองบัญชาการตำรวจสันติบาล)
2.2 ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมาย กรณีมีผู้ต้องหาตามหมายจำคุกเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยเครื่องบินโดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง หรือ สุวรรณภูมิ (สตม.)
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องพิจารณา
3.1 การพิจารณากำหนดเส้นทางการเดินทาง (บก.จร.) รวม 6 เส้นทาง ได้แก่
3.1.1 เส้นทาง (หลัก และรอง) จากสนามบินสุวรรณภูมิ มายังศาลฎีกา (สนามหลวง)
3.1.2 เส้นทาง (หลัก และรอง) ในการเดินทางจากสนามบินดอนเมือง มายังศาลฎีกา (สนามหลวง)
3.1.3 เส้นทาง (หลัก และรอง) ในการเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ มายัง บช.ปส. (สถานที่ควบคุมพิเศษ)
3.1.4 เส้นทาง (หลัก และรอง) ในการเดินทางจากสนามบินดอนเมือง มายัง บช.ปส. (สถานที่ควบคุมพิเศษ)
3.1.5 เส้นทาง (หลัก และรอง) จาก บช.ปส. มายังศาลฎีกา (สนามหลวง)
3.1.6 เส้นทาง (หลัก และรอง) จากศาลฎีกา (สนามหลวง) มายังเรือนจำพิเศษ กทม.
ในหัวข้อ 3.2 เป็นการพิจารณาแนวทางการวางกำลังรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกการจราจร (พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง)
3.2.1 เส้นทางการเดินทาง ตามข้อ 3.1.1-3.1.6
3.2.2 การบริหารจัดการพื้นที่ และการวางกำลังรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร ในแต่ละสถานที่ (สนามบินสุวรรณภูมิ, สนามบินดอนเมือง, บช.ปส. และ ศาลฎีกา)
ในหัวข้อ 3.3 แนวทางการจัดรูปแบบขบวนรถในการรักษาความปลอตภัย (บก.จร. และ บก.สปพ.)
เอกสารดังกล่าว ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเตรียมรับการเดินทางกลับประเทศไทยของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ หรือ "แผนรับมือทักษิณกลับบ้าน" ที่ก่อนหน้านี้เคยประกาศไว้ว่าจะกลับมาหลังวันที่ 26 ก.ค.นี้ และล่าสุด เอกสารนี้ ก็ได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจาก แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และเป็นลูกสาว รวมถึงเป็นแคนดิเดตนายกฯจากพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดีย โดยระบุ ซึ่งเป็นคุณพ่อ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งไม่ได้อยู่ที่ประเทศไทยมา 15 ปีแล้ว กำลังจะกลับไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 และจะลงที่สนามบินดอนเมือง แต่ก็ถูกเลื่อนอีกครั้งและล่าสุดเป็นวันที่ 22 สิงหาคม 2566
โดย พล.ต.ต.โชคชัย งามวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประธานการประชุม ระบุว่า การประชุมครั้งนั้น เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนในการปฏิบัติงาน หากอดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับประเทศไทย
ทั้งนี้ ยืนยันว่า การประชุมเตรียมแผนงานดังกล่าวไม่ได้มีนัยสำคัญทางการเมืองใดๆ แต่เป็นการเตรียมความพร้อมตามข้อมูลการข่าวที่ตำรวจนครบาลได้รับทราบผ่านทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ ที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเคยพูดไว้ อีกทั้งหากมีการเดินทางกลับมาจริง กองบัญชาการตำรวจนครบาลก็จะต้องเป็นหน่วยงานหนึ่งในการรับผิดชอบการนำตัวอดีตนายกรัฐมนตรีไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
เปิดขั้นตอนรับตัวของกรมราชทัณฑ์ หาก"ทักษิณกลับไทย" จริง
นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมของกรมราชทัณฑ์ ในกรณีการรับตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภายหลังเดินทางกลับเข้าประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ว่า ขั้นตอนแรกจะเป็นในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่จะรับตัวและทำบันทึกการจับกุมต่างๆตามขั้นตอน
ขณะที่ในส่วนของกรมราชทัณฑ์จะต้องว่าไปตามหมายศาล โดยรอดูว่าจะมีคำสั่งหรือหมายศาลคดีใดแจ้งมายังกรมราชทัณฑ์เพื่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะได้เดินทางไปยังเขตพื้นที่ของศาลนั้นๆ จากนั้นเมื่อนายทักษิณเข้าสู่ขั้นตอนของศาลเสร็จสิ้น หากเป็นคดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวนายทักษิณมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่ ณ ขณะนี้ทางราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับหมายศาลใดๆ
สำหรับกระบวนการจำแนกคัดกรองผู้ต้องขัง แม้จะเป็นกรณีของคุณทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ราชทัณฑ์ก็ดำเนินการตามขั้นตอนทั่วไป เป็นไปตามระเบียบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง โดยจะมีการตรวจสอบประวัติ ทำทะเบียนประวัติ อย่างไรก็ตาม คุณทักษิณถือเป็นผู้ต้องขังสูงอายุ หากเจ้าตัวมีโรคประจำตัวที่จะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทางราชทัณฑ์จะมีแพทย์ประจำเรือนจำฯ ที่จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการจำแนกผู้ต้องขัง
อย่างไรก็ตาม นายทักษิณถือเป็นผู้ต้องขังสูงอายุ หากเจ้าตัวมีโรคประจำตัวที่จะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทางราชทัณฑ์จะมีแพทย์ประจำเรือนจำฯ ที่จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการจำแนกผู้ต้องขัง โดยจะนำตัวไปยังห้องกักโรคของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทำการกักโรคเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ประมาณ 10 วัน ถัดไปจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค ย้ายไปยังหอผู้ป่วย
ส่วนกรอบระยะเวลาของการรักษาโรคไม่ได้มีกำหนดไว้ จะเป็นในส่วนของแพทย์ประจำเรือนจำที่จะเป็นผู้ประเมินอาการของผู้ต้องขัง และให้ความเห็นเรื่องการรักษาว่าในระหว่างกระบวนการดังกล่าว เจ้าตัวควรแก่การเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาแล้วหรือไม่ อย่างไร
รวมคดีทักษิณที่ศาลพิพากษาจำคุก ถ้ากลับไทยจริงจะติดคุกไหม?
นอกจากนี้ยังมีคดีทักษิณที่อยู่ในชั้น ป.ป.ช. เช่น คดีกล่าวหาการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 และ A340-600 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2545-2547 ทำให้การบินไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดมีรายงานว่า ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหา นายทักษิณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายพิเชษฐ สถิรชวาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย