สำรวจฐานทัพสหรัฐอเมริกาทั่วโลก มีที่ไหนบ้าง มาดูกันว่า สหรัฐฯ มีแสนยานุภาพระดับ ยืนหนึ่ง ของโลก เหมือนเดิมไหม ? และทราบหรือไม่ว่า ในอดีตเคยตั้งฐานทัพในไทย ในช่วงยุคสงครามเย็น ถึง 8 ฐานทัพ ครอบคลุมภาคกลาง , ตะวันออก และ ภาคอีสานของไทย
สำหรับ ฐานทัพสหรัฐอเมริกา ที่กลายเป็นจุดสปอร์ทไลท์ "ได้แสง" ไปในเวลานี้ นั่นเป็นเพราะ มีกระแสข่าว เริ่มต้นจาก ตัวแทนจากศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้ายื่นหนังสือที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยมีใจความสำคัญ คือ เรียกร้องให้อเมริกาหยุดแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ไม่เลือกข้าง และเคารพสถาบันหลักของไทย แต่ข่าวนี้ ฝั่ง นิโคล ฟ็อกซ์ โฆษกสถานเอกอัครทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก็มายืนยันแล้ว ว่า ไม่มีการหารือตั้งฐานทัพในไทยแต่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม หากจะมาลองเจาะดูข้อมูลเฉพาะของ ฐานทัพสหรัฐฯ หรือ กองทัพสหรัฐฯ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว เพราะนี่คือประเทศที่เป็นผู้นำของโลก ณ เวลานี้
โดยข้อมูลทางการทหารของสหรัฐฯ มี เว็บไซต์ thesoldiersproject.org รายงานว่า สหรัฐเป็นหนึ่งในประเทศท็อป 5 กองทัพใหญ่สุดและอาวุธดีสุดของโลก
ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์อะไรที่ สหรัฐฯ จะมีฐานทัพ ของทหาร มากมายในต่างประเทศ ราว 750 แห่งใน 80 ประเทศ
รองลงมาคือสหราชอาณาจักรแต่มีเพียง 145 แห่งเท่านั้น ตามด้วยประเทศ รัสเซียราว 36 แห่ง
ส่วนจีน มีเพียง 5 แห่ง นั่นเท่ากับว่า สหรัฐฯ มีฐานทัพมากกว่าอีกสามประเทศรวมกันถึง 3 เท่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรม ปัด "ก้าวไกล" ไม่มีแผนให้อเมริกา ตั้งฐานทัพในไทย เตือนกลั่นกรองเฟกนิวส์
กองทัพอากาศ ย้ำความจำเป็นต้องมีเครื่องบินรบฝูงใหม่ แม้สหรัฐ ไม่ขาย F-35A
โดยข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพฯ สหรัฐ อเมริกา ในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่น่าสนใจมีดังนี้
หน่วยบัญชาการรบ (ขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่เพนตากอน)
สหรัฐมีหน่วยบัญชาการรบ 11 แห่ง ได้แก่
หน่วยบัญชาการแอฟริกา คุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์สหรัฐในประเทศแอฟริกา
- หน่วยบัญชาการกลาง เน้นตะวันออกกลาง
- หน่วยบัญชาการไซเบอร์
- หน่วยบัญชาการยุโรป เน้นยุโรป ยูเรเชีย ตะวันออกกลางบางส่วน
- หน่วยบัญชาการอินโดแปซิฟิก เน้นภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
- หน่วยบัญชาการเหนือ เน้นดินแดนส่วนเหนือ
- หน่วยบัญชาการใต้ เน้นดินแดนส่วนใต้
- หน่วยบัญชาการอวกาศ
- หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ
- หน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์
• จำนวนทหารกองทัพสหรัฐ
- กองบัญชาการกลาง มีทหารราว 45,000-65,000 นายทั่วอ่าวเปอร์เซีย
- กองบัญชาการยุโรป มีทหารราว 33,000 นายในเยอรมนี
- กองบัญชาการอินโดแปซิฟิก มีทหารราว 50,000-55,000 นายในญี่ปุ่น และราว 26,000 ในเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา ไม่เปิดเผยจำนวนทหารประจำการต่างประเทศที่แท้จริง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเป็นความลับของความมั่นคง
ประเทศที่มีฐานทัพสหรัฐ
- กองทัพบก: เบลเยียม, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, คาเมอรูน, เยอรมนี, อิสราเอล, อิตาลี, อิรัก, ญี่ปุ่น, คูเวต, เกาหลีใต้
- กองทัพอากาศ: อารูบา, ดินแดนมหาสมุทรอินเดียของอังกฤษ, กูราเซา, เอสโตเนีย, เยอรมนี, ฮอนดูรัส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เคนยา, คูเวต, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, กาตาร์, โรมาเนีย, เกาหลีใต้, แอโครเทียรีและดิเคเลีย, สเปน, ตุรกี, สหราชอาณาจักร
- นาวิกโยธิน: เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้
- กองทัพเรือ: บาฮามาส, บาห์เรน, ดินแดนมหาสมุทรอินเดียของอังกฤษ, คิวบา, จิบูตี, กรีซ, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, คูเวต, โอมาน, เปรู, เกาหลีใต้, สเปน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร
- ยามชายฝั่ง: บาห์เรน, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, สิงคโปร์
- กองกำลังอวกาศ: กรีนแลนด์
สรุปแล้ว สหรัฐอเมริกา มีกองทัพอากาศในต่างประเทศมากที่สุด ตามด้วยกองทัพเรือและกองทัพบก
ทั้งนี้ ในอดีต สหรัฐฯ เคยมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย ในช่วงเวลาแห่งสงครามเย็น
8 ฐานทัพสหรัฐฯ ที่เคยอยู่ในไทย ในอดีต มีดังนี้
1. ฐานทัพอากาศดอนเมือง กรุงเทพฯ (พ.ศ.2504-2513) : สหรัฐฯ เริ่มติดตั้งระบบเตือนภัยทางอากาศ
2. ฐานทัพอากาศตาคลี จ.นครสวรรค์ (พ.ศ.2504-2514) : ฐานทัพกองบินขับไล่ที่ 421, 255 และ 390 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ / กองบินที่ 4 ย้ายจากดานัง เวียดนามใต้ มาประจำการที่นี่
3. ฐานทัพอากาศโคราช จ.นครราชสีมา (พ.ศ.2505-2518) : สหรัฐฯ เริ่มส่งเจ้าหน้าที่มาประจำการในปี 2505 เริ่มปฏิบัติการโจมตีจากฐานทัพนี้ในปี 2507
4. ฐานทัพเรือนครพนม จ.นครพนม (พ.ศ.2505-2519) : ฐานปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศ, ฐานปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์, ฐานปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์และการลำเลียง, ฐานกองบินปฏิบัติการพิเศษ และสนับสนุนการรบในลาว
5. ฐานทัพอากาศน้ำพอง จ.ขอนแก่น (พ.ศ.2505-2509) : รองรับหน่วยบินทิ้งระเบิดขับไล่ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งย้ายมาจากฐานทัพดานังในเวียดนาม
6. ฐานทัพอากาศอุดร จ.อุดรธานี (พ.ศ.2507-2519) : ฐานส่งหน่วยบินขับไล่, ฐานปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ RF-4C มีภารกิจในอินโดจีน และส่งยุทธปัจจัยสนับสนุนการรบในลาว, กองบินส่งกำลังบำรุงที่ 13, โรงเรียนฝึกบินให้กองทัพอากาศลาว, สำนักงานของ CIA ดูแลทหารรับจ้างในลาว และสำนักงานของแอร์อเมริกาและคอนติเนนตัลแอร์เซอร์วิสเซส
7.ฐานทัพอากาศอุบล จ.อุบลราชธานี (พ.ศ.2508-2517) : ฐานส่งกองบินขับไล่ที่ 8 และสำนักงาน CIA เพื่อประสานหน่วยข่าวในลาว
8 สนามบินทหารเรืออู่ตะเภา จ.ระยอง (พ.ศ.2508-2519) :ฐานวางแผนทางยุทธ์ศาสตร์, หน่วยสนับสนุนการต่อสู้ที่ 635 และฐานเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้ใช้ในปี 2510