"หมอสิทธิเดช" เล่าปฎิบัติการ สุดท้าทายพา "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทยเผยควาญช้างไทย สุดเจ๋งมีเวลารู้จักกับช้าง และฝึกหัดช้างเข้าคอกเพียง เพียง 10 กว่าวัน ช่วงเครื่องบิน take off ช้างมีอาการตื่นตกใจ กลัว แต่ควาญและสัตวแพทย์ก็ช่วยควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
หลังจากที่ "พลายศักดิ์สุรินทร์” ช้างไทยทูตสันถวไมตรี ที่ถูกส่งไปประเทศศรีลังกา กว่า 22 ปี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย และอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะนี้รักษาบาดแผลอยู่ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เรียบร้อยแล้ว
พลายศักดิ์สุรินทร์ มีอาการปกติ กินอาหารได้ตามปกติ และอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังและสังเกตอาการ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ภายใต้ระเบียบการควบคุมโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อบางชนิด
นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) โพสต์เฟซบุ๊กเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปฎิบัติการสุดท้าทายกับการพา พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับบ้านโดยระบุว่า...Mission complete ควาญช้างไทย เก่งมาก มีเวลารู้จักกับช้าง และฝึกหัดช้างเข้าคอกเพียง เพียง 10 กว่าวันเท่านั้น ต้องทำ mission impossible ให้เป็น possible เป็นงานที่ท้าทายมาก เลยอยากเอาภาพ Behind the scenes บนเครื่องมาให้ดู สนุกๆ กัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"วราวุธ" อัปเดตอาการ "พลายศักดิ์สุรินทร์" กินได้ปกติ ต้องสังเกตอาการ 30 วัน
พลายศักดิ์สุรินทร์ ไปศรีลังกาเมื่อ 22 ปีก่อน แล้วกลับไทยเพราะอะไร?
คณะเริ่มรวมพลกันตั้งแต่ 4 ทุ่ม (เวลาศรีลังกา )ตั้งแต่คืนวันที่ 1 ก.ค. เอาช้างเดินเข้ากรงที่วางบนรถเทรเลอร์ กว่าจะออกจากสวนสัตว์ Dehewalawa ได้ ก็เที่ยงคืนกว่า ใช้เวลาวิ่ง 2 ช,ม.กว่า ถึง Cargo village ใกล้สนามบินโคลัมโบ เพื่อเปลี่ยนถ่ายกรงช้างมาบนรถเทรเลอร์คันใหญ่ จากนั้นเทรเลอร์ใหญ่ขับมาเทียบกับท้ายเครื่องบิน อิลยูซิน IL 76 เพื่อโหลดขึ้นเครื่อง ซึ่งไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป็นกรงช้างขนาดใหญ่ ใช้เวลากว่า 2 ช.ม. กว่าจะโหลดได้สำเร็จ ในเวลา ตี 5 ครึ่ง ( เวลาศรีลังกา ) วันที่ 2 ก.ค. อุณหภูมิบนเครื่องบินร้อนมาก เหงื่อแตกพลักๆ เพราะไม่มีเครื่องปรับอากาศ ทีแรกก็คิดว่าเดี๋ยวเครื่องบินติดเครื่อง คงจะเย็นขึ้นแต่ไม่ใช่ ได้เวลา take off 7.00 น. เครื่องบินติดเครื่องดังกระหึ่มเสียงดังมาก และวิ่ง take off ด้วยความรวดเร็ว เครื่องสั่นโคลงและเสียงดังมาก จนช้างแสดงอาการตื่นตกใจ กลัว แต่ควาญและสัตวแพทย์ก็ช่วยควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ บรรยากาศ บนเครื่องก็แบบ ชิล ๆ ใครอยากนั่งอยากนอนตรงไหนก็ตามสบาย ไม่ต้องคาด safety belt ตอน take off และ landing มีลูกเรือประมาณ 7 คน นักบิน 2 คน ส่วนใหญ่พูดรัสซีย มีพูดภาษาอังกฤษได้สัก 2 คน คือนักบินคนนึง
ทั้งนักบินและลูกเรือทีแรกก็แต่งชุด Uniform เรียบร้อย พอสักพัก ก็ถอดเสื้อใส่เสื้อยืดสบายๆ แวะเวียนกันมาดูช้างถ่ายรูปช้างกันเป็นประจำ ตัวนักบินเอง ก็เดินมาดูช้างบ่อยๆ จะกลับมาใส่ uniform อีกครั้งตอนLanding การพูดคุยบนเครื่อง ไม่ค่อยได้ยินเพราะเสียงดังมาก ต้องพูดกันข้างหู บนเครื่องมีอาหารเสริฟเป็นเซ็ท ง่ายๆ ไม่หรูหรามาก เป็นพวกขนมปัง ผลไม้ ชา กาแฟ ส่วนของพวกเราได้ ข้าวเหนียว ไก่ทอดแพ็คใส่กล่องให้จากสถานทูต พวกเราไม่ได้นอนกันทั้งคืนเลย พอเครื่องบิน stable บนอากาศ แล้ว ช้าง OK แล้ว ก็เลยพลอยหลับกันไปเพราะหมดแรง จริงๆ ผมเองก็เผลอหลับตอนเห็นคนอื่นตื่นอยู่
งานหนักอีกอันหนึ่งที่อยู่บนเครื่องคือ ต้องคอยรองฉี่ช้าง ทีออกมาจากท้ายกรง เพื่อไม่ให้น้ำฉี่ปริมาณมากตกลงบนพื้นท้องเครื่องบิน เพราะจะทำให้เกิดระบบไฟฟ้าช็อตได้ โดยก่อนวางกรงจะมีผ้ายางกันน้ำปูรองด้านล่างอีกครั้ง เราใช้ฟองน้ำแผ่นใหญ่ที่เตรียมกันมาหลายแผ่น ตัดออกเป็นแผ่นเล็กๆ คอยซับฉี่ และคอยบีบฉี่ใส่ถุงดำที่เตรียมไว้อย่างมากมาย ช้างฉี่ถึง สามครั้งบนเครื่อง ฉี่ครั้งนึงก็ปริมาณ เกือบ 20 - 30 ลิตรได้ ฟองน้ำที่เตรียมไปอย่างเหลือเฟือ เหล่าลูกเรือก็เอาไปปูนอนบนเครื่องสบายๆ ขออภัยที่แอบถ่ายทุกท่านตอนนอนหลับ 555 มิได้มีเจตนาอย่างอื่นเลย อยากให้เห็นหลังฉากการทำงานบนเครื่องเท่านั้นครับ