svasdssvasds

"ใบสั่งจราจร" วิธีเช็กของจริง-ของปลอม เตือนระวังมิจฉาชีพหลอกชำระค่าปรับ

"ใบสั่งจราจร" วิธีเช็กของจริง-ของปลอม เตือนระวังมิจฉาชีพหลอกชำระค่าปรับ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะประชาชนตรวจสอบ "ใบสั่งจราจร" ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เปิดขั้นตอน วิธีการ พร้อมช่องทางเช็ก "ของจริง" หรือ "ของปลอม" ผ่านออนไลน์ได้ รวมไว้ครบที่นี่

 ในโลกปัจจุบันแก๊งมิจฉาชีพมักหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ รวมถึงการส่งต่อข้อความในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเอกสารแจ้งค่าปรับ หรือใบสั่งจราจร ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและวิธีการหลอกลวงที่เปลี่ยนรูปแบบไป

 ทางด้าน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ศูนย์บริหารงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะ ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องของ "ใบสั่งจราจร" ก่อนถูกมิจฉาชีพหลอก

สำหรับการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถนั้น จะต้องมีการลงระบบ PTM ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

ขั้นตอนการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์

• ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรก

จะมีรูปถ่ายรถ หมายเลขทะเบียนรถ และข้อหากระทำความผิดครบ หากไม่จ่ายค่าปรับใน 7 วัน จะมีใบเตือน

• ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ครั้งที่สอง

เป็นใบเตือน ให้ชำระค่าปรับใบสั่ง ซึ่งในเอกสารครั้งที่สองนี้ จะไม่มีรูปถ่ายรถประกอบ แต่จะมีแค่ QR code บอกวิธีการชำระเงิน และมีลายเซ็นนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไป เซ็นประประกอบแต่ยืนยันว่าเป็นเอกสารทางราชการจริง 

"ใบสั่งจราจร" วิธีเช็กของจริง-ของปลอม เตือนระวังมิจฉาชีพหลอกชำระค่าปรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เอาจริงแล้ว "ใบสั่งค้างชำระ" ต่อภาษีรถไม่ได้ เจออีกทีตอนต่อภาษีประจำปี

• "ใบสั่งค้างชำระ" เพิ่มโทษแน่ 1 เม.ย. ตร.แนะ 8 ช่องทางชำระค่าปรับ เช็กเลย

• วิธีเช็ก "ใบสั่งจราจร" ของจริง-ของปลอม แบบออนไลน์ ที่ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน

ช่องทางและวิธีการตรวจสอบ "ใบสั่งจราจร" 

ผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็น "ใบสั่งจริง" ได้ตามช่องทาง ดังนี้

ขั้นตอนตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ 

1. เข้าเว็บไซต์ ptm.police.go.th/eTicket เลือกเมนู ลงทะเบียนใช้งาน

2. กรอก ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขหลังบัตรหรือ Laser ID 

3. เลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ลงทะเบียน ข้อมูลรถที่ครอบครองหรือใช้ข้อมูลใบขับขี่ โดยจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

4. กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน 

5. ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไว้ ทำการตรวจสอบความถูก แล้วกรอกอีเมลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน กดถัดไป

6. ตรวจสอบอีเมลที่ใช้ยืนยัน นำรหัส OTP จำนวน 6 หลักที่ทางระบบส่งไปยังอีเมลมาใช้เพื่อยืนยันการสมัคร

7. ตั้งรหัสผ่าน และ ยืนยันรหัสสผ่านอีกครั้ง เสร็จแล้วคลิก ลงทะเบียน เป็นอันเสร็จสิ้นสามารถ Login เข้าใช้งานได้เลย

8.ทำการ Login ด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ กรอก ทะเบียนรถ เลขที่ใบสั่ง กดค้นหาหากมีใบสั่งขึ้นมาในระบบแสดงว่ามีใบสั่งค้างชำระ แต่หากไม่มีการค้างชำระ ระบบจะแจ้งว่าไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ

จุดสังเกตที่สำคัญ คือ บัญชีธนาคารปลายทางที่จะรับเงิน ต้องเป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - ค่าปรับจราจร” เท่านั้น (ถ้าเป็นชื่อบัญชีส่วนบุคคลให้สงสัยว่าเป็นใบสั่งปลอม )

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

related