ชัชชาติ ผู้ว่ากทม. (ผู้ว่าที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี) ร่วมงาน How to prevent LGBTQI+ discrimination and harassment in the workplace! ใส่ใจ Pride Month ดูแลทุกความรู้สึกของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย LGBTQ พร้อมป้องกันและหยุดคุกคามทุกเพศ!
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เข้าร่วมสัมมนา How to prevent LGBTQI+ discrimination and harassment in the workplace ในหัวข้อ “การป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุกคามบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน จัดตั้งขึ้นโดย สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย เมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2566
ทั้งนี้ ภายในงานสัมมนา How to prevent LGBTQI+ discrimination and harassment in the workplace ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในเดือน Pride Month ที่ได้สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทยและความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร
กิจกรรมนี้ก็จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อ LGBTQI+ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การบรรยายจากวิทยากรผู้มีความรู้ และทำงานด้าน LGBTQI+ จากประเทศไทย และประเทศสวีเดน การแลกเปลี่ยนความรู้ และตอบข้อถามจากผู้ร่วมสัมมนา การฉายภาพยนตร์แอนิเมชันจากประเทศสวีเดนเรื่อง Letters From Next Door
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัพเดตประเทศที่ออกกฏหมายรับรองการแต่งงานของคนในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ
"เคทีซี" หนุนความเท่าเทียมทางเพศ ดูแลคู่ชีวิตพนักงาน - คู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า กรุงเทพฯ ได้ให้ความสำคัญกับเดือนมิถุนายน หรือ Pride Month อย่างมาก และเปิดกว้างในทุกๆมุมมอง โดยได้มีการจัดบางกอกไพรด์พาเหรดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพก็ว่าได้ พาเหรดเริ่มต้นจากหอศิลปกรุงเทพฯ เดินมาถึงลานเซ็นทรัลเวิลด์ กิจกรรมนี้มุ่งเน้นไปที่วิธีป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุกคามของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (หรือ LGBTQI+) ในที่ทำงาน
และได้หยิบยกตัวอย่างนโยบายในเรื่องของการคุมคาม โดยอิงมาจากประสบการณ์ของชาวสวีเดนที่เชื่อว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของทุกคน โดยไม่ยึดอัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีบทบาทที่ชัดเจนในประเด็นนี้
ในปีนี้กรุงเทพมหานครมีสีสันสดใสมากขึ้น ทุกคนต่างยอมรับและเปิดกว้างในตัวตนของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น LGBTQI+ หรือเพศใดก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วความหลากหลายทางเพศก็ไม่ได้ต่างจากเพศชายหรือหญิง ทุกคนต่างเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยากใช้ชีวิตในแบบของเราเอง พร้อมได้รับความเท่าเทียมเรื่องการเลือกปฏิบัติและการสมรถเท่าเทียม นอกจากนี้ กรุงเทพฯหรือทั่วโลกทุกคนคงอยากจะสร้างบรรยากาศเมืองให้น่าอยู่และเป็นพลังบวกให้กันและกัน
ที่มา: