svasdssvasds

โดนสวมรอย "ใช้รูปในโซเชียล" ต้องทำอย่างไร ดีอีเอสแนะ 3 วิธีรับมือ เช็กเลย

โดนสวมรอย "ใช้รูปในโซเชียล" ต้องทำอย่างไร ดีอีเอสแนะ 3 วิธีรับมือ เช็กเลย

เปิด 3 วิธีรับมือ หากโดนสวมรอยใช้รูปบนโซเชียล โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อประโยชน์ทางการค้า สวมรอยเป็นบุคคลอื่น เพื่อหลอกลวง อาจโดนโทษหนักคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ “รูปถ่าย” จัดอยู่ในหมวดศิลปกรรม ภาพถ่ายจะได้รับความคุ้มครองทันที โดยที่ไม่ต้องจดทะเบียนใดๆ เริ่มตั้งแต่วินาทีที่เจ้าของภาพถ่ายชิ้นงานนั้นออกมา

 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเผยว่า การนำรูปของบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือการนำไปสวมรอยเป็นบุคคลอื่น เพื่อหลอกลวงบุคคลที่สามอีกทอดหนึ่ง ถือว่ามีความผิด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หากถูกบุคคลอื่นนำรูปไปแอบอ้างในเฟซบุ๊ก ควรดำเนินการดังนี้

1.แจ้งรายงานไปที่แพลตฟอร์มโซเชียล โดยการ report ไปยังเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Social Network ที่ถูกแอบอ้าง ซึ่งทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และIG มีเมนูให้รายงานบัญชีปลอมโดยตรงอยู่แล้ว จากนั้นรอขั้นตอนการตรวจสอบของทางแพลตฟอร์ม

2.ช่องทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่สายด่วน โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส  + ช่องทางอื่นๆ ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ดีอีเอส" แนะ 5 แนวทางการป้อง หน่วยงานรัฐ รับมือการถูกแฮกระบบข้อมูล

• "ดูเว็บโป๊" เสี่ยงสูญเงินล้าน ภัยออนไลน์แบบใหม่ ดูเว็บไซต์ 18+ ฟรีมีเงินใช้

• รวมเบอร์ธนาคาร แจ้งอายัดบัญชี มิจฉาชีพ หากถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน

3. แจ้งตำรวจ ทั้งการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) โดยให้รวบรวมหลักฐานไว้ เช่น capture จับภาพหน้าจอสนทนา หรือหน้ารูป Proflie ที่ถูกปลอมขึ้นมา

หลังจากนั้นให้รอทางแพลตฟอร์มโซเชียลดำเนินการ หากช้าให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ ในเฟซบุ๊กช่วยกันรายงานบุคคลดังกล่าว

ทั้งนี้ มีข้อมูลจาก "สำนักงานกิจการยุติธรรม" ระบุถึงกฎหมายเกี่ยวกับการแอบอ้างใช้รูปคนอื่น ได้แก่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)

• มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

หากถูกนำรูปไปใช้สร้างเฟซบุ๊กปลอม ควรปฏิบัติดังนี้

1.แจ้งความลงบันทึกประจำวัน ที่สถานีตำรวจท้องที่ที่อาศัยอยู่ โดยแจ้งชื่อเฟซบุ๊ก-ไลน์ปลอม รวมถึงแจ้งชื่อลิงก์ (URL) เฟซบุ๊กจริงของเราไว้ด้วย หากมีคนนำชื่อเราไปแอบอ้าง ก็ยังมีหลักฐานที่ได้ลงบันทึกไว้แล้วว่าไม่ได้เป็นของเรา

2.พยายามติดต่อเจ้าของเฟซบุ๊กที่นำภาพหรือชื่อเราไปใช้ในช่องทางที่สามารถทำได้ 

3.รายงานไปยังเฟซบุ๊กว่ามีผู้แอบอ้างใช้ชื่อเรา โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

• ไปที่หน้าเฟซบุ๊กของคนที่แอบอ้างเป็นเรา

• กดสัญลักษณ์จุดสามจุดที่อยู่หลังปุ่มข้อความ

• รายงาน/บล็อก

• ส่งรายงาน

• รายงานบัญชีผู้ใช้ของ (ตรงนี้จะเป็นชื่อของเฟซบุ๊กที่อ้างว่าเป็นเรา)

• ยืนยัน

• ไทม์ไลน์นี้แอบอ้างว่าเป็นฉันหรือบุคคลที่ฉันรู้จัก

• แอบอ้างว่าเป็นฉัน

• ดำเนินการต่อ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center)

related